สำหรับสายกินคงเคยเจอกับปัญหาเหล่านี้ หากวันไหนที่ไปกินชาบู ปิ้งย่างหรือบุฟเฟ่ต่างๆ มักจะมีอาการอึดอัดท้อง จุก เสียดบริเวณใกล้หน้าอก ให้สงสัยก่อนเลยว่าคุณกำลังมีอาการ ‘อาหารไม่ย่อย’ มักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังอาหารมื้อหนักๆ โดยอาการอาหารไม่ย่อยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการกิน
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย
วิธีการป้องกันอาการอาหารไม่ย่อย
วิธีการรักษาเมื่อมีอาการอาหารไม่ย่อย
อาหารไม่ย่อย เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร ความรู้สึกไม่สบายตัว อึดอัด ปวดท้องบริเวณช่วงบนใกล้หน้าอกหรือลิ้นปี่ ร่วมกับมีอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องและมีลมในท้อง โดยอาการอาหารไม่ย่อยเกิดจากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีแก๊สในระบบย่อยอาหารและเกิดกรดในกระเพาะอาหาร จึงส่งผลให้เกิดอาการจุกเสียดขึ้นมา ซึ่งอาการอาหารไม่ย่อยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่ในผู้ใหญ่มักพบได้มากที่สุด
พฤติกรรมการกินถือได้ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย ทั้งการกินเร็ว กินเยอะ เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด กินอาหารรสจัด กินของทอดของมันเยอะเกินไป ทำให้ใน 1 มื้ออาหาร น้ำย่อยมีไม่เพียงพอต่อการย่อยอาหารได้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงดื่มเครื่องที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลมมากเกินไปอีกด้วย
การสูบบุหรี่จะไปยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ช้าลง และผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน มักจะมีอาการอาหารไม่ย่อยอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการตั้งครรภ์ก็เช่นกัน เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและมีการขยายขนาดของมดลูกจะเป็นการเพิ่มแรงกดในช่องท้อง
ผู้ที่มีภาวะเครียดและความวิตกกังวล จะส่งผลทำให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากกว่าปกติ ด้วยการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารมีการบีบรัดตัวมากขึ้น
การเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือภายในลำไส้เล็ก ท้องผูก กรดไหลย้อน หรืออวัยวะในระบบย่อยอาหารเกิดการอักเสบ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ลำไส้เล็กอักเสบ หรือตับอ่อนอักเสบที่มีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ในการย่อยอาหาร
การรับประทานยาลดกรดบางชนิดสามารถช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยได้ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปหรือรับคำปรึกษาจากเภสัชกรผู้จ่ายยา
ยาช่วยย่อย ชนิดที่เป็นจากเอนไซม์จากจุลชีพ จะช่วยย่อยอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารทุกชนิด ลดอาการอึดอัด แน่นท้องหลังรับประทานอาหาร อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการอื่นๆ ในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย เช่น อาการปวดหรือไม่สบายท้อง มีลมในท้อง และท้องอืด นอกจากนี้ผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนและโรคกระเพาะก็สามารถใช้ยาช่วยย่อยได้ เนื่องจากเอนไซม์จากจุลชีพ มีความคงตัวในภาวะกรดและด่าง
สาเหตุหลักของอาการอาหารไม่ย่อยเกิดจากพฤติกรรมการกิน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลับมาอีก จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้ถูกต้อง ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมในปริมาณที่พอดี นอกจากนี้การออกกำลังกายก็มีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น...ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/dyspepsia
https://www.sikarin.com/health/อาหารไม่ย่อย-สัญญาณเตือ
https://goodlifeupdate.com/healthy-body/126539.html
https://www.nakornthon.com/article/detail/อาหารไม่ย่อย-สัญญาณปัญหาระบบทางเดินอาหาร
https://www.pobpad.com/อาหารไม่ย่อย
https://www.phyathai.com/article_detail/1551/th/ท้องอืด_ท้องเฟ้อบ่อย_อาหารไม่ย่อย...เขาเรียกว่าโรคดิสเปปเซียนะ?branch=PYT3