2 สารอาหารสำคัญ ป้องกันกระดูกพรุน และข้อกระดูกเสื่อม

2 สารอาหารสำคัญ ป้องกันกระดูกพรุน และข้อกระดูกเสื่อม

โรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อม ภัยเงียบที่มักเกิดขึ้นพร้อมกัน

  หากพูดถึงโรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อม หลายคนอาจนึกว่าเป็นโรคสำหรับผู้สูงอายุเพียงเท่านั้น  แต่หารู้ไม่โรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อมอาจเกิดตั้งแต่ในหนุ่มสาววัยทำงาน เพราะจากการละเลยที่จะดูแลตัวเอง เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นอาการของโรคจะเริ่มชัดเจนหรือรุนแรงมากขึ้น สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ โรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อม นับเป็นภัยเงียบที่มักเกิดขึ้นพร้อมกันโดยที่หลายคนอาจไม่รู้ตัว ดังนั้นการเตรียมพร้อมที่จะดูแลร่างกายก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อม เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดี

 สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

   โรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อม 2 โรคนี้แตกต่างกันอย่างไร  

    โรคกระดูกพรุนคืออะไร

    สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

   ป้องกันโรคกระดูกพรุนทำอย่างไร

   แคลเซียม สารอาหารสำคัญ ป้องกันโรคกระดูกพรุน

   แคลเซียม เสริมแบบไหน ที่ช่วยให้ห่างไกลโรคกระดูกพรุน

   โรคข้อกระดูกเสื่อมคืออะไร

   ใครบ้างเสี่ยงเป็นโรคข้อกระดูกเสื่อม

   สังเกตตัวเองอย่างไรเมื่อข้อเข่าเสื่อม ?

   ป้องกันโรคข้อกระดูกเสื่อมทำอย่างไร ?

   คอลลาเจน ไฮโดรไลเซต (Collagen Hydrolysate) คอลลาเจนบำรุงข้อเข่าโดยเฉพาะ

โรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อม 2 โรคนี้แตกต่างกันอย่างไร  

 สำหรับโรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อมหลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคชนิดเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วโรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อมแตกต่างกัน ดังนั้นเราควรทำเข้าใจเกี่ยวกับ 2 โรคนี้ ให้มากขึ้นเพื่อการดูแลและป้องกันอย่างตรงจุด

โรคกระดูกพรุนคืออะไร

  โรคกระดูกพรุน เกิดจากความหนาแน่นของกระดูกและแคลเซียมในกระดูกนั้นเริ่มลดลงกว่าปกติ จึงส่งผลให้กระดูกมีความเปราะบางไม่สามารถรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม จึงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเกิดกระดูกหักได้ โดยเฉพาะจุดแตกหักได้ง่าย เช่น ข้อมือ ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง ซึ่งโรคกระดูกพรุนสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในผู้สูงอายุและสตรีหลังหมดประจำเดือน

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

 อายุที่เพิ่มขึ้น อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มวลกระดูกค่อยๆ เสื่อมสภาพลง

 กรรมพันธุ์ หากมีเครือญาติเคยมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน ก็จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้น

 ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ผู้หญิงเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเริ่มลดลงจึงส่งให้มวลกระดูกเสื่อมลง

 ขาดสารอาหาร หากร่างกายไม่ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่จะส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุลและยังอาจขาดสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน

 การรับประทานอาหาร การรับประทานที่มีรสเค็ม การดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ อาหารเหล่านี้จะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง

 การได้รับยาบางชนิด  เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ ยาป้องกันการชัก  ยาเหล่านี้อาจส่งผลให้มวลของกระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง

ป้องกันโรคกระดูกพรุนทำอย่างไร

 ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน กระโดดเชือก เต้นแอโรบิก หรือการรำมวยจีน จะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง

 หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์

 ออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้าหรือตอนเย็น วันละ10-15 นาที จะช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีได้ดีขึ้น

 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง เช่น นม ชีส ปลาตัวเล็ก และผักใบสีเขียวเข้ม

แคลเซียม สารอาหารสำคัญ ป้องกันโรคกระดูกพรุน

   แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย โดย 99% ของแคลเซียมอยู่ในกระดูกและฟัน ดังนั้นแคลเซียมจึงมีความสำคัญต่อร่างกายและจำเป็นต่อทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งสามารถหาได้จากแหล่งอาหาร เช่น  นม  เต้าหู้ กุ้งฝอย ปลาตัวเล็ก ถั่วต่างๆ และผักใบเขียวอย่าง ผักคะน้า ผักกระเฉด ตำลึง เป็นต้น

  การรับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูงจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและมวลกระดูก ไม่เปราะหักง่าย และลดโอกาสการเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคตได้ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อแนะนำว่าร่างกายควรได้รับแคลเซียม 800-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน ปัจจุบันเพื่อความสะดวกรวดเร็วการเลือกแคลเซียมที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบำรุงกระดูกให้มีความหนาแน่นมากขึ้น และยังช่วยคงระดับแคลเซียมในกระแสเลือด เพื่อรักษามวลกระดูกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอีกด้วย

แคลเซียม เสริมแบบไหน ที่ช่วยให้ห่างไกลโรคกระดูกพรุน

  การเลือกเสริมแคลเซียมที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเต็มที่ ควรเลือกแคลเซียมที่มีปริมาณแคลเซียมอิสระต่อเม็ด 600-800 มิลลิกรัมและอยู่ในรูปแบบแคปซูลนิ่ม (Soft Gel)  มีลักษณะเป็น 'แคลเซียมเหลว' ซึ่งคุณสมบัติที่แตกต่างจากแคลเซียมตามท้องตลาดทั่วไป เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะไม่มีปัญหาเรื่องการละลาย และสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว อีกสิ่งสำคัญที่หลายคนอาจยังไม่ทราบควรเลือกแคลเซียมที่มีวิตามินดี (Vitamin D) ผสมอยู่ด้วย ยิ่งจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมของแคลเซียมได้ดีมากขึ้นเป็นสองเท่า

โรคข้อกระดูกเสื่อมคืออะไร

 โรคข้อกระดูกเสื่อม หรือข้อเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนบริเวณข้อ หรือมีการเคลื่อนไหวมากจนเกินไป จึงเกิดเป็นความขรุขระ ไม่เรียบของผิวกระดูกอ่อน ทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม เกิดอาการเจ็บข้อ และเคลื่อนไหวติดขัด โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณข้อใหญ่ๆ ที่ต้องรองรับน้ำหนักตัว เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพกหรือข้อเท้า หากปล่อยเอาไว้เป็นเวลานานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น ข้อเข่าผิดรูป ขาโก่งงอ และไม่สามารถเดินใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ใครบ้างเสี่ยงเป็นโรคข้อกระดูกเสื่อม

 ผู้ที่อายุที่เพิ่มขึ้น อายุที่มากขึ้นทำให้เซลล์กระดูกอ่อน (Chondrocyte) มีการสร้างโปรตีนคอลลาเจนลดลง

 ผู้ที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ที่น้ำหนักมาก หรืออ้วน เพราะยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าไร ข้อต่างๆ ในร่างกายก็ยิ่งต้องรับภาระมากเท่านั้น

 ผู้ที่ต้องใช้ข้อในการเคลื่อนไหวหรือออกแรงในชีวิตประจำวัน :เช่น ผู้ที่ออกกำลังกาย   นักกีฬา ผู้ที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูง หรือมีอาชีพที่ต้องใช้ข้อ เช่น ทันตแพทย์และช่างซ่อมต่างๆ

 ผู้ที่มีโรคข้ออักเสบจาก โรคข้อรูมาตอยด์ โรคติดเชื้อและโรคข้อติดแข็ง

 ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุต่อข้อ เช่น ข้อหลุดเคลื่อน กระดูกหัก

สังเกตตัวเองอย่างไรเมื่อข้อเข่าเสื่อม ?

 มีอาการฝืดตึงบริเวณข้อเข่า

 ปวดบริเวณข้อเข่าและข้อต่อต่างๆ

 ขึ้น-ลง บันไดลำบากเนื่องจากอาการเจ็บเข่า

 มีเสียงเกิดขึ้นบริเวณข้อเข่าเวลาเคลื่อนไหว

ป้องกันโรคข้อกระดูกเสื่อมทำอย่างไร ?

การควบคุมน้ำหนัก การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลดโอกาสในการเกิดโรคข้อเสื่อมและชะลอไม่ให้โรคข้อเสื่อมเป็นมากขึ้นกว่าเดิม โดยข้อที่ต้องรับน้ำหนัก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อกระดูกสันหลัง และข้อสะโพก

ออกกำลังกายและบริหารร่างกาย จะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง และช่วยป้องกันข้อติดและทำให้การเคลื่อนไหวของข้อเป็นไปได้อย่างปกติ

ปรับเปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ ไม่อยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป เช่น หากจำเป็นต้องนั่งพับเพียบก็เปลี่ยนข้างบ่อยๆ ไม่ยืน คุกเข่า หรือนั่งยองเป็นเวลานาน

หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะจะทำให้เกิดการปวดหัวเข่าและข้อเสื่อม

คอลลาเจน ไฮโดรไลเซต (Collagen Hydrolysate) คอลลาเจนบำรุงข้อเข่าโดยเฉพาะ

   คอลลาเจน ไฮโดรไลเซต สูตรฟอร์ทิเจล เป็นสารอาหารที่ผ่านขบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้คอลลาเจนที่มีขนาดและความยาวสั้นลง จึงช่วยให้ร่างกายดูดซึมคอลลาเจนง่ายขึ้นและร่างกายสามารถนำไปสร้างข้อกระดูกอ่อนและเพิ่มน้ำเลี้ยงข้อได้และลดการเสียดสีของข้อต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ โดยมีผลวิจัยทางการแพทย์ว่าสามารถช่วยป้องกันและบรรเทาโรคข้อเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   จะเห็นได้ว่าโรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อม สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย และในบางรายอาจเกิดขึ้นพร้อมกันโดยที่คุณไม่รู้ตัว ดังนั้นการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อม สามารถเริ่มปฏิบัติได้ตั้งแต่ตอนนี้ ไม่จำเป็นต้องรอให้อายุมาก หรือรอสัญญานเตือนจากโรค ซึ่งการรับประทานแคลเซียมและคอลลาเจน ไฮโดรไลเซต สูตรฟอร์ทิเจล ควบคู่กันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีในการชะลอความเสื่อมของกระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันโรคต่างๆที่อาจตามมาในภายหลัง

  นอกจากการรับประทานแคลเซียมและคอลลาเจน ไฮโดรไลเซต สูตรฟอร์ทิเจล สิ่งสำคัญในการดูแลกระดูกและข้อเข่าให้แข็งแรง คือการดูแลร่างกายให้ดีไปพร้อมๆ กัน รู้จักปรับเปลี่ยนอิริยาบถและสภาพแวดล้อม เพื่อไม่ให้ข้อเสื่อมมากขึ้นและยืดอายุการใช้งานของข้อ การควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม บริหารกล้ามเนื้อและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่ช่วยดูแลกระดูกและข้อเป็นประจำ เพียงแค่นี้คุณก็สามารถมีสุขภาพแข็งแรงและสุขภาพกระดูกและข้อที่ดีไปพร้อมกัน ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้