จากปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และโรคภัยต่างๆ ในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใครหลายคน จนอาจทำให้มีอาการเครียดสะสมโดยที่คุณเองก็ไม่รู้ตัว จากผลสำรวจสุขภาพจิตของคนไทย จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า “คนไทยมีความเครียดสูงถึง 8.3% และเสี่ยงภาวะซึมเศร้าถึง 10%” ดังนั้นปัญหาด้านสุขภาพจิตจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนไทยในช่วงนี้
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
‘น้ำมันปลา’ สารอาหารช่วยป้องกันโรคซึมเศร้า
‘โคเอนไซม์ คิวเทน’ ชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง
‘โรคซึมเศร้า’ (Depression) คือ เป็นโรคทางจิตเวช เกิดจากความผิดปกติของสมอง ซึ่งจากการศึกษาทางการแพทย์ในปัจจุบันพบว่า “โรคซึมเศร้าเกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด ได้แก่ เซโรโทนิน (serotonin) นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) และโดปามีน (dopamine)” ทำให้ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพร่างกาย ซึ่งโรคซึมเศร้าจะแตกต่างจากอารมณ์เศร้าตามปกติทั่วไปที่สามารถหายได้เองเมื่อความเครียดหมดไป
ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้านานเกิน 2 สัปดาห์ โดยมีอาการเบื่อ ท้อแท้ ไม่มีความสุขหรือไม่สนใจในสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบ หลับยาก รู้สึกหงุดหงิด เหนื่อยๆ มีความเครียดสะสมระยะยาว ไม่มีเรี่ยวแรง มีน้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว รู้สึกไร้ค่า หรือมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง ทำให้มีอาการทางจิตอย่าง หวาดระแวง หรือหูแว่วประสาทหลอนเกิดขึ้นร่วมด้วย เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรเริ่มรักษาทันทีเพื่อไม่ให้รุนแรงมากขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าชนิดนี้ จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าแบบทั่วไป แต่จะมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี และมักจะนานกว่า 5 ปี โดยมีอาการไม่รุนแรง แต่รู้สึกไม่อยากอาหารหรือกินมากไป นอนไม่หลับหรือนอนมากไป เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย รู้สึกหมดหวัง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ค่อยมีสมาธิ และการตัดสินใจแย่ลง
ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย สลับกับร่าเริงผิดปกติ (Mania) ซึ่งสามารถเรียกอีกอย่างว่า โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ โรคไบโพลาร์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี จะมีอาการเกิดขึ้นอยู่หลายครั้ง โดยอาการเหล่านี้จะส่งผลต่อการตัดสินใจ เช่น การใช้จ่ายเงินแบบสุรุ่ยสุร่าย หรือการตัดสินใจแบบผิดๆ จนไปถึงการคิดฆ่าตัวตาย
มักจะเกิดขึ้นคุณแม่หลังคลอด ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหรือจนกว่าลูกจะเริ่มโต ซึ่งโรคซึมเศร้าจะมีโอกาสเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่คนในครอบครัวมีประวัติทางจิต โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่หลังคลอด รวมไปถึงกิจวัตรประจำวันและสภาพแวดล้อมของคุณแม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม
ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคซึมเศร้าประมาณ 10-20% และพบว่าผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย แต่อาการของโรคซึมเศร้าไม่รุนแรงจนถึงขั้นมีอาการจิตหลอนหรือฆ่าตัวตาย โดยสาเหตุเกิดจากสารสื่อประสาทในสมอง สภาพแวดล้อม และเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจ
หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า โดยในกรณีนี้มีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะในกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง
ระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะสารสำคัญอย่าง เซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ที่ลดต่ำลงจนไม่สมดุล ซึ่งเป็นผลทำให้เซลล์ที่รับสารสื่อประสาทมีความบกพร่องในการทำงานร่วมกัน
สภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน หรือเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้สะเทือนใจ จนทำให้เกิดความหวาดกลัวและมีความเครียดสะสมเพิ่มขึ้น โดยสาเหตุนี้มักมีอิทธิพลจากคนใกล้ชิดรอบข้างเข้ามาเป็นปัจจัยร่วมด้วย
มองตัวเองในแง่ลบ มองเห็นแต่ความบกพร่องของตัวเอง มองโลกในแง่ร้าย หรือเจอกับเหตุการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง แนวความคิดเหล่านี้ทำให้มีแนวโน้มเกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้มีอาการุนแรงขึ้น
โรคซึมเศร้าไม่ได้เกิดจากสาเหตุเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย หากร่างกายอ่อนแอ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ ร่างกายขาดสารอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยร่วมที่สามารถทำให้เกิด โรคซึมเศร้าได้ เพราะการเริ่มเกิดโรคซึมเศร้ามักมีสิ่งกระตุ้นบางอย่าง แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม ผู้ที่มีอาการเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าและบ่งชี้ถึงภาวะความผิดปกตินี้จึงจำต้องได้รับการช่วยเหลือ
โรคซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้หลายระดับ โดยอาการเหล่านี้เป็นเหมือนสัญญาณเตือนให้สงสัยอาการของตัวเองหรือคนใกล้ชิด ว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ หากมีอาการไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนเกิดอาการที่รุนแรงมากขึ้น ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีโอกาสรักษาหายได้ แต่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งวิธีการรักษาในปัจจุบันมีหลายวิธี
การใช้ยาถือเป็นการรักษาวิธีหลัก โดยยาที่ใช้ในการรักษาอาการโรคซึมเศร้าจะช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้สมดุล โดยระยะเวลาในการรักษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าครั้งแรก ส่วนใหญ่ประมาณ 9-12 เดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค จากการศึกษาพบว่าหากหยุดยาก่อนกำหนด ผู้ป่วยมักมีโอกาสกำเริบได้ถึง 80% ทั้งนี้การกินยาและระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
มักใช้เป็นวิธีการรักษาควบคู่กับการรักษาด้วยยา มีวิธีการรักษาทางจิตใจหลายรูปแบบ เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive-behavioral therapy; CBT) การบำบัดแบบประคับประคอง (supportive psychotherapy) เป็นต้น โดยในการบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเป็นการพูดคุยกับจิตแพทย์ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตัวเองมากขึ้น สามารถบอกสาเหตุที่ทำให้ตัวเองเป็นซึมเศร้า เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด ซึ่งการเลือกวิธีบำบัดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยและความถนัดของจิตแพทย์ ในปัจจุบันได้มีการศึกษาและพบว่า การรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการทำจิตบำบัดเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดในการรักษา
ส่วนใหญ่มักใช้ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีข้อห้ามในการให้ยารักษา โดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านหนังศีรษะ เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ใช้ในการกระตุ้นเซลล์สมอง
การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือมีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลัน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง
'น้ำมันปลา' (Fish Oil) คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวและอุดมไปด้วยโอเมก้า-3 ซึ่งพบได้ในไขมันจากปลาทะเลน้ำลึกจากแหล่งธรรมชาติและมีคุณภาพที่ดี โอเมก้า-3 ประกอบด้วยกรดไขมันสำคัญ คือ EPA และ DHA โดยจากการศึกษาทางการแพทย์ได้รับการยืนยันว่า น้ำมันปลามีประโยชน์อย่างต่อร่างกายหลากหลาย ซึ่งรวมไปถึงช่วยเสริมการทำงานของสมองและอารมณ์ มีงานวิจัยพบว่า ‘โอเมก้า-3 ช่วยเพิ่มสารเซโรโทนนินในสมอง’ ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยควบคุมอารมณ์โกธรตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล ช่วยลดระดับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ทำให้อารมณ์ดีมากขึ้น และช่วยป้องกันโรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว
จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่รับประทานน้ำมันปลาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีอัตราเป็นโรคซึมเศร้าต่ำ เพราะสมดุลของกรมไขมันในร่างกายมีผลต่อความรุนแรงในการเกิดโรคซึมเศร้า คนที่มีระดับของกรดไขมันโอเมก้า-3 ต่ำและกรดไขมันโอเมก้า-6 สูง จะมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าปกติ ซึ่งการรักษาของผู้ป่วยซึมเศร้าในโรงพยาบาลพบว่ากรดไขมัน DHA ให้ผลในการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับคนไข้ที่ไม่ได้รับกรดไขมันชนิดนี้
‘โคเอนไซม์ คิวเทน’ (Co-Enzyme Q10) อีกหนึ่งสารอาหารที่สำคัญ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ และมีความสำคัญต่อการสร้างพลังงานพื้นฐานของเซลล์อีกด้วย ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ รวมถึงเซลล์สมอง จากการวิจัยพบว่าเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป ระดับโคเอนไซม์ คิวเทน ในสมองจะเริ่มลดลง จนอาจทำให้เกิดโรคสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น หากปล่อยให้ร่างกายขาดโคเอนไซม์ คิวเทนก็เหมือนร่างกายขาดพลังงาน ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์สมองทำงานผิดปกติ
ในทางการแพทย์นำเอาคุณสมบัติของโคเอนไซม์ คิวเทนมาใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคทางระบบประสาท ช่วยเพิ่มสารควบคุมอารมณ์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ดิสออเดอร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เพราะระดับโคเอนไซม์ คิวเทนที่ลดลงมีความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้โคเอนไซม์ คิวเทนยังช่วยเพิ่มพลังงานในระดับเซลล์ และลดความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ใส่ใจและดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตควบคู่กันไป ลดความเครียด หาเวลาพักผ่อนให้กับตัวเอง และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ในทุกด้าน...ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30416
https://www.praram9.com/clinical-depression/?gclid=Cj0KCQiAjJOQBhCkARIsAEKMtO1ZhOm4HpP7GtarTWmcm23OnC2Tgpn6dHfkCSEl78yA9CxIujmPwycaAnkbEALw_wcB
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/05282014-1001
https://www.petcharavejhospital.com/en/Article/article_detail/Depression
https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/depression.html#depressions-preventions
https://www.phyathai.com/article_detail/2876/th/โรคซึมเศร้า_โรคฮิตหรือแค่คิดไปเอง
https://www.sikarin.com/health/โรคซึมเศร้า-depression
https://www.bangkokhospital.com/content/stopping-depression
https://www.thaihealth.or.th/blog/myblog/topic/1132/Helena%20Fint/1999/สุขภาพ/32875/ข้อดีของโอเมก้า%203%60/
https://www.sanook.com/health/27861/
https://www.jwatch.org/na47615/2018/10/05/coenzyme-q10-adjunctive-treatment-bipolar-depression
https://www.researchgate.net/publication/280609147_CoQ10_depletion_role_in_depression_and_depression-associated_disorders
https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1179/1476830515Y.0000000002?journalCode=ynns20