ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับมลภาวะทางอากาศมากมาย ทั้งควันจากท่อไอเสียตามทางถนน ฝุ่น PM 2.5 และเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง เนื่องจากเป็นด่านแรกที่เป็นช่องทางการนำออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่ร่างกาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีสิ่งปนเปื้อนต่างๆ เช่น ฝุ่น ละอองเกสร เชื้อโรค เข้าสู่ร่างกายได้ และเกิดการสัมผัสที่เยื่อบุผิวจมูก จนกระตุ้นให้มีอาการแพ้ คัน คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล ได้ และนำไปสู่โรคภูมิแพ้ จนอาจทำให้คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีอาการภูมิแพ้กำเริบอีกด้วยหรือบางรายเรื้อรังจนเป็นไซนัสอักเสบ
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อากาศ
วิธีการดูแลตัวเองของคนเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ
สเปรย์พ่นจมูกจากธรรมชาติ ดีอย่างไร
ข้อดีของการใช้สเปรย์พ่นจมูกจากธรรมชาติ
โรคภูมิแพ้ คือ โรคที่เกิดจากร่างกายทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้ โรคภูมิแพ้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระบบในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ตา จมูก เป็นต้น และสามารถเกิดขึ้นพร้อมกันหลายระบบ โดยมักจะเป็นเรื้อรังและเพิ่มความรุนแรงขึ้นจนอาจกระทบต่อชีวิตประจำวัน
ภูมิแพ้อากาศ หรือ ภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบมากที่สุดทั่วโลก เกิดจากภาวะตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อมและอากาศ เช่น ไรฝุ่น ละอองขนาดเล็ก เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ และสิ่งสกปกต่างๆ ที่ปะปนมากับอากาศเข้าสู่ทางเดินหายใจ ร่างกายจึงเกิดปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอมหรือสารก่อภูมิแพ้นั้นมากเกินไปหรือผิดปกติ จนทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองภายในโพรงจมูก
1. พยายามสังเกตตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ได้ เช่น ฝุ่นละออง ควันรถยนต์ สารเคมีต่างๆ เกรสรดอกไม้ เชื้อรา เชื้อไวรัส ไรฝุ่น
2. หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ตลอดเวลา ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมเข้าโพรงจมูก
3. ควรหมั่นทำความสะอาดบ้านหรือที่อยู่อาศัย เพื่อกำจัดฝุ่นละอองต่างๆ ที่เป็นสิ่งกระตุ้นทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบ และควรเลือกใช้เครื่องดูดฝุ่นแทนการใช้ไม้กวาดหรือไม้ขนไก่ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจายในอากาศ
4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงและทำให้ความไวของเยื่อบุโพรงจมูกลดลง
5. การนอนหลับพักผ่อน ไม่ควรเข้านอนดึกจนเกินไป เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการซ่อมแซมและฟื้นฟูปรับสมดุลได้อย่างเพียงพอ
6. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะโปรตีน ผัก และผลไม้ เนื่องจากเป็นแหล่งสารอาหาร วิตามินและเกลือต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
7. การทำความสะอาดบริเวณโพรงจมูกด้วยการใช้น้ำเกลือล้างจมูกสามารถทำได้ทุกวัน จะช่วยลดการสะสมของสิ่งสกปรกได้
8. บางรายอาจได้รับยากลุ่มแอนตี้ฮีสตามีนจากแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อบรรเทาอาการและอาจใช้ร่วมกับยาพ่นจมูก
9. เลือกใช้สเปรย์พ่นจมูก ที่มาจากธรรมชาติและมีเกลือทะเลเป็นส่วนประกอบ เพราะมีส่วนช่วยปกป้องโพรงจมูกจากสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคต่างๆ ที่ปะปนมาให้อากาศ
สเปรย์พ่นจมูก (Nasal Spray) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบในลักษณะฉีดพ่นเข้าที่โพรงจมูก โดยรูปแบบนี้เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะกลุ่มยาพ่นจมูก ประเภทสเตียรอยด์ กลุ่มยาลดบวม เป็นต้น ซึ่งมักจะนิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการจากโรคภูมิแพ้ เช่น อาการจาม น้ำมูกไหล คัดจมูก เพราะสะดวกต่อการใช้งาน ทำให้ง่ายต่อการรักษา และในปัจจุบันมีการพัฒนาสเปรย์พ่นจมูกในรูปแบบของส่วนประกอบจากธรรมชาติ เพื่อลดผลข้างเคียงของการใช้สเปรย์พ่นจมูกในรูปแบบกลุ่มยาแบบเดิม
สเปรย์พ่นจมูกจากธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อการใช้งานมากขึ้น โดยมีส่วนประกอบจากธรรมชาติได้แก่ เกลือทะเล อนุพันธุ์ของกรดอะมิโน เช่น ‘เอคโตอิน’ (Ecotoin) มีส่วนช่วยให้ความชุ่มชื้นกับเยื่อบุเซลล์โพรงจมูก พร้อมทั้งมีบทบาทเป็นเสมือนกำแพงชั้นน้ำที่เคลือบเยื่อบุโพรงจมูกเอาไว้ เพื่อลดการสัมผัสของสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค ฝุ่น หรือสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เป็นการสร้างเกราะป้องกันให้โพรงจมูกและระบบทางเดินหายใจได้อีกด้วย และที่สำคัญสเปรย์พ่นจมูกจากธรรมชาติสามารถใช้ได้บ่อย สะดวก พกพาไปได้ทุกที่ อีกทั้งยังสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/โรคแพ้อากาศhttps://www.thaihealth.or.th/Content/45489-แพทย์%20แนะ%20วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้.html
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-หู-คอ-จมูก/-ภูมิแพ้อากาศ--ความอ่อนไหว---ที่ไม่ใช่แค่หวัด
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=717#:~:text=การที่อากาศเปลี่ยนแปลงทำให้,ของประชากรทั้งหมด%20ซึ่งผู้
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/โรคภูมิแพ้คืออะไร
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-ผิวหนัง-ภูมิแพ้/โรคภูมิแพ้