2 สารอาหารสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

2 สารอาหารสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 เพราะโรค NCDs เป็นโรคใกล้ตัวมากกว่าที่คิด และเป็นกลุ่มโรคที่เป็นต้นเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย ถึงแม้จะเป็นโรคที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่โรคเรื้อรังก็นับเป็นภัยเงียบที่ทำให้อัตราการเจ็บป่วย การเสียชีวิต รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น และนี่คือความน่ากลัวของโรคเรื้อรังหรือ NCDs…

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

  โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) คืออะไร

  7 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มีโรคอะไรบ้าง ?

  โรคเรื้อรังป้องกันได้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  2 สารอาหารสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดี สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

รคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) คืออะไร

    โรคเรื้อรัง NCDs (Non Communicable diseases) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดจากเชื้อโรคใดๆ รวมถึงไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ และเป็นโรคที่มีการสะสมอาการอย่างช้าๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งแสดงอาการรุนแรงออกมา ทั้งนี้อาจจะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเป็นโรคที่ยากจะรักษา 

7 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เกิดจากสาเหตุ

   เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยพิถีพิถัน เช่น พฤติกรรมการกินที่ส่งผลเสียไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่สูง ไขมันอิ่มตัว ของทอด ของมัน โซเดียม และน้ำตาลที่เติมเข้าไป อาหารแปรรูปมากเกินไป แต่การรับประทานผักและผลไม้ในปริมาณน้อยกว่าที่ควรจะได้รับในแต่ละวัน รวมถึงรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายคนมีความเครียดเรื้อรัง รวมถึงมลพิษต่างๆ รอบตัวเรา

7 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มีโรคอะไรบ้าง ?

1. โรคความดันโลหิตสูง : เป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่รุนแรงถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้   ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง เกิดจากน้ำหนักตัวที่เกินค่ามาตรฐาน พันธุ์กรรม การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

2. โรคเบาหวาน : เป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่คุกคามสุขภาพของคนไทย ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราที่ไม่ดี เลือกรับประทานอาหารประเภทหวานจัด เช่น เค้ก ชานมไข่มุก ฝอยทอง น้ำหวาน และเบาหวานยังเป็นโรคที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะไตวายในอนาคต

3. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน : เป็นโรคที่เสี่ยงกับการเสียชีวิต เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่อาจจะไม่มีสัญญาณใดๆ เตือนมาก่อน พอมีอาการก็จะแสดงออกมารุนแรงในทันที เสี่ยงต่อการหัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งเป็นโรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากในคนไทย       

 4. โรคหลอดเลือดสมอง : หรือคุ้นเคยกันในชื่อ Stroke ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย นอกจากจะเกิดกับคนที่มีอายุมากกว่า 45ปีขึ้นไป ในปัจจุบันยังพบในคนวัยทำงานมากขึ้น และกลุ่มคนเหล่านี้มักมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และยังมีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ       

5. โรคถุงลมโป่งพอง : เป็นโรคที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ของการเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุหลักจากสูบบุหรี่ รวมถึงการสูดดม มลพิษหรือควัน ซึ่งโรคถุงลมโป่งพองสามารถที่จะพัฒนาเป็นโรคมะเร็งปอดได้ในอนาคต โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก และหายใจมีเสียงวี้ดเป็นครั้งคราว   

6. โรคมะเร็ง : เป็นอีกหนึ่งโรคที่คร่าชีวิตคนไทยแต่ละปีในอันดับต้นๆ และมีสถิติที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม การได้รับสารเคมี พฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร โดยโรคมะเร็งอาการจะแสดงออกช้ากว่าโรคอื่นๆ แต่หากแสดงออกมาแล้ว มักจะเป็นระยะที่เข้าขั้นวิกฤต         

 7. โรคอ้วนลงพุง : เป็นอีกหนึ่งโรคยอดนิยม ที่คนไทยต้องประสบกับปัญหาโรคนี้มากเกือบ 20 ล้านคน ซึ่งมาจากการรับประทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยจนทำให้เกิดไขมันสะสม บริเวณพุงจนมองเห็นได้ชัด และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจในที่สุด        

  ถึงแม้โรคเรื้อรังจะเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่เราก็สามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากโรคนี้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา 

โรคเรื้อรังป้องกันได้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

1.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน ของทอด และอาหารปิ้งย่าง
3.  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
4.  ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่
5.  พักผ่อนให้เพียงพอ อย่านอนดึก และผ่อนคลายความเครียด
6.  ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที

  สำหรับผู้ที่ป่วยโรคเรื้อรัง นอกจากการรักษาจากแพทย์อย่างเคร่งครัดแล้ว การดูแลเพิ่มเติมเรื่องสารอาหารและวิตามินที่จำเป็น เพื่อช่วยส่งเสริมหรือฟื้นฟูอาการของโรคให้กลับมาดียิ่งขึ้น และลดปริมาณยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำลงได้ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยได้เช่นกัน    

2 สารอาหารสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดี สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

‘น้ำมันปลา’ (Fish Oil)  กับประโยชน์ที่ดีต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

'น้ำมันปลา' (Fish Oil) คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวและอุดมไปด้วยโอเมก้า-3 ประกอบด้วยกรดไขมันสำคัญ คือ   EPA และ DHA จากงานวิจัยหลายฉบับพบว่าน้ำมันปลามีประโยชน์ต่างๆ ต่อร่างกายมากมายดังนี้

1 . ประโยชน์ต่อระบบหัวใจและสมอง : น้ำมันปลา (Fish Oil) มีส่วนช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง

2. ประโยชน์ต่อระบบหลอดเลือด : น้ำมันปลา (Fish Oil) มีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น รวมทั้งมีส่วนช่วยป้องกันการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ

3. ประโยชน์เกี่ยวกับความดันโลหิตของร่างกาย : น้ำมันปลา (Fish Oil) มีส่วนช่วยลดความข้นหนืดของเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น จึงส่งผลให้ความดันลดลง

4. ช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด : น้ำมันปลา (Fish Oil) เหมาะสำหรับผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง หรือสามารถกินเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน

5. ช่วยเสริมการทำงานของเซลล์สมอง : น้ำมันปลา (Fish oil) มีส่วนช่วยป้องกันสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ได้ เพราะ DHA ช่วยเพิ่มสารที่ช่วยลดการสร้างเส้นใยในสมองอันเป็นตัวการทำลายใยประสาทส่วนความจำ

6. ลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน : นักวิจัยพบว่ากรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา (Fish Oil) จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นได้

7. ลดภาวะการอักเสบ : ข้อมูลการวิจัยจาก Harvard Medical School ได้ระบุว่ากรดไขมัน Omega-3 ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมัน EPA และ DHA เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นสารต้านอักเสบที่ชื่อว่า Resolvins ซึ่งมีคุณสมบัติในรักษาภาวะการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้ เช่น ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ

8. กระตุ้นการทำงานระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงขึ้น : น้ำมันปลา (Fish oil) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวซึ่งมีหน้าที่เป็นด้านหน้าในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย  

โคเอนไซม์ คิวเทน  (Coenzyme Q10) กับประโยชน์ที่ดีต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

   โคเอนไซม์ คิวเทน  เป็นสารอาหารสำคัญที่ทำหน้าในการสร้างพลังงานพื้นฐานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะ หัวใจ สมอง ตับ ไต กล้ามเนื้อ  จากข้อมูลพบว่าผู้ที่มีปริมาณโคเอนไซม์ คิวเทน ลดลงมักพบในผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคไต โรคสมองเสื่อมและโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่ใช้ยาลดไขมันคอเลสเตอรอลกลุ่มสแตติน (Statin)   

 ผลการศึกษาทางการแพทย์ถึงประโยชน์ของโคเอนไซม์ คิวเทน             

1.ประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด : ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น อาการของโรคหัวใจดีขึ้น ความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงลดลง       

2.ประโยชน์ต่อสมอง : จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน เมื่อได้รับปริมาณโคเอนไซม์ คิวเทน เพิ่มขึ้น อาการต่าง ๆ ดีขึ้นและยังช่วยชะลอการเกิดโรคให้ช้าลง

3.ป้องกันภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการรับประทานยาลดไขมันคอเลสเตอรอลกลุ่มสแตติน (Statin) : ผู้ที่รับประทานยาลดไขมันคอเลสเตอรอลกลุ่มสแตตินเป็นประจำ พบว่าปริมาณโคเอนไซม์ คิวเทนในร่างกายลดลง จึงนำไปสู่อาการกล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว และหากมีอาการรุนแรงจะทำให้หัวใจและตับทำงานผิดปกติ การเสริมโคเอนไซม์ คิวเทน จะช่วยเสริมสร้างพลังงานของเซลล์ในร่างกายให้แข็งแรง พร้อมลดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยอ่อนเพลียเรื้อรัง และช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจของเราทำงานได้ดีขึ้น

4. ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย: โคเอนไซม์ คิวเทน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ที่ช่วยชะลอความเสื่อมโทรมของร่างกาย ช่วยลดริ้วรอยและชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง

   นอกจากการเพิ่มเติมสารอาหารสำคัญอย่าง ‘น้ำมันปลา’ และ โคเอนไซม์ คิวเทนแล้ว การดูแลตัวเองยังเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะโรคเรื้อรังล้วนเกิดจากพฤติกรรมของเราเองทั้งหมด ดังนั้นหากปฏิบัติตัวดีแล้ว คุณก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้