ในช่วงที่ผ่านมานอกจากคำว่า COVID-19 หลายคนอาจจะได้ยินและคุ้นหูกับคำว่า Long COVID กันมากขึ้น Long COVID คือ อาการผิดปกติทางสุขภาพที่เรื้อรังต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งของคนที่เคยติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งหายป่วยแล้ว โดยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจถี่ แน่นเจ็บหน้าอก ผมร่วง ผื่นขึ้น การทำงานของปอดแย่ลง นอนไม่หลับ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ มีปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่นและการรับรสต่างๆ นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางด้านความจำ ขาดสมาธิ รวมถึงอารมณ์แปรปรวน และบางคนมีภาวะซึมเศร้า
ในประเทศอังกฤษมีการเก็บสถิติที่น่าสนใจพบว่า มากกว่า 50% ของคนที่เคยติดเชื้อ COVID-19 และหายป่วยจนตรวจไม่พบเชื้อในร่างกายแล้ว เมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้านยังต้องเจอกับอาการข้างเคียงต่อเนื่องเรื้อรัง หลังจากหายป่วยยาวนานถึง 3 เดือน
ไม่เพียงแต่ในประเทศอังกฤษเท่านั้น มีรายงานทางการแพทย์จากเมืองหวู่ฮั่น ประเทศจีน ต้นทางการแพร่ระบาดก็มีสถิติคล้ายกันว่า กว่า 75% ของผู้ที่หายป่วยจาก COVID-19 ยังคงมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ภายใน 6 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล เช่นเดียวกับข้อมูลทางการแพทย์ของประเทศอิตาลีก็พบว่ากว่า 87.4% ของคนที่หายป่วยก็ยังคงมีอาการต่อเนื่องประมาณ 2 เดือน หลังกลับไปพักฟื้น และหนึ่งในอาการ Long COVID ที่พบบ่อยมากที่สุดก็คือ อาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด หรือที่เรียกว่า COVID Heart
COVID Heart หรือชื่อเต็ม Cardiovascular COVID เป็นหนึ่งในอาการผิดปกติต่อเนื่องหลังจากร่างกายไม่มีเชื้อ COVID-19 แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นกับระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะส่งผลให้เกิดอาการโดยตรงกับหัวใจ เช่น รหายใจถี่ แน่นเจ็บหน้าอก เสี่ยงกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอ่อนแรง
The Journal of the American Medical Association ซึ่งเป็นวารสารเกี่ยวกับการแพทย์และสุขภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดจาก COVID-19 โดยนำเอาผลศึกษาจากประชากรชาวอเมริกันที่ติดเชื้อมาแล้ว โดยผลที่ได้ก็คือ “คนที่ติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนไม่ติดเชื้อหลายเท่า”
1. ใจสั่น
2. เจ็บหน้าอก
3. หายใจติดขัด
4. หัวใจเต้นผิดจังหวะ
5. ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น ลิ่มเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอ่อนแรง บีบตัวได้น้อยลง
จากการเก็บข้อมูลทางการแพทย์ของ WHO และประเทศต่างๆ ทั่วโลก เผยให้เห็นข้อมูลที่น่าวิตกก็คือ อาการ COVID Heart สามารถเกิดขึ้นได้ในคนที่เคยติดเชื้อทั้งเพศชายและหญิง ทั้งที่อายุน้อยและสูงอายุ ไม่เพียงเท่านั้นยังพบได้ ทั้งในคนที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ หรือคนที่มีโรคประจำตัวและไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่าอาการนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน
ถึงแม้ในร่างกายจะไม่มีเชื้อ COVID-19 อยู่แล้วก็ตาม แต่การดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเคร่งครัดก็ยังเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะ การสวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง รวมทั้งการฟื้นฟูร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นหนักที่ผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร
ส่วนเรื่องการออกกำลังกาย ไม่ควรกลับมาออกกำลังกายแบบหักโหมจนทำให้เหนื่อยเกินไป เพราะหัวใจหลอดเลือด และระบบหายใจยังต้องพักฟื้นหลังการติดเชื้อ ควรเลือกการออกกำลังแบบเบา ๆ เช่น การเดิน แทนการวิ่งเพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนักเกินไป
นอกจากนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำวิธีการฟื้นตัวจากอาการ COVID Heart ด้วยการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการดูแลหัวใจและหลอดเลือดอย่างเพียงพอ เช่น
1. โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10)
ประโยชน์ของ Coenzyme Q10 ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย และให้พลังงานกับเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง ตับ และไต ผู้เชี่ยวชาญจึงมีการนำมาใช้บำรุงหัวใจกับคนที่เคยติดเชื้อเพื่อลดโอกาสการเป็น COVID Heart โดยสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และทำงานได้เป็นปกติและดีขึ้น ซึ่งสารอาหารชนิดนี้จำเป็นและมีความสำคัญในผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก โดยแหล่งอาหารที่พบโคเอนไซม์ คิวเทน ตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไต หัวใจ ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน และผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันถั่วเหลือง ผัก รำข้าว ซีเรียล น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
2. กรดไขมัน Omega-3
เป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านเชื้อโรคได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดภาวะการอักเสบในร่างกายเมื่อเกิดการติดเชื้อ เช่น ลดภาวะปอดอักเสบ จากข้อมูลการวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าการได้รับกรดไขมัน Omega-3 สามารถช่วยลดความเสี่ยงและช่วยบรรเทาโรคปอดอักเสบติดเชื้อได้จริง ซึ่งข้อมูลการวิจัยนี้มาจาก Harvard Medical School ได้ระบุว่ากรดไขมัน Omega-3 ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมัน EPA และ DHA
เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นสารต้านอักเสบ ที่ชื่อว่า Resolvins ซึ่งจะเป็นสารสำคัญที่ป้องกันปอดอักเสบป้องกันการเกิด Long Covid รวมถึงอาการ COVID Heart นอกจากนี้กรดไขมัน Omega-3 ยังมีส่วยช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และหัวใจขาดเลือด
3. น้ำมันกระเทียม (Garlic Oil)
คุณสมบัติอย่างหนึ่งของน้ำมันกระเทียมที่ให้ประโยชน์โดยตรงกับคนที่เป็น COVID Heart ก็คือ ช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน ป้องกันไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง รวมถึงยังช่วยเสริมภูมิให้ร่างกายแข็งแรง
นอกจาก 3 สารอาหารสำคัญที่กล่าวไปข้างต้น คนที่เคยติดเชื้อ COVID-19 ยังควรจะต้องดูแลสุขภาพด้วยการเสริมวิตามินและแร่ธาตุสำคัญเช่น วิตามินซี วิตามินดี แร่ธาตุสังกะสี รวมทั้งเสริมสารอาหารประเภทโปรตีน และโปรไบโอติกส์ เพิ่มเสริมภูมิและความแข็งแรงให้กับร่างกาย เพื่อฟื้นฟูให้ร่างกายแข็งแรงได้เร็วขึ้น และยังสามารถป้องกันอาการ Long Covid ที่มีโอกาสจะตามมาได้อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก :
1. โรงพยาบาลพญาไท
2. โรงพยาบาลกรุงเทพ
3. Abbasi J. The COVID Heart—One Year After SARS-CoV-2 Infection, Patients Have an Array of Increased Cardiovascular Risks. JAMA. 2 March 2022.