เมื่อติดเชื้อโควิด-19 ถือเป็นผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะถึงแม้จะรักษาจนหายจากโรคแล้ว แต่ยังมีผลข้างเคียงหลายอย่างตามมา และหนึ่งในผลข้างเคียงที่อันตรายและได้รับการเตือนจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกก็คือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) ซึ่งถือเป็นภาวะเสี่ยงที่ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตัน
จากการเก็บสถิติในผลการวิจัยจากประเทศสวีเดนระบุว่า ผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้วจะมีความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าอันตรายที่ได้จากฉีดวัคซีน โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเชื้ออาการรุนแรง และผู้ติดเชื้อในการระบาดในระลอกแรกมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันสูงที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาที่ได้ถูกตีพิมพ์ในนิตยสารแพทย์อังกฤษ (BMJ) ที่ระบุว่า การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันมีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จากสถานการณ์การระบาดระลอกแรกมากกว่าระลอกต่อมา
โดยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ลิ่มเลือดที่หัวใจ ลิ่มเลือดในปอดหรือเส้นเลือดอุดตันที่ปอด รวมทั้งเลือดออกที่อวัยวะภายใน เช่น หลอดเลือดสมอง
นอกจากนี้การเก็บสถิติยังพบว่า อาการลิ่มเลือดอุดกั้นที่ปอดในผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 อาการรุนแรงจะสูงถึง 290 เท่า ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นกว่าระดับปกติ 7 เท่า แต่ไม่มีความเสี่ยงของอาการเลือดออกอวัยวะภายในร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้น และจากการศึกษาในครั้งนี้ ทีมนักวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบความเสี่ยงการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันของผู้ติดเชื้อโควิด-19 กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ติดเชื้อโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า คนไข้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 4 คน ในทุก ๆ 10,000 คน เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก ส่วนคนที่ไม่ติดโควิด-19 จะมีอัตราส่วน 1 ใน 10,000 คน และคนไข้ติดเชื้อโควิด-19 ราว 17 คน ในทุก ๆ 10,000 คน เกิดโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ส่วนคนที่ไม่ติดเชื้อโควิด -19 อยู่ที่อัตราส่วนไม่ถึง 1 ใน 10,000 คน
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เคยติดเชื้อจึงยังคงต้องเข้มงวดกับการดูแลร่างกายอย่างต่อเนื่องปฎิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ควบคู่กับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และหาวิธีป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังแบบไม่หักโหม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อลดความข้นหนืดของเลือดและทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น รวมทั้งการเสริมสารอาหารที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำคือ Omega–3 เป็นประจำก็จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากติดเชื้อได้อีกทางหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/2DpyY68?utm_source=lineshare