“ไวรัสตับอักเสบบี… คือหนึ่งในโรคที่เกี่ยวกับตับ ซึ่งคนไทยเสี่ยงมากที่สุด”
จำนวนตัวเลขที่ได้มีการเก็บสถิติสิ้นสุดปี 2565 เกี่ยวกับโรคมะเร็งตับของคนไทยพบว่า
75% ของมะเร็งตับในคนไทยเกิดจากไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง และโรคไวรัสตับอักเสบถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 โรคติดเชื้อที่ทำให้คนเสียชีวิตมากที่สุด ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีผู้เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังกว่า 3.5 ล้านคน เมื่อปี 2563 พบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ประมาณ 2.2 – 3 ล้านคน โดยส่วนมากในปัจจุบันพบว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ในประชากรที่อายุ 30 ปีขึ้นไป
ในปี 2565 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศในที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ให้ประเทศสมาชิกดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบอย่างบูรณาการ และจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบอย่างเป็นรูปธรรม
โรคไวรัสตับอักเสบบี (Viral Hepatitis B) คือ เป็นการอักเสบของเซลล์ตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี จนทำให้เซลล์เสียหายไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้เกิดปฎิกิริยาต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกาย หากติดเชื้อเป็นเวลานานกว่า 6 เดือนขึ้นไปจึงจะเรียกว่าได้ว่าเป็นภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดพังผืดขึ้นที่ตับ ตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
ผู้ที่ป่วยโรคมะเร็งตับส่วนใหญ่ ประมาณ 90% จะมีประวัติเป็นโรคไวรัสตับอักเสบมาก่อน จึงสามารถบอกได้ว่า ‘โรคไวรัสตับอักเสบบี ส่งผลโดยตรงต่อภาวะตับอักเสบเรื้อรังและรวมไปถึงโรคมะเร็งตับด้วย’
สามารถติดต่อกันได้ 4 ช่วงทางหลักๆ คือ
1. จากแม่สู่ลูก ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อได้ในระหว่างคลอด ดังนั้นควรมีการตรวจเลือดแม่ระหว่างที่ฝากครรภ์ หากพบว่าแม่มีเชื้อควรให้ฉีดวัตซีนและสารภูมิต้านทาน (อิมมูโนโกลลูลิน) ในทารกตั้งแต่แรกเกิดเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้
2. ทางเพศสัมพันธ์ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคนี้โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย มีโอกาสติดโรคได้สูงถึง 30 - 50%
3. การใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่นโดยมีสารคัดหลั่งปะปน เช่น แปรงสีฟัน มีดโกนหนวด ที่ตัดเล็บ เข็มฉีดยา การสัก เจาะหู ฝังเข็ม เป็นต้น
4. ทางเลือด จากการสัมผัสเลือดของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี หรือการได้เลือดจากผู้ที่เป็นพาหะของโรคนี้ แต่ในปัจจุบันจะพบได้น้อยลง เพราะมีการตรวจเลือดก่อนที่จะนำมาให้ผู้ป่วยเสมอ
หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแล้ว จะเริ่มมีอาการในระยะเฉียบพลันในช่วง 1-3 เดือนแรก โดยจะมีอาการเป็นๆ หายๆ และอาจจะคล้ายกับอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ทั่วไป จากนั้นร่างกายจะค่อยๆ ดีขึ้น เนื่องจากร่างกายได้กำจัดไวรัสตับอักเสบออกไปพร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำอีก โดยอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจน ได้แก่
ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นเวลามากกว่า 6 เดือน จะเข้าสู่ระยะเรื้งรัง ซึ่งบางรายอาจไม่แสดงอาการออกมา หรือที่มีภาวะตับอักเสบเรื้อรังนานจนเกิดโรคตับแข็ง และสามารถเป็นโรคมะเร็งตับในที่สุด โดยจะเริ่มแสดงอาการออกมา ดังนี้
สำหรับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีที่มีอาการระยะเฉียบพลันแล้วได้ตรวจหรือเข้ารับการรักษากับแพทย์จะมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการจนเข้าสู่ระยะเรื้อรังจะพิจารณาการรักษาต่างกัน ขึ้นอยู่กับการตรวจพบเชื้อและอาการของผู้ป่วยแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนในการรักษาต่อไป
การรักษาด้วยยาต้านไวรัส แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าสามารถหยุดยาเมื่อไหร่ โดยตามแนวทางการรักษาในปัจจุบัน สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจต้องกินยาระยะยาว หรือตลอดชีวิต ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ควรหยุดยาด้วยตัวเอง ในปัจจุบันผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีแต่ไม่มีการอักเสบของตับ ยังไม่ต้องใช้ยารักษา แต่สำหรับผู้ที่มีตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีสามารถใช้ยารักษาได้ โดยยาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
ทำหน้าที่กระตุ้นภูมิต้านทานและควบคุมปริมาณไวรัส
ทำหน้าที่ยับยั้งการสร้างไวรัสตับอักเสบบี ทำให้การอักเสบของตับลดลง
อย่างไรก็ตามแพทย์ผู้รักษาจะเลือกยาและวิธีการรักษาให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน
1. การตรวจการทำงานของตับ พร้อมกับตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยควรฉีดวัคซีนตั้งแต่เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่หากยังไม่เคยฉีดฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วจะไม่สามารถฉีดวัคซีนได้
3. หากคนในครอบครัวเป็นพาหะ ควรมีการตรวจเลือดเพื่อรู้ถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด และสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
5. งดใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน
6. ควรล้างมือให้สะอาดหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
7. ควรล้างมือให้สะอาดก่อนประกอบอาหารและก่อนการรับประทานอาหาร
8. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
9. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
10. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีความหลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ในการนำไปสร้างภูมิคุ้มกัน
การป้องกันคือวิธีที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับโรคทุกชนิด และการหยุดแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบบี การฉีดวัคซีนคือคำตอบ โดยกรมควบคุมโรคเร่งส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของโรคไวรัสตับอักสบบี สามารถประเมินความเสี่ยงของตัวเองและคนรอบข้างได้ หากมีพฤติกรรมเสี่ยงควรตรวจคัดกรองเพื่อรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีโดยเร็ว หากต้องการเข้ารับการฉีดวัคซีนสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลทั่วไป
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.nationtv.tv/news/378871928
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/hepatitis-b
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ไวรัสตับอักเสบบี https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/Viral-Hepatitis-B
https://www.theworldmedicalcenter.com/th/new_site/health_article/detail/?page=“ไวรัสตับอักเสบบี”-โรคร้ายที่คุณป้องกันได้
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/hbv
https://www.sikarin.com/health/ไวรัสตับอักเสบบี-ตัวการ