โรคข้อกระดูกเสื่อม และโรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนไทยในปัจจุบันมากขึ้นซึ่งโรคข้อกระดูกเสื่อมและโรคกระดูกพรุน ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดได้กับคนวัยทำงานที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคข้อกระดูกเสื่อม และโรคกระดูกพรุน รวมถึงผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้ข้ออยู่เป็นประจำ
ดังนั้นควรสังเกตความเสี่ยงและเช็กอาการข้อเสื่อมและกระดูกพรุนเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ เพื่อลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนและโรคข้อกระดูกเสื่อม รวมถึงวิธีป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อยืดอายุของข้อเข่าและกระดูกให้ดีและแข็งแรง เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น
มีเสียงกระดูกดังกร๊อบแกร๊บบริเวณข้อขณะเคลื่อนไหว
งอเข่าหรือเหยียดขาได้ไม่สุด
ปวดข้อขณะเคลื่อนไหว
ข้อกระดูกอักเสบ บวม แดง
รู้สึกฝืดหรือติดขัดบริเวณข้อ
หลังค่อม
ส่วนสูงของร่างกายลดลง
ปวดที่กระดูก
ผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถเกิดในผู้ที่อายุน้อยได้เช่นกัน
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม
ผู้ที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูง
ผู้ที่ชอบนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ
ผู้ที่ชอบนั่งยองๆ นานๆ
ผู้ที่กินน้ำอัดลมทุกวัน
ผู้ที่ชอบดื่มกาแฟเยอะเกินไป
ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุต่อข้อ เช่น ข้อหลุดเคลื่อน กระดูกหัก
นักกีฬาที่ต้องใช้ข้อเข่า เช่น นักฟุตบอล
ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้ข้อออกแรงในชีวิตประจำวันเช่น ทันตแพทย์ ช่างซ่อมต่างๆ พนักงาน BA พนักงานPC เป็นต้น
การควบคุมน้ำหนัก : การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลดโอกาสในการเกิดโรคข้อเสื่อมและชะลอไม่ให้โรคข้อเสื่อมเป็นมากขึ้นกว่าเดิม โดยข้อที่ต้องรับน้ำหนัก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อกระดูกสันหลัง และข้อสะโพก
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมสด เต้าหู้ กล้วย งา กุ้งฝอย ผักใบเขียวต่างๆ เป็นต้น
ออกกำลังกายและบริหารร่างกาย จะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง และช่วยป้องกันข้อติดและทำให้การเคลื่อนไหวของข้อเป็นไปได้อย่างปกติ
ปรับเปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ ไม่อยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป ไม่ควรยืน คุกเข่า หรือนั่งยองเป็นเวลานาน
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะจะทำให้เกิดการปวดหัวเข่าและข้อเสื่อม
หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
นอกจากการปรับพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว อีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคข้อเสื่อมและโรคกระดูกพรุนก่อนวัยอันควร คือ การเลือกเสริม 2 สารอาหารสำคัญอย่าง “คอลลาเจน ไฮโดรไลเซต” และ “แคลเซียมปริมาณสูง”
คอลลาเจน ไฮโดรไลเซต (Collagen Hydrolysate) คอลลาเจนบำรุงข้อเข่าโดยเฉพาะ
คอลลาเจน ไฮโดรไลเซต หรือ คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) เป็นคอลลาเจนทางการแพทย์ที่ใช้ในรักษาและบำรุงเกี่ยวกับข้อโดยเฉพาะ ซึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของคอลลาเจนชนิดนี้จะผ่านขบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้คอลลาเจนที่มีขนาดและความยาวสั้นลง เพื่อทำให้ร่างกายดูดซึมคอลลาเจนง่ายขึ้นและร่างกายสามารถนำไปสร้างข้อกระดูกอ่อนและน้ำเลี้ยงข้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์เซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น โดยมีผลวิจัยทางการแพทย์ว่าสามารถช่วยป้องกันและบรรเทาโรคข้อเสื่อมได้
แคลเซียม (Calcium) สารอาหารสำคัญ ป้องกันโรคกระดูกพรุน และเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย โดย 99% ของแคลเซียมอยู่ในกระดูกและฟัน ดังนั้นแคลเซียมจึงมีความสำคัญต่อร่างกายและจำเป็นต่อทุกเพศ ทุกวัย การเลือกเสริมแคลเซียมปริมาณสูงในรูปแบบเสริมอาหารก็เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและมวลกระดูก ไม่เปราะหักง่าย และลดโอกาสการเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคตได้
ซึ่งควรเลือกเสริมแคลเซียมที่มีปริมาณแคลเซียมอิสระต่อเม็ด 600-800 มิลลิกรัมและอยู่ในรูปแบบแคปซูลนิ่ม (Soft Gel) ที่มีลักษณะเป็น 'แคลเซียมเหลว' ซึ่งคุณสมบัติที่แตกต่างจากแคลเซียมตามท้องตลาดทั่วไป เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะไม่มีปัญหาเรื่องการละลาย และสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งควร พิจารณาแคลเซียมที่มีวิตามินดี (Vitamin D) ผสมอยู่ด้วย จะช่วยทำให้ทางเดินอาหารดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้น ได้รับแคลเซียมเข้าไปในกระดูกมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าโรคข้อเสื่อม และโรคกระดูกพรุน สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย ดังนั้นสิ่งสำคัญควรหมั่นสังเกตตัวเอง หรือคนหรือคนใกล้ตัวว่า มีอาการต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ เพราะหากปล่อยไว้ไม่ดูแลหรือป้องกันไว้ก่อน อาจส่งผลกระทบกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันจนอาจทำให้เดินไม่ไหว และมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care