‘วิตามินดี’ (Vitamin D) เป็นหนึ่งวิตามินที่มีความสำคัญอันดับต้นๆต่อร่างกาย แต่น่าแปลกใจที่ หลายคนพึ่งรู้จักและเริ่มสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับวิตามินดีเมื่อไม่นานมานี้เอง อาจเพราะคิดว่าร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีขึ้นเองได้หลังจากถูกแสงแดด ซึ่งหากดูผิวเผินคนไทยคงจะไม่มีใครขาดวิตามินดีเป็นอย่างแน่นอน เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อนที่มีแดดแรงตลอดทั้งปี
แต่จากผลการสำรวจของโรงพยาบาลรามาธิบดีกลับพบว่าคนไทยถึง 42.5 % มีภาวะพร่องวิตามินดีหรือมีระดับวิตามินดีที่น้อยกว่าปกติ เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงแสงแดด ทำงานอยู่แต่ในอาคารตลอดวัน รวมทั้งการใช้ครีมกันแดด หรือการสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิดเมื่อต้องออกแดด ทำให้ร่างกายได้รับแสงแดดเพื่อสังเคราะห์เป็นวิตามินดีไม่เพียงพอ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพและโรคเรื้อรังต่างๆ
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
วิตามินดี (Vitamin D) คืออะไร ?
วิตามินดี (Vitamin D) มีประโยชน์อย่างไรในปัจจุบัน ?
วิตามิน D3 มีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย ?
วิตามินดี (Vitamin D) เป็นวิตามินที่ถูกสร้างขึ้นเองได้ในร่างกายผ่านการกระตุ้นจากรังสี UVB ในแสงแดด หรืออาจได้จากการรับประทานอาหารบางชนิด เช่น น้ำมันตับปลา ไข่แดง นม เนย ตับสัตว์ ปลาที่มีไขมันมากบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาซาร์ดีน เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่วิตามินดีที่ร่างกายได้รับนั้น จะถูกสร้างผ่านการกระตุ้นจากแสงแดดเป็นหลัก
เป็นที่ทราบกันว่าวิตามินดีมีหน้าที่หลักในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส เพื่อบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง แต่ทราบหรือไม่ว่า นอกจากบำรุงกระดูกและฟันแล้ววิตามินดียังมีประโยชน์อีกมากมายที่ทุกคนอาจยังไม่เคยทราบมาก่อน ดังนี้
วิตามินดี (Vitamin D) มีหน้าที่หลักในการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ รักษาสมดุลแคลเซียมในร่างกาย และลดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ถึง ร้อยละ 30 - 35 จากอาหารที่บริโภค ซึ่งหากร่างกายมีแคลเซียลไม่เพียงพอต่อความต้องการ มวลกระดูกจะสลายตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นการรับประทานวิตามินดีปริมาณสูงเพื่อเพิ่มดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ จึงช่วยป้องกันกระดูกจากโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) และลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกจากการเป็นโรคกระดูกพรุนได้
นอกจากนี้ วิตามินดี (Vitamin D) ยังมีส่วนสำคัญในการเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ มีความจำเป็นต่อการยืดและหดของมัดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา ช่วยให้การทรงตัวและการทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น จึงลดโอกาสการลื่นหกล้มในผู้สูงอายุ เนื่องจากกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงได้ถึง 22 % และป้องกันปัญหาการแตกหักของกระดูกในภายหลังการลื่นล้มได้ ทั้งยังช่วยป้องกันโรคกระดูกอ่อน (osteomalacia) ที่มักเกิดในวัยรุ่นและวัยทำงาน โดยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแขน และขาทั้งสองข้าง จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินดีเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และกล้ามเนื้อ
อีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญของ วิตามินดี (Vitamin D) คือ ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่เปรียบเสมือนป้อมปราการด่านแรกของร่างกาย ทำให้เม็ดเลือดขาวตอบสนองต่อเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดการแบ่งตัวของไวรัสและแบคทีเรีย และลดการสร้างสาร Cytokine ที่ก่อให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถต้านทานโรคได้มากขึ้น
นอกจากนี้การได้รับวิตามินดีปริมาณสูงในผู้ที่ติดเชื้อโควิด – 19 จะช่วยลดการอักเสบในปอด ช่วยให้การทำงานของปอดดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหายจากการติดเชื้อ
นอกจากวิตามินดีจะมีประโยชน์ในการบำรุงกระดูกและระบบภูมิคุ้มกันแล้ว ยังช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการขาดวิตามินดีได้ ดังนี้
อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่ง วิตามินดี (Vitamin D) มีประสิทธิภาพในการควบคุมการผลิตอินซูลินในตับอ่อน และช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดี อีกทั้งยังลดความเสี่ยงของการต้านอินซูลิน จึงช่วยลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
วิตามินดี (Vitamin D) ช่วยควบคุมระบบฮอร์โมนเรนินแองจิโอเทนซิน เพื่อช่วยในการควบคุมความดันโลหิตของร่างกายไม่ให้สูงจนผิดปกติ และในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หากมีระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจถึง 2 เท่า
วิตามินดี (Vitamin D) ช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้หลอดเลือดเกร็งและคลายตัวได้ตามปกติ จึงช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งมีข้อมูลการศึกษาพบว่าการได้รับวิตามินดี 3 วันละ 1,000-4,000 IU ต่อเนื่อง สามารถลดความถี่ในการเกิดไมเกรนได้ 45-100%
นอกจากประโยชน์ด้านร่างกายที่พูดกันไปแล้ว วิตามินดี (Vitamin D) ยังมีบทบาทสำคัญในเรื่องสุขภาพจิต ช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) มากขึ้น ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยให้รู้สึกอารมณ์ดี ลดความเครียด และความวิตกกังวลจากภาวะของโรคซึมเศร้า (Depression)
วิตามินดี (Vitamin D) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ที่ลำไส้ เต้านม และต่อมลูกหมาก ทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆเป็นไปตามปกติ
แม้วิตามินดีจะมีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกายมากแค่ไหน แต่ในปัจจุบันกลับพบว่า 'คนไทยมากถึง 45.2% มีระดับวิตามินดีไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา' ดังนั้นการรับประทานวิตามินดีเสริม จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งผู้เชียวชาญแนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์เสริมวิตามินดีในรูปแบบ วิตามินดี 3 (Cholecalciferol) เพราะเป็นรูปแบบที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
วิตามินดี (Vitamin D) เป็นวิตามินชนิดละลายในไขมันที่พบได้หลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามินดี 2 (Ergocalciferol) ซึ่งพบได้เฉพาะในพืช เช่น เห็ด ยีสต์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราห์เองได้ และอีกรูปแบบ คือ วิตามินดี 3 (Cholecalciferol) เป็นรูปแบบเดียวที่สร้างขึ้นในร่างกาย โดยร่างกายจะเปลี่ยนวิตามินดี 3 ที่ได้รับจากแสงแดด หรืออาหาร ให้อยู่ในรูปออกฤทธิ์ หรือ Active form เมื่อร่างกายมีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำกว่าที่ควรจะเป็น หรือไม่เพียงพอในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับอวัยวะต่างๆ
แม้จะเป็นวิตามินดีเหมือนกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพแล้วพบว่า วิตามินดี3 (Cholecalciferol) มีประสิทธิภาพการเพิ่มระดับวิตามินดีในเลือดได้ดีกว่าวิตามินดี 2 ถึง 56 - 87% และยังสามารถเก็บสะสมไว้ในเนื้อเยื่อไขมันได้ดีกว่าวิตามินดี 2 ถึง 3 เท่า
เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้คงทราบกันแล้วว่า ‘วิตามินดี’ มีประโยชน์มากมายไม่เฉพาะแต่เพิ่มการดูดซึมแคลเซียม แต่ยังสำคัญต่อระบบอื่นๆในร่างกายอีกด้วย ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงและป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น แนะนำให้รับประทานวิตามินดีในปริมาณสูง 5,000 IU ต่อวัน เพื่อเพิ่มระดับวิตามินดีในกระแสเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ด้วยความห่วงใยจาก…..Mega Wecare
ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.tlclab.net/tlc/vitamin-d/
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/กระดูกพรุนขาดวิตามิน
https://www.nutrilite.co.th/th/article/vitamin-d-bone
https://www.megawecare.co.th/content/5697/vitamin-d-benefits-for-everyone-
https://www.bangkokbiznews.com/social/961237
https://www.komchadluek.net/news/474458
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/กระดูกพรุนขาดวิตามิน
https://www.hospital.tu.ac.th/lab/PDF/THAM-LAB%2011.pdf
http://www.wongkarnpat.com/upfileya/รอบรู้เรื่องยา%20213.pdf