ดูแลสุขภาพ ‘ตับ’ ให้แข็งแรงด้วยสารอาหารที่สำคัญ

ดูเเล ตับ

ดูแลสุขภาพ ‘ตับ’ ให้แข็งแรงด้วยสารอาหารที่สำคัญ

หากพูดถึงอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย เชื่อว่า หัวใจ ปอด สมอง มักเป็นอวัยวะลำดับต้นๆที่หลายคนนึกถึง แต่ทราบหรือไม่ว่า ‘ตับ’ ก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญหลายประการต่อร่างกาย แต่กลับเป็นอวัยวะที่ขาดการดูแล และถูกละเลยมากที่สุด

‘ตับ’ อวัยวะสำคัญที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

     ตับ เปรียบได้เหมือน หัวใจดวงที่ 2 ของร่างกาย เพราะเป็นอวัยวะที่ใหญ่และมีความสำคัญอันดับต้นๆ มีหน้าที่ในการเปลี่ยนสารอาหารต่างๆ ที่เราได้รับเข้าไปให้อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายสามารถดูดซึม และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ผลิตน้ำดีเพื่อช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน สร้างโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของทุกระบบในร่างกาย อีกทั้งตับยังมีหน้าที่ช่วยล้างพิษ กรองของเสียต่างๆ และขับของเสียออกจากร่างกาย

รู้หรือไม่ ‘ตับ’ เป็นอวัยวะที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ?

     ตับเป็นอวัยวะที่มีความสามารถในการซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเองได้ดี เพราะเมื่อเกิดบาดแผลหรือความเสียหายจะซ่อมแซมตัวเอง โดยการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เดิมที่ถูกทำลายไป และแม้ตับจะถูกทำลายไปกว่า 70% ก็ยังสามารถงอกใหม่ได้ภายใน 2 สัปดาห์

     ถึงแม้ตับจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่สามารถทำให้ตับของเราป่วยได้ หากไม่รู้จักดูแลและป้องกัน เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมไขมันที่ตับ จนเกิดการ อักเสบ ทำให้ตับเสื่อมสภาพ รวมไปถึงแอลกอฮอล์หรือยาบางชนิด หากรับประทานมากเกินไป ตับจะทำงานหนักจนไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองและคัดกรองสารพิษออกไปได้หมด

     นอกจากนี้ผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อยหรือขาดการออกกำลังกาย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคตับได้ โดยโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของตับที่พบได้บ่อยก็คือ โรคมะเร็งตับ ซึ่งโรคนี้จากสถิติถือเป็นมะเร็งอันดับ 1 ในผู้ชายไทย และนอกจากนี้โรคตับแข็ง ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีคนเป็นกันจำนวนมาก 

อาการแบบไหนที่สงสัยว่า ‘ตับผิดปกติ’

  ท้องบวม

  เบื่ออาหาร  อ่อนเพลีย

  อุจจาระสีซีด ปัสสาวะสีเข้ม

  ปวดแน่นบริเวณชายโครงเป็นประจำ  

  ตัวเหลือง ตาเหลือง

  ท้องอืด จุดเสียด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย

     ดังนั้นการดูแลตับจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะหากตับป่วยหรือเกิดปัญหาจะส่งผลกระทบต่อหลายระบบของร่างกาย ซึ่งการดูแลตับเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

เคล็บลับ ถนอม ‘ตับ’ ให้แข็งแรง

1. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

     เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคตับ เช่น ตับอักเสบเฉียบพลัน ตับอักเสบเรื้อรังและโรคตับแข็ง เพราะแอลกอฮอล์จะเข้าไปทำร้ายเซลล์ของตับ กระตุ้นให้มีไขมันสะสมในตับ จนเกิดการอักเสบ และเกิดพังผืดส่งผลให้เกิดตับแข็ง การทำงานของตับลดลง ตับวาย และนำไปสู่มะเร็งตับได้ในที่สุด

2 . งดการสูบบุหรี่

     บุหรี่ไม่ได้ทำลายเพียงแค่ปอด แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อตับอีกด้วย ในผู้ที่สูบบุหรี่ประจำทุกวัน ตับต้องทำงานหนักเพื่อกรองสารพิษอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตับอ่อนแอและเกิดปัญหาตามมาได้ง่าย

3 . ไม่รับประทานยาเกินความจำเป็น

     เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการกำจัดยาออกจากร่างกาย ซึ่งหากร่างกายได้รับยาบางชนิดในปริมาณสูง หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน ตับก็จะไม่สามารถทำลายได้ทัน เหลือเป็นส่วนเกินและมีฤทธิ์ทำลายเนื้อตับ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับจนกลายเป็นภาวะตับวายได้

4 . ควบคุมน้ำหนักตัว

     การมีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานนั้นไม่ได้ส่งผลต่อรูปร่างเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลเสียต่อตับด้วย เพราะถ้าคุณมีไขมันในร่างกายมากเกินไปก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไขมันพอกตับได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมัน แป้ง และน้ำตาล ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญไขมันส่วนเกินออกไป

5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

     การนอนหลับให้เพียงพอและเป็นเวลา จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้เลือดไปซ่อมแซมและบำรุงตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีผลการศึกษา พบว่าผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอ เสี่ยงต่อภาวะไขมันเกาะตับ (Non Alcoholic Fatty Live Disease; NAFLD) ถึง 1.2 เท่า

6. เสริมด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงตับ

     นอกจากวิธีการดูแลตัวเองเพื่อสุขภาพตับที่ดีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ดูแลตับด้วยการเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อตับในปริมาณที่เพียงพอ โดยสารอาหารที่ได้รับการยอมรับว่าดีต่อตับ และช่วยบำรุงตับ  ได้แก่

  สารสกัดจากรากต้นแดนดีเลี่ยน (Dandelion Root Extract) ช่วยเสริมการขจัดสารพิษจากตับและถุงน้ำดี ลดผลข้างเคียงจากยาที่ถูกทำลายที่ตับ เพิ่มการไหลเวียนของน้ำดี เสริมการทำงานของตับให้สามารถหลั่งน้ำดีได้มากขึ้น และยังช่วยให้การย่อยอาหารประเภทไขมันได้ดีขึ้น

  สารสกัดจากแอปเปิ้ล (Apple Vinegar) ประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นหลายชนิด จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญสารอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน และยังช่วยปรับสมดุลกรดด่างในลำไส้ได้

  แอล-เมทไธไอนีน (L-methionine) มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถจับกับโลหะหนักที่เป็นพิษต่อตับได้ดี ช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดได้ เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน และสารที่จำเป็นต่อกระบวนการขจัดพิษของตับ เช่น กลูตาไธโอน

  ซีลีเนียม (Selenium) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในการต้านพิษจากโลหะหนัก มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง และต้านภาวะไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอ็นไซม์ขจัดสารพิษของตับได้

  บริเวอร์ยีสต์ (Brewer’s Yeast Extract) อุดมไปด้วยสารอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มวิตามินบี โครเมียม และซีลีเนียม ที่มีประโยชนต่อกระบวนการเผาผลาญที่ตับ

  น้ำมันอีฟนิ่งพรีมโรส (Evening Primrose Oil) เป็นสารต้านอักเสบ ช่วยลดไขมันในเลือด สารสำคัญ (EPO) GLA ใน EPO ยังช่วยจับกับแอลกอฮอล์ จึงช่วยลดภาระ และป้องกันความเสียหายของตับได้

  อิโนซิทอล (Inositol) มีฤทธิ์ในการจับกับไขมัน จึงช่วยนำไขมันออกจากตับได้ ทำให้การทำงานของตับ และท่อน้ำดีทำงานดีขึ้นส่งผลดีต่อผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ และโรคตับแข็ง

  โคลีน (Choline) ช่วยป้องกันความเสียหายของตับ และช่วยในขบวนการขนส่งไขมันออกจากตับ รวมถึงช่วยลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลที่ลำไส้ จึงช่วยลดความรุนแรงของภาวะไขมันพอกตับได้

  เลซิติน (Lecithin) คือสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน (Choline) และอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งมีบทบาทต่อการควบคุมกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ ให้อวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเซลล์ตับ ซึ่งสารสำคัญในเลซิตินมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติทั้งจากการดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาเกินความจำเป็น การได้รับสารเคมีหรือสารพิษต่างๆที่เข้าสู่ตับ และช่วยป้องกันตับถูกทำลาย หรืออาจกล่าวได้ว่า เลซิติน มีบทบาทในการช่วยซ่อมแซมเซลล์ตับ

  วิตามินอี (Vitamin E) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์มาเป็นเวลานาน มีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์ต่างๆ ไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ เมื่อมีการเผาผลาญเกิดขึ้นในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยกำจัดไขมันชนิดร้ายออกจากร่างกาย จึงลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะไขมันพอกตับ และลดความเสียหายของตับจากการได้รับสารพิษหรืออนุมูลอิสระเข้าสู่ร่างกาย ต้านการอักเสบ และยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรงขึ้น

     เพราะ ‘ตับ’ เป็นอวัยวะที่มีเพียงชิ้นเดียวในร่างกาย และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นอย่าปล่อยให้ ‘ตับป่วย’ รีบดูแลและป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค อย่ารอให้สายเกินแก้ ด้วยความห่วงใยจาก… Mega Wecare

ขอบคุณข้อมูลจาก :

โรงพยาบาลวิชัยยุทธ (https://shorturl.asia/IVGrs)
โรงพยาบาลเปาโล (https://shorturl.asia/S5Dup)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (https://shorturl.asia/iWdKz)
ผศ. นพ. มล.ทยา กิติยากร สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  (https://shorturl.asia/BVWG0)

 

  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้