‘หัวใจ’ อวัยวะสำคัญที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ได้หยุดพัก มีหน้าที่สำคัญ คือ สูบฉีดเลือดให้ไปเลี้ยงร่างกายและสมอง ถ้าหัวใจแข็งแรงก็ย่อมส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงตามไปด้วย ในทางกลับกันถ้าหัวใจทำงานหนัก หรือเกิดความเสียหาย อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะ ‘โรคหัวใจ’ ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย
โรคหัวใจ (Heart Disease) คือ โรคที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจของคนไทยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน
แม้ในอดีตโรคหัวใจจะเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันมีรายงานจำนวนมากที่พบว่าคนที่อายุยังน้อยหรือวัยรุ่นก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้
สาเหตุของโรคหัวใจนั้นเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนได้ เช่น อายุ เพศ และประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว ส่วนอีกปัจจัยหนึ่ง คือ ปัจจัยที่สามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนได้ เช่น การสูบบุหรี่ ภาวะโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นต้น
ซึ่งการป้องกันโรคหัวใจควรเริ่มต้นจากการลดความเสี่ยงจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอันดับแรก ควบคู่ไปกับการเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อหัวใจในปริมาณที่เพียงพอ โดยสารอาหารที่ได้รับการยอมรับว่าดีต่อหัวใจ และช่วยบำรุงหัวใจ ได้แก่
‘โคเอนไซม์ คิวเทน’ มีความสำคัญมากในการสร้างพลังงานพื้นฐานของเซลล์ ทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายทำงานเป็นปกติ พบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง โดยเฉพาะหัวใจ หากขาดโคเอนไซม์ คิวเทน จะทำให้ร่างกายขาดพลังงานไปอย่างมาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
จากสรรพคุณของ โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) หรือ Co Q10 ที่ให้ประโยชน์กับหัวใจในการช่วยผลิตพลังงาน ให้แก่ เซลล์ของอวัยวะต่างๆ แพทย์จึงมีการนำสารอาหารชนิดนี้มาใช้ดูแลบำรุงหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจคั่งเลือด (Congestive Heart Failure) อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด (Angina Pectoris) โรคความดันโลหิตสูง โดยพบว่ามีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น อาการของโรคหัวใจดีขึ้น ความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงลดลง และลดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงให้น้อยลงได้ โดยทั่วไปถ้ามีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ควรได้รับโคเอนไซม์ คิวเทน วันละ 100 มิลลิกรัม
‘น้ำมันปลา’ ได้ชื่อว่าเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจอย่างมาก เพราะจัดว่าเป็นกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty Acid) คือ โอเมก้า-3 (Omega-3) ซึ่งประกอบด้วย สารสำคัญ 2 ชนิด คือ EPA และ DHA
จากรายงานการแพทย์จำนวนมากพบว่า น้ำมันปลามีผลในการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากจะช่วยในการลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ป้องกันไม่ให้ไขมันเกาะติดที่ผนังหลอดเลือด รักษาความยืดหยุ่นและป้องกันหลอดเลือดอุดตัน อันเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจตามมาในที่สุด
คริลล์ออย (Krill oil) คือ สารอาหารที่สกัดออกมาในรูปแบบน้ำมันจากกุ้งทะเลขนาดเล็ก (Crustaceans) ที่อาศัยอยู่ในทะเลลึก โดยสารอาหารชนิดนี้จะอุดมไปด้วยกรดไขมัน Omega-3 ซึ่งประกอบไปด้วย EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) นอกจากนี้คริลล์ออย (Krill oil) ยังมีกรดไขมัน Omega-6 และ Omega-9 รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อ Astaxanthin
จากการเอกสารทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือได้พบว่า คริลล์ออย (Krill oil) มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะเรื่องการลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยดูแลหัวใจและป้องกันหลอดเลือดอุดตันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไขมันอุดตันเส้นเลือดหัวใจและสมอง
สารสกัดจากไขเปลือกอ้อย “โพลีโคซานอล” ทางเลือกใหม่จากธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด
จากการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับองค์ความรู้ของการแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) จนพบว่าสารสกัดจากธรรมชาติกลุ่มโพลีโคซานอล (Policosanol) ที่พบเฉพาะในไขเปลือกอ้อย มีสูตรโครงสร้างคล้ายยาลดไขมันในเลือด กลุ่ม Statin ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดไขมันคอเลสเตอรอลอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยลดระดับของไขมันคอเลสเตอรอลชนิดรวม (TC) และไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) โดยปรับสมดุลการสร้างไขมันโคเลสเตอรอล และเสริมการทำงานของตับในการเผาผลาญไขมัน ส่งผลให้ระดับของไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง ช่วยสร้างไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยกระตุ้นตับให้สร้างไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) มากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยปรับลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจ และสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้ และสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ถึง 3-4% ลดความเสี่ยงภาวะการอุดตันของเกล็ดเลือดได้ถึง 50 %
เลซิติน (Lecithin) คือ สารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน(Choline) และอิโนซิตอล (Inositol) สามารถพบเลซิตินได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับร่างกายของมนุษย์นั้น จะพบมากในอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ตับ ไต และสมอง เป็นต้น
เลซิติน มีคุณสมบัติช่วยทำให้ไขมันโคเลสเตอรอลและน้ำรวมตัวกันได้ดีขึ้น ส่งผลให้ไขมันโคเลสเตอรอลไม่เกาะติดกับผนังเส้นเลือดจนเกิดการอุดตัน สาเหตุสำคัญของการเกิดหลอดเลือดอุดตัน โรคสมองและหัวใจขาดเลือด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระบบไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น ช่วยป้องกันไขมันโคเลสเตอรอลสูงในเลือด โดยช่วยเพิ่มกระบวนการเผาผลาญไขมันของตับ ส่งผลให้ร่างกายมีการนำไขมันไปใช้เป็นพลังงานได้ดีขึ้น
นอกจากนั้นเลซิตินยังมีส่วนช่วยลดการดูดซึม และเพิ่มการขับถ่ายไขมันโคเลสเตอรอลทางอุจจาระ ส่งผลในการช่วยลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลได้
กระเทียม (Garlic) สมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี และเป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์มากมาย ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องและเป็นที่แพร่หลาย แต่บางคนอาจไม่ชอบเนื่องจากมีกลิ่นที่ฉุนหรือรับประทานแล้วทำให้เกิดกลิ่นปาก แต่ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าในปัจจุบันจึงได้มีการนำเอากระเทียมสดมาสกัดเพื่อให้ได้ น้ำมันกระเทียม (Garlic Oil) ที่สามารถรับประทานได้ง่าย สะดวกยิ่งขึ้น และที่สำคัญมีสารประกอบที่ให้คุณค่ากับสุขภาพได้อย่างเข้มข้นมากกว่า
น้ำมันกระเทียม มีสารประกอบซัลเฟอร์และอัลลิซินที่ช่วยลดระดับไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เนื่องจากระดับไขมันในเลือดสูงที่มีสาเหตุจากไขมันสะสมที่หลอดเลือดมากเกินไป รวมทั้งยังมีส่วนช่วยลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด โดยไขมันโคเลสเตอรอลเป็นสาเหตุหลักของการเกิดการอุดตันของเส้นเลือด
จากการศึกษาวิจัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศพบว่าให้ประโยชน์ในการช่วยลดความดันโลหิตตัวบน (ความดันที่เกิดขึ้นขณะหัวใจบีบตัวไล่เลือดออกจากหัวใจ) ได้ถึง 7.7 มิลลิเมตรปรอท และลดความดันโลหิตตัวล่าง (ความดันของเลือดที่ค้างอยู่ในหลอดเลือด ขณะหัวใจคลายตัว) ได้ถึง 5 มิลลิเมตรปรอท
นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้ถึง 16-40% ซึ่งได้มาจากผลการวิจัยที่ทำขึ้นกับกลุ่มทดลองของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 553 คน (ข้อมูจาก : https://www.spandidos-publications.com/10.3892/etm.2019.8374)
‘หัวใจ’ เป็นอวัยวะสำคัญที่มีเพียงดวงเดียว และเชื่อมโยงกับทุกระบบของร่างกาย หากหัวใจหยุดทำงานนั่นหมายถึงการสิ้นสุดชีวิตของเราด้วยเช่นกัน ดังนั้นอย่าปล่อยให้หัวใจเกิดปัญหารีบดูแลและป้องตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค อย่ารอให้สายเกินแก้ ด้วยความห่วงใยจาก… Mega We care
ขอบคุณข้อมูลจาก:
โรงพยาบาลนครธร (https://shorturl.asia/AYJ56)
โรงพยาบาลวิชัยเวท (https://shorturl.asia/chxWN)