สิ่งหนึ่งภายนอกร่างกายที่ทำให้ผู้ชายสูญเสียความมั่นใจที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘ผมร่วง ผมบาง’ โดยทั่วไปผมของคนเราจะร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ถ้าหากมากกว่านั้นให้เริ่มสงสัยได้ว่ากำลังมีปัญหาผมร่วงผมบาง ซึ่งปัญหาผมร่วง ผมบางในผู้ชายสามารถเกิดขึ้นหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความเครียด การขาดสารอาหารบางชนิด และการใช้ชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ผมร่วง ผมบางมากขึ้น
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
สาเหตุหลักของปัญหาผมร่วงในผู้ชาย
วิธีแก้ผมร่วงและการดูแลรักษาไม่ให้เกิดผมร่วงเพิ่มขึ้น
สมุนไพรช่วยลดผมร่วงสำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ไปเป็น ไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydrotestosterone หรือ DHT) เมื่ออายุเพิ่มขึ้น มีส่วนอย่างยิ่งในการทำให้เกิดปัญหาผมร่วงในผู้ชายซึ่งเมื่อ DHT เพิ่มมากขึ้นก็ทำให้เกิดภาวะเส้นผมหลุดร่วงง่าย โดยลักษณะของผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย
สังเกตได้ชัดเจน โดยมักเกิดขึ้นบริเวณหน้าผากและเว้าเข้าส่วนซ้ายและขวาก่อน คล้ายลักษณะรูปตัว M และบริเวณกลางศีรษะ (Vertex)
ผมร่วงจนดูหนังศีรษะบาง อาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ที่ถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ ซึ่งที่เป็นตัวกำหนดลักษณะของต่อมผม และสามารถเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นกับผู้ชาย เนื่องจากหนังศีรษะมีความไวต่อฮอร์โมน Dihydrotestosterone (DHT) จะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ผมจะร่วงเพิ่มขึ้นตามอายุ บริเวณด้านหน้า กลางกระหม่อม และกลางศีรษะบางลงเรื่อยๆ
ความเครียด และวิตกกังวลจากการทำงาน ก็ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายผมร่วงได้เช่นกัน เนื่องจากไปกระตุ้นฮอร์โมนให้เส้นผมหยุดการเจริญเติบและขาดหลุดร่วงได้ง่าย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ทำให้ไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการดูแลเส้นผมให้แข็งแรง ส่งผลกระทบให้เส้นผมเปราะบางและขาดหลุดร่วงได้ง่าย
หนำซ้ำหากชอบดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ ก็ยิ่งจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดแย่ลง ส่งผลต่อเซลล์ผิวหนัง รูขุมขนไม่แข็งแรง จึงทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้ง่าย
ผลกระทบจากการใช้ยาบางประเภทอาจทำให้มีปัญหา ผมร่วง ผมบางได้ เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาเคมีบำบัด ยากันชัก ยาลดความดันบางชนิด ยาลดความเครียดบางชนิด
ปัญหาผมร่วงผมบางในผู้ชายส่วนใหญ่มาจากฮอร์โมนและพันธุกรรม จากการสำรวจผู้ชายไทยที่มีอายุระหว่าง 18-90 ปี จำนวน 1,124 คน พบว่า ความชุกของผู้ชายที่มีผมบางแบบพันธุกรรมเท่ากับ 38.5% โดยมีฮอร์โมน DHT เป็นสาเหตุหลัก
Dihydrotestosterone (DHT) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ 5-alpha reductase ซึ่งพบมากในบริเวณต่อมลูกหมาก เส้นผม โดย DHT จะจับรวมตัวกับเซลล์เส้นผมที่อยู่บริเวณใต้หนังศีรษะ เพื่อยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นผมที่เกิดขึ้นใหม่ทำให้เซลล์เส้นผมมีขนาดเล็กลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นเส้นอ่อนและตายไปทำให้เกิดภาวะผมร่วง จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ในผู้ชาย และพบได้มากกว่าผู้หญิง เพราะผู้หญิงมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยกว่าผู้ชายนั่นเอง
ซอว์ ปาเมตโต้ (Saw Palmetto) หรือที่เรียกว่า ‘ต้นปาล์มใบเลื่อย’ เป็นสมุนไพรเก่าแก่ที่มีการศึกษามานานกว่า 200 ปี ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมทั้งอเมริกาและยุโรป จากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ พบว่า ซอว์ ปาเมตโต้ สามารถรักษาต่อมลูกหมากโตได้ ซึ่งมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน มีความปลอดภัย และไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อคุณภาพชีวิต
นอกจากนั้นคุณสมบัติพิเศษของสมุนไพรซอว์ ปาเมตโต้ สามารถเป็นทางเลือกใช้ในการรักษาผมร่วง ศรีษะล้านที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชาย โดยกลไกการยับยั้งเอนไซม์ 5-alpha reductase type II ในการเปลี่ยนฮอร์โมน Testosterone เป็น Dihydrotestosterone (DHT) ที่เป็นสาเหตุของปัญหาผมร่วง
ผมบางในผู้ชาย
มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรซอว์ ปาเมตโต้ พบว่ามีกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเหมือนกับยาฟิแนสเทอร์ไรด์ (finasteride) ที่ใช้ในการรักษาผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชายแต่ไม่มีผลข้างเคียงที่สำคัญอย่างการลดสมรรถภาพทางเพศ
ผมร่วงเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นได้ทุกวัน สำหรับบางคนอาจรู้สึกเฉยๆ และยอมรับได้หากเกิดขึ้นตามธรรมชาติและตามช่วงวัย แต่สำหรับบางคนอาจทำให้สูญเสียความมั่นใจและกลายเป็นภาวะความเครียด มีวิตกกังวลจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ หากมีปัญหาผมร่วงผมบางมากเกินไปจนเกิดความกังวล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด...ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ผมร่วง-ผมบาง
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/hair-loss
https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=405
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=28