บรรเทาความดันโลหิตสูง ด้วยสารอาหารสำคัญ

ความดันโลหิตสูง คือ รักษา บรรเทา กินอะไร

หากจะพูดถึงภัยเงียบใกล้ตัวที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เชื่อว่าจะต้องมี “ความดันโลหิตสูง” เป็นหนึ่งโรคที่ติดอยู่ในลำดับต้นๆอย่างแน่นอน โดยจากการเปิดเผยข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในกลุ่มประชากร อายุ 30-79 ปี มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 1.3 พันล้านคน และในขณะเดียวกันจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขก็ได้พบว่า คนไทยมีความดันโลหิตสูงมากถึง 13 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งโรคความดันโลหิตสูง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและโรคร้ายอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ในอนาคต

     เพราะความดันโลหิตสูงอยู่ใกล้ตัวและอันตรายกว่าที่คิด ครั้งนี้ Mega We care จึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคความดันโลหิตสูงให้ดีมากยิ่งขึ้น พร้อมเผยเคล็ดลับ และตัวช่วยในการบรรเทาความดันให้กลับมาสมดุลได้อีกครั้งหนึ่ง

  สนใจหัวข้อไหนคลิกเลย...คลิกเลย

  โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คืออะไร ?

  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

  ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ลดลงได้โดยไม่ต้องพึ่งยา

  2 สารอาหารสำคัญ บรรเทาความดันโลหิตสูง 

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คืออะไร ?

     โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ ภาวะที่ความดันภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าระดับปกติ  โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีความดันเลือดปกติจะวัดค่าความดันได้ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ผู้ที่มีความดันเลือดสูงจะวัดค่าความดันได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่ต้องได้รับการควบคุมอย่างเร่งด่วน เพราะหากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงต่อเนื่อง โดยไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ดังนี้

  หัวใจ : การที่เส้นเลือดตีบจากภาวะความดันโลหิตสูงจะทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ยากยิ่งขึ้น ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น และเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว 

  หลอดเลือดสมอง : โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหลักโดยตรงของโรคหลอดเลือดสมอง เพราะโรคนี้ทำให้เส้นเลือดในสมองอุดตันหรือแตกง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งหากไม่เสียชีวิตก็จะทำให้สภาพร่างกายไม่ปกติ มีผลต่อการสื่อสาร ความจำ และการมองเห็น

  ไต : หากเส้นเลือดบริเวณไตถูกทำลายจะทำให้ประสิทธิภาพในการกรองของเสียของไตลดลง เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงไตและนำไปสู่ภาวะไตวายได้ในที่สุด

  ดวงตา : ในระยะยาวโรคความดันโลหิตสูงจะทำให้เส้นเลือดในดวงตาถูกทำลายส่งผลให้เกิดอาการตามัว มองเห็นภาพไม่ชัด จนถึงตาบอดได้เลยทีเดียว

     และจากที่กล่าวไปในตอนต้นว่า ความดันโลหิตสูงคือภัยเงียบที่อันตราย เนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะอยู่ในระดับที่สูงเกินปกติก็ตาม โดยกว่าครึ่งของผู้ป่วยที่ทราบว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงมักจะบังเอิญตรวจเจอในขณะที่ไปตรวจสุขภาพหรือต้องตรวจระดับความดันโลหิตก่อนเข้าการรักษาโรคอื่น ๆ  แต่สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมาก ๆ ร่างกายจะส่งสัญญาณผ่านทางอาการเหล่านี้

  ปวดศีรษะตุบๆ บริเวณท้ายทอย

  เวียนศีรษะบ่อย โดยเฉพาะตอนตื่นนอน

  ตาพร่ามัว หน้ามืดบ่อย                                    

  เลือดกำเดาไหล

  มีอาการเหนื่อยง่าย                                          

  ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

     สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความดันโลหิตสูง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แบ่งออกเป็น 2  ประเภทด้วยกัน คือ 1. ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ เพศและอายุ  2. ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น  มีพฤติกรรมชอบทานอาหารเค็มเป็นประจำ น้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ชอบออกกำลังกาย สูบบุหรี่จัดหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินพอดี รวมไปถึงสภาพจิตใจและอารมณ์ โดยเฉพาะเมื่อเกิดความเครียด ความตื่นเต้น อารมณ์โกรธมีโอกาสที่ความดันโลหิตจะสูงขึ้น และถ้าเกิดขึ้นเป็นประจำก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย

     ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง สิ่งที่เราสามารถทำได้เลยทันทีและควรทำเป็นอันดับแรก คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะในผู้ที่ยังมีระดับความดันโลหิตไม่สูงมาก แพทย์จะไม่แนะนำให้รับประทานยา เพราะการรักษาด้วยยาเพื่อลดความดันโลหิตต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ และข้อจำกัดต่างๆ มากมาย เช่น ต้องทานต่อเนื่อง ต้องไม่ลืมทานยา ต้องไม่ลดขนาดยาเอง ห้ามหยุดยาเอง เพราะจะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้ เพราะฉะนั้นแล้วอย่าปล่อยให้ระดับความดันโลหิตสูง จนต้องรักษาด้วยการกินยา ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตเองนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก และเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่ทุกคนควรทำ 

ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ลดลงได้โดยไม่ต้องพึ่งยา

  ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยค่าดัชนีมวลกายปกติคือไม่เกิน 25 กก./ตรม. หรือให้เส้นรอบพุงไม่เกิน 50% ของส่วนสูง

  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเลือกออกกำลังกายหลายแบบ ทั้งการออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

  รับประทานอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารเค็ม มัน และเพิ่มผักผลไม้ให้เยอะขึ้น

  เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

  ควรหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ และตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เพราะหากตรวจพบโรคได้เร็วก็จะสามารถควบคุมโรคได้ง่าย

     นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบื้องต้นที่ทุกคนควรทำเพื่อลดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังมีอีกสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทำควบคู่กันไป คือ การเสริมด้วยสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยลดความดันโลหิตสูง ซึ่งมีความปลอดภัยกว่าการใช้ยาและสามารถรับประทานต่อเนื่องได้ในระยะยาว

2 สารอาหารสำคัญ บรรเทาความดันโลหิตสูง

     วิตามินอี (Vitamin E) หนึ่งในวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถละลายในไขมันได้ดีและมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยวิตามินอีมีประโยชน์ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ป้องกันการแตกของเม็ดเลือด ป้องกันการอุดต้นของเส้นเลือด และป้องกันโรคเรื้อรัง

     ผลจากการศึกษาผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยมีความดันตัวบน อยู่ที่ 140-160 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่างอยู่ที่ 90-100 มิลลิเมตรปรอท เมื่อได้รับประทานวิตามินอี วันละ 200 IU เป็นเวลา 6-7 เดือน จะมีส่วนช่วยทำให้ความดันโลหิตลดลง โดยวิตามินอีช่วยเพิ่มสารที่มีฤทธิ์ช่วยขยายหลอดเลือด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น ส่งผลให้ค่าความดันโลหิตที่สูงกลับมาเป็นปกติ

โคเอ็นไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10) 

     โคเอ็นไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10) หรือที่รู้จักกันในชื่อคิวเทน (Q10) เป็นสารอาหารที่พบได้ตามอวัยวะที่ใช้พลังงานมากเป็นพิเศษอย่างหัวใจ สมอง ตับและไต แต่เมื่ออายุมากขึ้นคิวเทน จะลดลงเรื่อยๆ เราจึงต้องเติมสารอาหารนี้ให้เพียงพอในแต่ละวัน อีกทั้งยังมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการสร้างพลังงานพื้นฐานของเซลล์ เพื่อให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ตามปกติและยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ อีกทั้งในปัจจุบันทางการแพทย์ได้ให้สารอาหารชนิดนี้กับผู้ที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง  

     โดยมีการวิจัยทางการแพทย์พบว่า “โคเอ็นไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10) สามารถลดความดันโลหิตได้จริง โดยสามารถลดค่าความดันโลหิตตัวบนได้ 17 มิลลิเมตรปรอท และลดค่าความดันตัวล่างได้ 10 มิลลิเมตรปรอท ที่สำคัญ คือ ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย

     แม้ว่าความดันโลหิตของคุณจะอยู่ในระดับปกติ แต่หากยังมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน ดังนั้นก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อป้องกันการเกิดโรค และถือเป็นสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกวัน ด้วยความห่วงใยจาก….Mega We care

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้