‘โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน’ ภัยเงียบที่ป้องกันได้

‘โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน’ ภัยเงียบที่ป้องกันได้

‘โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน’ ภัยเงียบที่ป้องกันได้

     ‘หัวใจและหลอดเลือด’ ถือได้ว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ซึ่งในปัจจุบัน ‘โรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตัน’ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกช่วงวัย โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยข้อมูลเนื่องในวันหัวใจโลก (วันที่ 29 กันยายน ของทุกปี) พบว่า ‘ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึงปีละ 70,000 ราย’ เรียกได้ว่าเป็นจำนวนที่สูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบและเกิดการอุดตัน ขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากการสะสมของไขมันที่บริเวณผนังด้านในของหลอดเลือด จึงทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงที่หัวใจและอวัยวะอื่นๆ ส่งผลกระทบให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำให้เสียชีวิตได้

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

  โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน คืออะไร

  ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

  วิธีการป้องกันตัวเองจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

  ตัวช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันจากภาวะไขมันในเลือดสูง

โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน คืออะไร

     โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอุดตัน โดยมีสาเหตุมาจากการเกาะตัวของคราบไขมันภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งไขมันนั้นมาจากระดับไขมันในเลือดสูง จนทำให้เกิดการสะสมของไขมันคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์ จึงส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด ในบางรายหัวใจวายและเสียชีวิตกะทันหัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

     1. ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป เมื่ออายุมากขึ้นเกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดและเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนี้เพศก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้มากกว่าผู้หญิง

     2. หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตัน ก็ทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่ายขึ้น

     3. โรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน เพราะการมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

     4. ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง คือ ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้น และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

     5. ความเครียด เพราะเมื่อมีความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย หากมีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ร่างกายก็ผลิตสารอนุมูลอิสระมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อเซลล์อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  

     6. มีภาวะโรคเบาหวาน จากค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือด ทำให้เซลล์เยื่อบุภายในหลอดเลือดทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง โดยรวมไปถึงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพ และยังก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมาได้

     7. ภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงอุดตัน โดยระดับไขมันในเลือดเอชดีแอล-คอเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol) หรือไขมันดีน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

     8. ไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อยกว่าวันละ 30 นาที เมื่อร่างกายไม่ได้ออกกำลัง ไม่มีกิจกรรมหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่ได้เผาผลาญเอาไขมันส่วนเกินออก ส่งผลให้มีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า

     9. กินอาหารที่มีไขมันสูง คนในปัจจุบันนิยมกินอาหารที่มีไขมันสูงหรืออาหารฟาสต์ฟู้ด และกินผักและผลไม้น้อยลง ทำให้ร่างกายมีไขมันในเลือดสูงและเป็นผลก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันได้

     10. ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานานมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2.4 เท่า เนื่องจากสารพิษในบุหรี่ก่อให้เกิดผลเสียต่างๆ ต่ออวัยวะภายในร่างกาย เช่น นิโคตินมีผลทำให้เกิดการทำลายเยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในของหลอดเลือดแดง คาร์บอนมอนอกไซด์จะทำลายคุณสมบัติในการเป็นพาหนะนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยเป็นผลให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งรวมไปถึงควันบุหรี่ทำให้เกล็ดเลือดเกาะกันมากขึ้น ทำให้เลือดจับกันเป็นก้อนได้ง่ายขึ้น ด้วยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบให้หลอดเลือดแดงอุดตันเฉียบพลันได้

     พฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตประจำวันถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ดังนั้นวิธีการป้องกันโรคนี้ สิ่งสำคัญ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตประจำวันที่ทำอยู่ในปัจจุบัน หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและอาหารการกินให้มากขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นในอนาคต

วิธีการป้องกันตัวเองจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร ด้วยการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และให้พลังงานที่เหมาะสมในแต่ละวัน นอกจากนี้เน้นการกินผักและผลไม้เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและเกลือแร่อย่างครบถ้วน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือหากิจกรรมที่ได้ขยับร่างกาย เพราะการออกแรงหรือออกกำลังกายจะทำให้หายใจแรงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้นถึงปานกลาง ออกแรงกายต่อเนื่องเป็นเวลา 10 นาทีขึ้นไปในแต่ละครั้ง ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ และมีส่วนช่วยในการเผาผลาญไขมัน
  • งดสูบบุหรี่ เพราะการหยุดสูบบุหรี่เพียง 20 นาที ทำให้ความดันโลหิตลดลงสู่ระดับปกติ และหากหยุดสูบติดต่อกันนานมากกว่า 15 ปี ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจจะลดลงเหลือเท่ากับคนที่ไม่สูบบุหรี่
  • ผ่อนคลายความเครียด โดยเลือกวิธีที่ตัวเองชื่นชอบ เช่น การออกกำลังกาย ฝึกโยคะ การนั่งสมาธิ ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือการพบปะคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆ
  • ลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด ของมัน ปิ้งย่าง ชาบู ของหวานและเบเกอร์รี่ต่างๆ จะช่วยไม่ให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น

ตัวช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันจากภาวะไขมันในเลือดสูง

     Krill Oil (คริลล์ออย) หรือ 'สารสกัดจากกุ้งขนาดเล็ก' สารอาหารธรรมชาติจากทะเลน้ำลึกที่อุดมไปด้วย Omega-3 ,Omega - 6,Omega - 9 และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างแอสต้าแซนทิน ซึ่งคริลล์ออยมีประโยชน์มากมายในการดูแลสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด เป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการลดภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ดี เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง ทั้งไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

โอเมก้า-3 (Omega-3)

  • มีกรดไขมันที่สำคัญ 2 ชนิด ได้แก่ กรดไขมัน EPA (Eicosapentaenoic Acid) และกรดไขมัน DHA (Docosahexaenoic Acid)
  • มีส่วนช่วยลดภาวะไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะไขมันไตรกลีเซอไรด์
  • มีส่วนช่วยป้องกันหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน
  • ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

โอเมก้า-6 (Omega-6)

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ประกอบไปด้วย กรดลิโนเลอิก (Linoleic Acid) และกรดอะราคิโดนิก (Arachidonic Acid)
  • มีส่วนช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL- Cholesterol)
  • มีส่วนช่วยเพิ่มไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol)
  • ลดการอุดตันไขมันที่หลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

โอเมก้า-9 (Omega-9)

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวประกอบไปด้วยกรดโอเลอิก (Oleic Acid) และกรดอีรูซิก (Erucic Acid)
  • มีส่วนช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL- Cholesterol) และไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
  • มีส่วนช่วยเพิ่มไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol)
  • ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้อย่างให้ปกติ
  • ป้องกันโรคหัวใจและกลุ่มโรคหลอดเลือดตีบตัน

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)

  • มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ป้องกันความเสื่อมของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ
  • ช่วยให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  • ช่วยปรับสมดุลของไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL- Cholesterol)
  • ปรับสมดุลความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจ

     สำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน สามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมระดับไขมันในเลือดให้สมดุล ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเลือกเสริมด้วยสารอาหารจากธรรมชาติที่มีผลการวิจัยทางการแพทย์ว่ามีส่วนช่วยในการลดไขมันในเลือดได้อย่างมีคุณภาพ ก็สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้...ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

https://www.hfocus.org/content/2022/09/26061


More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้