3 โรคระบบทางเดินอาหารยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวต้องเจอ

3 โรคระบบทางเดินอาหารยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวต้องเจอ

ทุกครั้งที่ออกเดินทางไปท่องเที่ยว หรือไปยังสถานที่ซึ่งไม่คุ้นชิน คุณมักต้องเจอกับสภาพแวดล้อมและอาหารการกินที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้หลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ที่สร้างความทรมาน และถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การท่องเที่ยวของคุณหยุดชะงักและไม่สนุกได้

     ครั้งนี้ MEGA We care จึงขออาสาพาทุกคนมาเรียนรู้ถึงปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารที่สามารถเจอ และอาจประสบได้ในระหว่างการท่องเที่ยว พร้อมวิธีป้องกันและเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารที่นักท่องเที่ยวอาจต้องเจอ

1.ท้องเสียระหว่างเดินทาง (Traveler’s Diarrhea)

     ‘โรคท้องเสียระหว่างเดินทาง’ (Traveler’s Diarrhea) เป็นปัญหาสุขภาพลำดับต้น ๆ ที่นักท่องเที่ยวมักจะเจอ โดยส่วนใหญ่เกิดจาก “การติดเชื้อในลำไส้” ซึ่งมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด รวมถึงการล้างมือไม่สะอาดหลังเข้าห้องน้ำ เมื่อหยิบจับอาหารหรือดื่มน้ำอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยกว่าร้อยละ 90 เป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต ซึ่งอาการท้องเสียจากการติดเชื้อเหล่านี้มักเป็นอาการท้องเสียแบบเฉียบพลัน

ท้องเสียระหว่างเดินทาง (Traveler’s Diarrhea) ป้องกันอย่างไร ?

  เลือกรับประทานอาหารจานร้อน หรืออาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ

  ดื่มน้ำจากขวดที่ปิดสนิท ไม่ดื่มน้ำดื่มจากก๊อกสาธารณะ หรือจากขวดที่ไม่แน่ใจเรื่องความสะอาด

  ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหาร และหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เลี่ยงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ และอาหารที่ไม่คุ้นเคย

2.ท้องผูก (constipation)

     เคยสงสัยไหม? จากปกติที่ขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน แต่เมื่อต้องออกเดินทางท่องเที่ยวทีไรมักเจอปัญหาท้องผูก ถ่ายไม่ออกอยู่เป็นประจำ นั่นก็เพราะทุกครั้งที่เราออกเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะต่างประเทศที่ต้องเจอการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเวลา ซึ่งในช่วงแรกร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเขตเวลาใหม่ได้  ทำให้ระบบการขับถ่ายเกิดปัญหาตามมา รวมถึงอาหารการกินต่าง ๆ ที่แปลกไป เน้นการรับประทานเนื้อสัตว์มากกว่าการกินผักและผลไม้  ทำให้ร่างกายได้รับกากใยอาหารที่ไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมา

ท้องผูก (constipation) ป้องกันอย่างไร ?

  ลดปริมาณการกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ (ประเภทเนื้อแดง) ให้น้อยลง เพราะอาหารประเภทนี้จะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารต้องทำงานหนัก

  ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์สูงอย่างน้อย 18-30 กรัมต่อวัน โดยเฉพาะผักและผลไม้สด ธัญพืช เพื่อให้อุจจาระมีความอ่อนตัวและง่ายต่อการขับถ่าย

  ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตร เพื่อทำให้อุจจาระนิ่ม และขับถ่ายง่ายขึ้น

  ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน  และไม่ควรอั้นอุจาระหรือรีบร้อนในการขับถ่าย

  ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

3.ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง

     สำหรับใครที่เป็นสายกิน เมื่อมีโอกาสได้ไปเที่ยวทั้งทีคงอยากที่จะเก็บให้ครบทุกเมนู กินเร็วจนไม่ลืมหู ลืมตา  จนส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบย่อยอาหารที่เรียกว่าอาการ ‘ท้องอืด ท้องเฟ้อ’ ตามมา โดยอาการดังกล่าวจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว อึดอัด พุงป่อง คล้ายมีลมในกระเพาะอาหาร และบางคนอาจมีอาการจุกเสียดแน่นท้อง และปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งหากเป็นบ่อยๆ ก็อาจนำไปสู่อาการท้องอืดเรื้อรัง

ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ป้องกันอย่างไร ? 

  กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ และควรกินอาหารมื้อเย็นก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

  ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด อย่ารีบเร่ง อย่ากินจนอิ่มมากเกินไป เพราะจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนัก

  ลดปริมาณการกินอาหารที่ย่อยยาก เช่น ของมันของทอด เนื้อสัตว์ นม เป็นต้น

  เลี่ยงการกินอาหารรสจัด เพราะอาจจะทำให้เยื่อบุอาหารอักเสบได้

 ไม่พูดคุยขณะกำลังกินอาหาร

  หลังกินอาหารอิ่ม อย่าล้มตัวลงนอน หรืออยู่ในท่าก้มงอตัว และอย่ารัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป

  เลี่ยงพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการท้องอืด เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เป็นต้น

     แม้จะทราบถึงสาเหตุและวิธีป้องกันแล้ว แต่ในการเดินทางอาจเกิดเรื่องไม่คาดคิดได้ตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากการระมัดระวังอาการด้วยตัวเองแล้ว ควรมีตัวช่วยที่ป้องกันและบรรเทาปัญหาระบบทางเดินอาหารพกติดกระเป๋าเอาไว้ด้วย  ซึ่งในปัจจุบันมีทางเลือกในการป้องกันและรักษาที่ปลอดภัย และกำลังได้รับความนิยม คือ การใช้สารอาหารและสมุนไพรจากธรรมชาติที่ดีต่อระบบทางเดินอาหาร และที่สำคัญมีความปลอดภัยกว่าการใช้ยาอีกด้วย

 3 ตัวช่วยแก้ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารของนักเดินทาง

โปรไบโอติกส์ (Probiotic)

     โปรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่เมื่อรับประทานเข้าไป จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย และควรได้รับในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม จะช่วยให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่น ๆ ของร่างกายเกิดความสมดุล เนื่องจากจุลินทรีย์ดังกล่าวจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ช่วยย่อยอาหาร ช่วยในการดูดซึมสารอาหาร การขับถ่าย การป้องกันโรค และการรักษาความผิดปกติในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร

     ซึ่งมีผลการวิจัยพบว่าโปรไบโอติกส์สายพันธุ์เฉพาะอย่าง แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส LA - 5  และ บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส BB -12 ที่สามารถยึดเกาะและเจริญเติบโตแบ่งตัวได้ดีในผนังลำไส้ จึงช่วยปรับสมดุลทางเดินอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ท้องผูกเรื้อรัง ท้องอืด มีลมในท้อง หรือเป็นลำไส้แปรปรวน (IBS)

     และในปัจจุบันยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่กล่าวถึง โปรไบโอติกส์ ชนิดแซคคาโรไมซีส โบลาร์ดี  (Saccharomyces boulardii) หรือที่รู้จักกันในนาม โปรไบโอติกส์ ยีสต์ (Probiotic Yeast) ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการรักษาอาการท้องเสียเฉียบพลัน และสามารถป้องกันอาการท้องเสียระหว่างเดินทางได้ (Traveler’s diarrhea prevention) ซึ่งโปรไบโอติกส์ยีสต์จะทำหน้าที่ต่อต้านจุลินทรีย์ร้ายที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย  ช่วยให้ลำไส้ต่อสู้กับเชื้อโรคหรือลดการอักเสบและความเสียหายของลำไส้

พรีไบโอติกส์ (Prebiotics)

     พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คือ สารอาหารชนิดหนึ่ง เป็นใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยในกระเพาะอาหาร แต่จะมีคุณสมบัติเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ อาทิเช่น แลคโตบาซิลลัส บิฟิโดแบคทีเรีย ที่ทนต่อน้ำย่อย กรด ด่าง ในกระเพาะและลำไส้ได้ จึงมีประโยชน์สำหรับกระบวนการย่อยอาหาร ช่วยปรับสมดุลความเป็นกรดในทางเดินอาหารให้ลดลง ซึ่งจะส่งผลดีในการสร้างสารต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สารภูมิต้านทาน เป็นต้น และการได้รับพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) หรือกากใยอาหาร ในปริมาณที่เพียงพอจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้เป็นปกติ  ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ทำให้อุจจาระมีกากใยและนิ่ม ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids)

     โดยเราสามารถพบกากใยอาหารพรีไบโอติกส์ได้ในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะในผัก เช่น รากชิคอรี หัวอาร์ทิโชก กระเทียม หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ในผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิล และเมล็ดธัญพืชบางชนิด เป็นต้น ถึงแม้กากใยพรีไบโอติกส์จะเป็นสิ่งที่เราสามารถหาได้จากรอบตัว แต่จากผลการสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่ได้รับกากใยอาหารเฉลี่ยเพียงวันละ 10-15 กรัมเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

     ในปัจจุบันจึงมีทางเลือกเพื่อช่วยทดแทน และเติมเต็มกากใยอาหารพรีไบโอติกส์หรือไฟเบอร์ให้กับร่างกาย ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์สูตรรวมผักผลไม้และวิตามินที่สะดวกต่อการรับประทานและพกพาได้ง่ายมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับใยอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน

 3 สมุนไพรธรรมชาติช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ 

     สำหรับผู้ที่อยากมีความมั่นใจหลังรับประทานอาหารและอยากบรรเทาอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องควบคู่กันไป การเลือกดูแลด้วยสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยเฉพาะ 3 สมุนไพร

1.  เปปเปอร์มิ้นต์ (Peppermint Oil) 
     มีฤทธิ์ช่วยในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เย็นสบายท้อง ช่วยให้ทางเดินหายใจหอมสดชื่น

2.  สเปรียร์มิ้นต์ (Spearmint Oil) 
     ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เย็นสบายท้อง ช่วยขับลม กระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร ช่วยให้ทางเดินหายใจหอมสดชื่น

3.  เมล็ดยี่หร่าหวาน (Fennel Oil) 
     เป็นสมุนไพรที่มีความโดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่น ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้การเคลื่อนตัวของทางเดินอาหารดีขึ้น และเป็นสมุนไพรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสมุนไพรที่ได้รับใบอนุญาตจากประเทศเยอรมนี (Commission E) 

     เห็นแล้วว่าในทุกการเดินทางมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ตลอดเวลา และมักจะมาแบบไม่คาดคิด ดังนั้นก่อนที่จะออกเดินทางควรเตรียมร่างกายให้พร้อม และไม่ลืมที่หยิบเอาตัวช่วยที่ป้องกันและบรรเทาปัญหาสุขภาพติดตัวไปด้วยเสมอ ด้วยความห่วงใยจาก …..MEGA We care

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้