เทรนด์สุขภาพประจำเดือนธันวาคม 2565

เทรนด์สุขภาพประจำเดือนธันวาคม 2565

6 สัญญาณเตือน “หัวใจวายเฉียบพลัน”

   โรคหัวใจวาย คือภาวะของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันอย่างทันทีทันใด ทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไม่ได้ไปเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติซึ่งปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เบาหวาน การสูบบุหรี่ รวมถึงมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวไปสัมพันธ์กับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น กินของทอดของมัน ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ และมีความเครียด เป็นต้น

   จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ว่า ‘โรคหัวใจ’ คือโรคที่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของโรคที่เป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งอัตราเสียชีวิตอยู่ที่ 60,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน

  ถึงแม้โรคหัวใจวายเฉียบพลันจะเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งใจ แต่ร่างกายก็มักจะส่งสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติโดยเฉพาะอาการ

1.  เหนื่อยง่าย หรือหอบเป็นประจำ
2.  นอนราบไม่ได้ ต้องหนุนหมอนเพิ่มหรือนั่งหลับ
3.  สะดุ้งตื่นตอนกลางคืน เพราะอึดอัดหายใจลำบาก
4.  บวมที่ข้อเท้าและหน้าแข้ง
5.  น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า 2 กก. ใน 2 วัน
6.  อ่อนเพลีย ไม่มีแรง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และท้องอืด

   จะเห็นได้ว่าโรคหัวใจวายเฉียบพลันถือเป็นภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ดังนั้นการดูแลสุขภาพเพื่อให้ลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจสามารถทำได้ โดยเริ่มจากปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคเช่น เข้มงวดในการกินอาหาร ลดกินเค็ม หลีกเลี่ยงกินของทอดของมัน อาหารที่มีไขมันสูง และเพิ่มการกินผักผลไม้และให้มากขึ้น หรือเปลี่ยนจากการกินอาหารเนื้อสัตว์ไปเป็นการกินอาหารในแบบ Plant based  พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และที่จะขาดไปไม่ได้เลยก็คือ จะต้องตรวจสุขภาพหัวใจกับแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อเช็กความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

1. หนังสือ “ป้องกันและพลักผันโรคด้วยตัวเอง” โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว
2. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ https://www.bumrungrad.com/th/conditions/heart-attack

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้