เรื่องควรรู้ของไขมันพอกตับ

เรื่องควรรู้ของไขมันพอกตับ

เรื่องควรรู้ของไขมันพอกตับ

  “ตับ” (Liver) เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่กรองของเสียและกำจัดสารพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกาย แต่หลายคนอาจจะยังไม่เห็นว่าตับมีความสำคัญ จึงละเลยการใส่ใจดูแลสุขภาพของตับ ทำให้บางคนเกิดภาวะ“ไขมันพอกตับ”

ไขมันพอกตับเกิดจาก

    “ไขมันพอกตับ” คือ ภาวะที่มีไขมันเข้าไปสะสมในเซลล์ตับต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ตับมีอาการอักเสบ ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ดูแลรักษาจะทำให้กลายเป็น “ตับอักเสบเรื้อรัง” และรุนแรงขึ้นจนเกิดพังผืดสะสมไปเรื่อยๆ เซลล์ตับจะค่อยๆ ถูกทำลาย และไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจนกลายเป็น “ตับแข็ง” และอาจนำไปสู่การเกิดเป็น “มะเร็งตับ” ในที่สุด

สาเหตุของไขมันพอกตับ แบ่งออกได้  2 กลุ่ม ได้แก่

  ไขมันพอกตับจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic fatty liver disease) ในทุกครั้งที่ดื่มแอลกอฮอล์ เซลล์ตับจะถูกทำลายและมีการกระตุ้นให้เกิดไขมันสะสมที่เซลล์ตับหรือไขมันพอกตับ ซึ่งความรุนแรงของไขมันพอกตับนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่ม ประเภทของเครื่องดื่มและระยะเวลาต่อเนื่องของการดื่ม

   ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic fatty liver disease) เป็นสาเหตุของไขมันพอกตับที่เกิดจากภาวะของร่างกาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคเหล่านี้มักเกิดจากการรับประทานอาหารประเภทของทอด ของมัน และ อาหารที่มีรสหวานมากเกินไป รวมถึงการได้รับสารพิษหรือยาบางชนิดเป็นประจำ 

อาการแบบไหนที่สงสัยว่า ‘เป็นไขมันพอกตับ’

 ตัวเหลือง ตาเหลือง
 เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  น้ำหนักลดผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
  ปวดท้องหรือเจ็บใต้ชายโครงด้านขวา
  ภาวะท้องมาน (มีน้ำในช่องท้อง)
  ปัสสาวะมีสีเข้ม

4 ระยะอันตรายของไขมันพอกตับ

  ระยะแรก : ไขมันสะสมตามเซลล์ตับ แต่ยังไม่เกิดการอักเสบหรือพังผืด
  ระยะที่สอง : เริ่มมีการอักเสบ หากไม่ดูแลจะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
  ระยะที่สาม : การอักเสบเริ่มรุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลง
  ระยะที่สี่ : เซลล์ตับถูกทำลายมาก จนไม่สามารถทำงานได้ จนลุกลามเป็นตับแข็งและมะเร็งตับ

จะเห็นได้ว่า “ไขมันพอกตับ” เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราอย่างไม่ระมัดระวัง ดังนั้นทุกคนควรเริ่มดูแลสุขภาพตับไม่ต่างกับการดูแลอวัยวะอื่นๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนี้

  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ กากใยสูง ไขมันต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช
  หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
  ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ
  ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือดให้ปกติ 
  ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจเช็กสุขภาพของตับเพื่อหาค่าตับที่ผิดปกติ

   นอกเหนือจากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว การดูแลสุขภาพตับด้วยการเสริมสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อตับอย่าง สารสกัดรากต้นแดนดีเลี่ยน สารสกัดแอปเปิ้ลเวเนก้า สารสกัดบริเวอร์ยีสต์ แอล-เมทไธไอนีน ซีลีเนียม น้ำมันอีฟนิ่งพรีมโรส อิโนซิทอล โคลีน เลซิติน และวิตามินอี ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ผู้เชี่ยวชาญการันตีแล้วว่ามีคุณประโยชน์ต่อตับและมีส่วนช่วยในการบำรุงฟื้นฟูเซลล์ตับ ขจัดสารพิษออกจากตับ และส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของตับให้ดียิ่งขึ้น

ดูแลสุขภาพ ‘ตับ’ ให้แข็งแรงด้วยสารอาหารที่สำคัญ

สารสกัดจากรากต้นแดนดีเลี่ยน (Dandelion Root Extract) ช่วยเสริมการขจัดสารพิษจากตับและถุงน้ำดี ลดผลข้างเคียงจากยาที่ถูกทำลายที่ตับ เพิ่มการไหลเวียนของน้ำดี เสริมการทำงานของตับให้สามารถหลั่งน้ำดีได้มากขึ้น และยังช่วยให้การย่อยอาหารประเภทไขมันได้ดีขึ้น

สารสกัดจากแอปเปิ้ล (Apple Vinegar) ประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นหลายชนิด จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญสารอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน และยังช่วยปรับสมดุลกรดด่างในลำไส้ได้

แอล-เมทไธไอนีน (L-methionine) ช่วยเร่งการสลายไขมันที่สะสมในร่างกาย ลดไขมันพอกตับ มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีความสำคัญต่อการกำจัดสารพิษที่ตับในทุกขั้นตอน

ซีลีเนียม (Selenium) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในการต้านพิษจากโลหะหนัก มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง และต้านภาวะไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ขจัดสารพิษของตับได้

บริเวอร์ยีสต์ (Brewer’s Yeast Extract) อุดมไปด้วยสารอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มวิตามินบี โครเมียม และซีลีเนียม ที่มีประโยชนต่อกระบวนการเผาผลาญที่ตับ

น้ำมันอีฟนิ่งพรีมโรส (Evening Primrose Oil) เป็นสารต้านอักเสบ และช่วยให้ตับเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการจับกับแอลกอฮอล์ จึงช่วยป้องกันความเสียหายของตับได้

อิโนซิทอล (Inositol) มีฤทธิ์ในการจับกับไขมัน จึงช่วยนำไขมันออกจากตับได้ ทำให้การทำงานของตับ และท่อน้ำดีทำงานดีขึ้นส่งผลดีต่อผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ และโรคตับแข็ง

โคลีน (Choline) ช่วยป้องกันความเสียหายของตับ และช่วยในขบวนการขนส่งไขมันออกจากตับ รวมถึงช่วยลดการดูดซึมไขมันโคเลสเตอรอลที่ลำไส้ จึงช่วยลดความรุนแรงของภาวะไขมันพอกตับได้

เลซิติน (Lecithin) คือ สารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน (Choline) และอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งมีบทบาทต่อการควบคุมกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเซลล์ตับ ซึ่งสารสำคัญในเลซิติน มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติของตับทั้งจากการดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาเกินความจำเป็น การได้รับสารเคมีหรือสารพิษต่างๆ ที่เข้าสู่ตับ และช่วยป้องกันตับถูกทำลาย หรืออาจกล่าวได้ว่า เลซิติน มีบทบาทในการช่วยซ่อมแซมเซลล์ตับ

วิตามินอี (Vitamin E) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์มาเป็นเวลานาน มีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์ต่างๆ ไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ เมื่อมีการเผาผลาญเกิดขึ้นในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยกำจัดไขมันชนิดร้ายออกจากร่างกาย จึงลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะไขมันพอกตับ และลดความเสียหายของตับจากการได้รับสารพิษหรืออนุมูลอิสระเข้าสู่ร่างกาย

ขอบคุณข้อมูล
https://shorturl.asia/uOZcs
https://shorturl.asia/cerlD

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้