หากพูดถึงโรคทางเดินอาหาร “กรดไหลย้อน” ถือเป็นโรคที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี เป็นโรคที่ใครก็เป็นได้ซึ่งปัจจุบันคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบในยุคปัจจุบัน ทำให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น นอนทันทีหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไปในหนึ่งมื้อ รวมไปถึงมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และการดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด ‘โรคกรดไหลย้อน’
โรคกรดไหลย้อน ( gastroesophageal reflux disease) หรือ GERD เป็นหนึ่งในโรคทางเดินอาหาร ที่เกิดจากการไหลย้อนกลับของน้ำย่อย กรด และแก๊สในกระเพาะอาหาร ไปยังหลอดอาหารส่วนบน ทำให้เยื่อบุหลอดอาหาร เกิดการระคายเคือง และมีอาการผิดปกติตามมา ซึ่งโรคกรดไหลย้อนสามารถพบได้ทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดไปจนวัยชรา แต่มีโอกาสพบสูงในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และผู้ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์
โดยทั่วไปกว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนมักมีอาการไม่รุนเเรง และสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นหลัก แต่ในทางกลับกันหากไม่รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปล่อยให้เป็นเรื้อรัง อาจนำไปสู่อาการเเทรกซ้อนต่างๆ เเละมีโอกาสเสี่ยงต่อ “โรคมะเร็งหลอดอาหาร” (Esophageal Cancer) ได้ในอนาคต
1) ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และยาบางชนิด
2) ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
3) พฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารมากเกินไปในหนึ่งมื้อ รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ เป็นต้น
สำหรับอาการหลักของผู้ที่เป็น“โรคกรดไหลย้อน” (gastroesophageal reflux disease ) สามารถสังเกตได้จากอาการเบื้องต้นดังนี้
เรอเปรี้ยว มีน้ำย่อยขม ๆ ไหลย้อนมาที่คอ
แสนร้อนกลางอก (Heartburn)
กลืนลำบาก เหมือนมีอะไรติดคอ คลื่นไส้ อาเจียน
เจ็บหน้าอก จุก หายใจไม่อิ่ม
ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
โรคกรดไหลย้อนมีวิธีการรักษาที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและความรุนแรงของโรค แต่การรักษาที่ดีและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้มากที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังต่อไปนี้
1.ไม่นอนทันทีหลังจากรับประทานอาหาร โดยทั่วไปร่างกายของคนเราจะใช้เวลาในการย่อยอาหาร 2-3 ชั่วโมง และกรดในกระเพาะอาหารทำงานได้ดีเมื่อร่างกายอยู่ในแนวตรง (ท่านั่ง ท่ายืน) หากนอนลงหลังจากรับประทานอาหารทันที อาจทำให้กรดในกระเพาะอาหารเกิดการไหลย้อนกลับ
2.แบ่งรับประทานอาหารเป็นมื้อย่อยๆ การรับประทานอาหารในปริมาณมากภายในครั้งเดียว ทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนัก เกิดกรดในกระเพาะอาหารในปริมาณที่มาก จึงควรแบ่งรับประทานมื้อย่อยๆ 5 - 6 มื้อต่อวัน เพื่อลดภาระในการย่อยของกระเพาะอาหาร
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากอาหารที่มีปริมาณไขมันสูงจะย่อยได้ยาก ทำให้กระเพาะผลิตกรดเพื่อช่วยย่อยในปริมาณมากเกินไป จนเกิดการไหลย้อนกลับไปบริเวณหลอดอาหารนอกจากนี้ไขมันยังเข้าไปทำปฎิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุกแน่น หรือแสบร้อนบริเวณกลางอก
4.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมเเอลกอฮอล์ทุกชนิด จะกระตุ้นหูรูดหลอดอาหารให้เกิดการคลายตัว ส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหาร เกิดการไหลย้อนกลับได้ง่าย
5.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน เพราะการรับประทานเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีน จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น
6.งดสูบบุหรี่ สารนิโคตินจะกระตุ้นให้ร่างกาย หลั่งกรดในกระเพาะอาหารที่มากเกินไป ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเกิดการไหลย้อนกลับไปยังบริเวณหลอดลม
7.ควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินจะมีไขมันบริเวณช่วงหน้าท้องที่หนา ทำให้ความดันภายในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น นำมาซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคกรดไหลย้อน จึงควรลดน้ำหนักให้อยู่ตามค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคกรดไหลย้อน
8.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
9.ไม่สวมใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือเข็มขัดที่รัดแน่นเกินไป เพื่อลดแรงกดที่กระเพาะ เพราะการสวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นอาจเป็นการกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดออกมามาก
และนอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อลดอาการกรดไหลย้อนแล้วการใช้สมุนไพรอย่าง "ขมิ้นชัน" ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาและป้องกันโรคกรดไหลย้อนที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
‘ขมิ้นชัน’ สมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี และเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของอาหารไทยหลายอย่างที่คนไทยรับประทาน ซึ่งนอกจากนี้ขมิ้นชันยังได้รับความนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ เนื่องจากมีสรรพคุณทางด้านยา และให้ประโยชน์ที่หลากหลายต่อสุขภาพอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ที่สำคัญ คือ ขมิ้นชันช่วยรักษาและป้องกันโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) ในขมิ้นชัน มีฤทธิ์โดดเด่นในการช่วยลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการอักเสบและสมานแผลภายในกระเพาะอาหาร และยังช่วยลดอาการจุกเสียด ปวดแสบท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย จากกรดไหลย้อนได้
ซึ่งหากจะเลือกรับประทานขมิ้นชันเพื่อให้ได้คุณประโยชน์ครบถ้วนตามที่ต้องการ ควรเลือกขมิ้นชันในรูปแบบของขมิ้นชันสกัด เพื่อให้ได้สารสำคัญอย่างเคอร์คูมินอยด์ที่เข้มข้น และจะยิ่งดีกว่า หากเคอร์คูมินอยด์อยู่ในรูปแบบของไฟโตโซม เพราะจะช่วยให้สารสำคัญที่ถูกดูดซึมได้ยากกลายเป็นสารที่ถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้น ถึง 9 เท่า เมื่อเทียบกับขมิ้นชันในรูปแบบสกัดทั่วไป และมากถึง 50 เท่า เมื่อเทียบกับขมิ้นชันในรูปแบบผงแห้งทั่วไปภายในท้องตลาด
จะเห็นได้ว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ‘เป็นกุญแจสำคัญ’ ในการบรรเทาอาการความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อนได้ แต่หากได้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบเข้ารับการวินิจฉัย เพื่อรักษาในขั้นตอนต่อไปก่อนที่จะลุกลามจนก่อให้เกิดอันตรายตามมา ด้วยความห่วงใยจาก…MEGA We care