เช็กให้ชัวร์ ระดับความดันปกติ ควรอยู่ที่เท่าไร?

เช็กให้ชัวร์ ระดับความดันปกติ ควรอยู่ที่เท่าไร?

     ความดันโลหิต คือ ค่าความดันภายในหลอดเลือดที่เกิดจากการสูบฉีดและบีบตัวของหัวใจ เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะถูกใช้ในการวัดสุขภาพร่างกายเบื้องต้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ความดันสูง ความดันปกติ และความดันต่ำ

 

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

       ความดันปกติคือ
       ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิตสูง
       ค่าความดันโลหิตของคนแต่ละช่วงวัย
       วิธีทำให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
       โคเอ็นไซม์คิวเทน สารอาหารช่วยดูแลเรื่องความดันโลหิตสูง

 

ความดันปกติคือ

 

     ค่าความดันที่ตรงตามเกณฑ์เฉลี่ย โดยทั่วไปค่าความดันปกติของคนวัยทำงานจะอยู่ที่ 140/90 มม.ปรอท ซึ่งตัวเลขทั้งสองจะถูกเรียกเป็น 2 ค่า ได้แก่

       ค่าสูง หรือค่าตัวบน : ค่าแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจกำลังบีบตัว (Systolic Blood Pressure)

       ค่าต่ำ หรือค่าตัวล่าง : ค่าแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจกำลังคลายตัว (Diastolic Blood Pressure) 

     ซึ่งการจะวัดความดันด้วยตัวเองนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรวัดวันละ 2 ช่วงเวลาคือ ช่วงเช้ากับช่วงเย็น และให้วัดช่วงละ 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละประมาณ 1-2 นาที เนื่องจากค่าความดันสามารถเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นต่างๆ

 

ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิตสูง

 

       อายุ : เมื่ออายุมากขึ้น ค่าความดันโลหิตก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย  

       สภาวะทางอารมณ์ : เช่น เครียด โกรธ เจ็บปวด เสียใจ และตื่นเต้น สามารถส่งผลต่อระดับความดันโลหิตทั้งหมด  

       เพศ : จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกเผยว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงกว่าผู้หญิง 

       พันธุกรรม : ผู้ที่บิดามารดามีภาวะความดันโลหิตสูง มักเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน  

       อื่นๆ : เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ความอ้วน รวมถึงการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด

 

ค่าความดันโลหิตของคนแต่ละช่วงวัย

 

     กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดเกณฑ์ระดับความดันปกติขึ้นตามช่วงอายุ ดังต่อไปนี้

 

 

วิธีทำให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

1. ปรับพฤติกรรมการกิน

     เพื่อให้ค่าความดันโลหิตปกติ ควรเน้นกินผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ผักใบเขียว อะโวคาโด ถั่วต่างๆ และเต้าหู้  นอกจากนี้พยายามลดการกินโซเดียมลง โดยผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงควรได้รับโซเดียมไม่เกิน 1,500 มก./วัน   

2. ควบคุมน้ำหนัก

     เนื่องจากคนที่มีภาวะอ้วน มักเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงได้ง่ายกว่าคนปกติ ดังนั้นในกรณีที่มีภาวะอ้วน หรือค่า BMI มากกว่า 25 ควรเริ่มลดน้ำหนักอย่างจริงจัง  เพื่อให้กลับมามีค่าความดันปกติอีกครั้ง 

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

     การออกกำลังกายสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในผู้เริ่มต้นมีความเสี่ยงได้ โดยจะเป็นการช่วยควบคุมค่าความดันโลหิตให้เป็นปกติ ทั้งนี้สามารถเลือกเล่นได้ทั้งการออกกำลังกายแบบคาดิโอ และเวทเทรนนิ่ง แต่จะต้องเล่นอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3-5 วัน

4. ลดความเครียด

     เนื่องจากฮอร์โมนความเครียดจะส่งผลให้หลอดเลือดหดตัวแคบลง และอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราว เพื่อเป็นการลดความเครียด อาจลองฝึกสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้า-ออกช้าๆ ร่วมไปกับการทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ

5. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

     โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นตัวที่ส่งผลให้ความดันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายนาที นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป ก็เสี่ยงทำให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน

 

โคเอ็นไซม์คิวเทน สารอาหารช่วยดูแลเรื่องความดันโลหิตสูง

 

     มีงานวิจัยทางการแพทย์ออกมาระบุว่า โคเอ็นไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Co Q10 คือสารอาหารที่ช่วยลดระดับความดันโลหิตสูงให้กลับมาเป็นค่าความดันปกติได้แบบไม่มีผลข้างเคียง โดยสามารถหาได้ตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อันได้แก่ หัวใจ สมอง ตับ และไต ซึ่งแม้จะมีในร่างกาย แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น Co Q10 จะค่อยๆ ลดลง ดังนั้นจึงควรเติมสารอาหารดังกล่าวอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้ปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวันคือ 100-200 มิลลิกรัม

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 

โรงพยาบาลบางประกอก3
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ฐานข้อมูล MEGA We care

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้