โดยทั่วไป ร่างกายคนเราจะดึงไขมันจากตับไปใช้ในกระบวนการต่างๆ เช่น ย่อยอาหาร หรือสร้างฮอร์โมนต่างๆ เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) แต่หากร่างกายได้รับไขมันที่มากเกินไป จะส่งผลให้ระบบเผาผลาญไขมันเกิดปัญหา และนำไปสู่การเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
ไขมันในเลือดสูง คือไขมันอะไร?
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
กลุ่มคนที่เสี่ยงเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
ลดระดับไขมันในเลือดสูงได้ ด้วยการปรับ
สารอาหารจากธรรมชาติที่ช่วยแก้ปัญหาไขมันในเลือดสูงได้
แท้จริงแล้ว ไขมันในเลือดมีหลายชนิด ทั้งดีและไม่ดีต่อร่างกาย ซึ่งจะสามารถทราบได้จากการตรวจวัดประจำปี โดยจะแบ่งออกเป็น
Total cholesterol : ค่าคอเลสเตอรอลรวมในร่างกาย โดยรวมทั้งชนิด HDL, LDL และ non-HDL
Low density lipoprotein (LDL) : ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี ที่จะส่งผลให้หลอดเลือดตีบ และเกิดการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ
High density lipoprotein (HDL) : ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี ซึ่งใช้ลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด
Non-HDL : คือผลของ Total cholesterol หักด้วย HDL จึงประกอบด้วย LDL และไขมันชนิดอื่น เช่น very-low-density lipoprotein (VLDL) รวมถึงไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ที่หากสะสมในหลอดเลือดมากเกินไป จะทำให้เกิดหลอดเลือดตีบเช่นกัน
น้ำหนักเกิน
พฤติกรรมการกินที่เน้นฟาสต์ฟู้ด และอาหารไขมันสูง
สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
ไม่ออกกำลังกาย
ความเครียด
ผู้ชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดอุดตัน
ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐาน
ผู้ที่มีปริมาณไขมัน LDL สูงกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ผู้ที่มีภาวะเบาหวาน
ภาวะไขมันในเลือดสูงนั้น เมื่อเป็นแล้วนอกจากการกินยาลดไขมันในเลือด ควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และพฤติกรรมการกิน โดยทำตามคำแนะนำเหล่านี้
การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
1. คนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (ค่า BMI มากกว่า 25) จำเป็นต้องควบคุมน้ำหนัก เพื่อเป็นการช่วยลดทั้งไขมันทั้งคอเลสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดให้น้อยลง
2. ออกกำลังสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างไขมันชนิดดี (HDL-Cholesterol) และลดระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL-Cholesterol) ในเลือดให้ลดน้อยลง โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก เป็นเวลา 30-60 นาทีต่อเป็น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
3. ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายสะสมพลังงานที่ไม่จำเป็นมากเกินไป จนทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายมีปัญหา เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่จัด เพราะจะทำให้ระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL-Cholesterol) เพิ่มขึ้นและไขมันชนิดดี (HDL-Cholesterol) ลดลง และส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน
4. ลดความเครียด โดยพยายามไม่อยู่นิ่ง หากิจกรรมทำเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากเมื่อมีความเครียดสะสม ร่างกายจะผลิตอนุมูลอิสระออกมามากขึ้น ทำให้ตับต้องรับภาระหนักในการขับของเสียออกจนส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น
5. ตรวจเช็กระดับไขมันในเลือดเป็นระยะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินสถานการณ์ และติดตามผลการควบคุมระดับไขมันในเลือด
การปรับพฤติกรรมการกิน
1. เน้นกินอาหารผ่านกรรมวิธีต้ม อบ หรือนึ่ง หลีกเลี่ยงของทอด ของผัดน้ำมัน และอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมัน และเครื่องในสัตว์ทุกชนิด เนื่องจากมีคอเลสเตอรอลสูงมาก นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงน้ำตาลจากของหวาน และเครื่องดื่มก็มีส่วนช่วยลดปริมาณไขมันชนิดไม่ดี (LDL-Cholesterol) ได้
2. เน้นกินอาหารที่ให้โปรตีนแต่มีไขมันต่ำ เช่น ไข่ขาว เนื้อปลา เนื้อไก่ (เน้นส่วนอกไก่) ถั่ว และธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง ที่อุดมไปด้วยน้ำมันรำข้าว ซึ่งเป็นไขมันชนิดดี (HDL-Cholesterol)
3. อาหารบางอย่างกินได้ แต่ควรกินให้น้อยลง เช่น ไข่แดง ไส้กรอก เนื้อไม่ติดมัน รวมถึงอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู ปลาหมึก
4. ในแต่ละมื้ออาหารควรกินทั้งผัก และผลไม้ เนื่องจากจะช่วยเพิ่มกากใยให้ลำไส้ เพื่อใช้ในการดูดซับไขมันจากอาหาร และขับออกทางอุจจาระ
สารสกัดจากไขเปลือกอ้อย (Policosanol)
มีส่วนช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลรวม (Total cholestero) ลดไขมันไม่ดี (LDL-Cholesterol) และเพิ่มไขมันดี (HDL-Cholesterol)
สารสกัดจากกุ้งขนาดเล็ก (Krill Oil)
ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซอไรด์ ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด รวมถึงลดปัญหาไขมันอุดตันหลอดเลือดหัวใจและสมอง
น้ำมันกระเทียม (Garlic oil)
มีส่วนช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซอไรด์ พร้อมช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดความดันโลหิตสูง และป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลสมิติเวช
ฐานข้อมูล MEGA We care