ถ้าร่างกายขาดวิตามินดี คุณกำลังจะมีปัญหาสุขภาพ

ถ้าร่างกายขาดวิตามินดี คุณกำลังจะมีปัญหาสุขภาพ

   คนไทย 45.2% มีระดับวิตามินดีไม่เพียงพอ 
          'วิตามินดี' เป็นวิตามินที่ถูกสร้างขึ้นได้เองในร่างกาย ผ่านการกระตุ้นจากรังสี UVB ในแสงแดด โดยคนไทยส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า ตนเองได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ จึงไม่น่ามีปัญหาการขาดวิตามินดีในร่างกาย แต่ความเป็นจริงคือ คนไทยมักมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดด เพื่อลดปัญหาการเกิดผิวหนังอักเสบ รอยแดง รอยดำ จุดหมองคล้ำ และการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ยิ่งไปกว่านั้นคนไทยมีสีผิวเข้ม มีเม็ดสีเมลานินในชั้นผิวหนังมาก ข้อดีคือ เม็ดสีเมลานินจะปกป้องผิวหนังจากการทำลายของแสงแดด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง แต่ข้อเสียคือ เม็ดสีเมลานินเหล่านี้จะลดการกระตุ้นการสร้างวิตามินดีในร่างกาย เนื่องจากลดการส่องผ่านของรังสี UVB เข้าสู่ชั้นผิว ปัญหาการขาดวิตามินดีจึงเป็นปัญหาที่สามารถพบได้ในคนไทยเช่นเดียวกัน จากการศึกษาปัญหาการขาดวิตามินดีในคนไทย โดยโรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า 'คนไทยมากถึง 45.2% มีระดับวิตามินดีไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา'

   สาเหตุให้คนไทยขาดวิตามินดี
        1.  พฤติกรรมหลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดด การกางร่ม การใส่เสื้อคลุมเพื่อบดบังการได้รับแสงแดดโดยตรง ทำให้ร่างกายได้รับรังสี UVB ในปริมาณความเข้มที่ไม่เพียงพอต่อการสร้างวิตามินดี เป็นเหตุให้ร่างกายขาดวิตามินดีได้
 
        2.  การทาครีมกันแดด ครีมกันแดดสามารถป้องกันรังสี UVB ได้ 100% ปกป้องการทำลายชั้นผิวหนัง แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ชั้นผิวหนังไม่ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการสร้างวิตามินดีด้วย
 
        3.  อายุที่เพิ่มขึ้น ความสามารถในการสร้างวิตามินดีของชั้นผิวหนังจะลดลงสวนทางกับอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินดี
 
        4.  การใช้ชีวิตในออฟฟิศ หรือรถยนต์ตลอดทั้งวัน รังสี UVB ไม่สามารถส่องผ่านชั้นกระจก หรือฟิล์มติดรถยนต์ได้ ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในออฟฟิศ หรือรถยนต์ตลอดทั้งวัน จึงเสี่ยงที่จะขาดวิตามินดี เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับการกระตุ้นการสร้างวิตามินดีจากรังสี UVB ได้
 
        5.  สีผิวเข้ม คนผิวเข้มมีแนวโน้มที่จะสร้างวิตามินดีได้น้อยกว่าคนผิวขาว เนื่องจากเม็ดสีผิวเมลานินจะป้องกันการส่องผ่านของรังสี UVB คนที่มีสีผิวเข้มจึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาการได้รับแสงแดดที่นานกว่าคนผิวขาว เพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เพียงพอต่อความต้องการ






    วิตามินดี มีดีมากกว่าเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม 
         ในทางการแพทย์เป็นที่ยอมรับว่า วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ ผู้ที่ขาดวิตามินดีจะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้ แต่ปัจจุบันมีการพบบทบาทอื่นๆ ของวิตามินดี โดยวิตามินดีจะออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมน จึงทำให้วิตามินดีมีบทบาทที่หลากหลายต่อร่างกาย ไม่เฉพาะแต่การเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม จึงเรียกได้ว่า วิตามินดีเป็นสารอาหารทีมีชื่อเป็นวิตามิน แต่มีความสำคัญคล้ายฮอร์โมน บทบาทอื่นๆ ของวิตามินดี ได้แก่   

1.  ป้องกันการลื่นล้ม
     วิตามินดีจำเป็นต่อการยืด และหดของมัดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา ทำให้มัดกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ตอบสนองต่อการก้าวเดิน และการทรงตัวได้ดี จากการศึกษาในคนไข้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มคนไข้ที่มีอัตราการลื่นล้มสูง พบว่า การรับประทานวิตามินดีปริมาณสูง สามารถลดโอกาสการลื่นล้มอันเนื่องจากกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงได้ 22%  ซึ่งจะป้องกันปัญหาการแตกหักของกระดูกภายหลังการลื่นล้มได้ โดยลดการแตกหักของกระดูกสะโพกได้ 30% และกระดูกบริเวณอื่นๆ ได้ 14%





อ้างอิงจาก A pooled analysis of vitamin D dose requirement for fracture prevention, N ENGL J MEDD 367;1. July 5,201 


2.  ป้องกันโรคกระดูกพรุน
     โรคกระดูกพรุน คือโรคที่กระดูกมีความเปราะบาง ทนต่อแรงกระแทกได้น้อย และเกิดการแตกหักได้ง่าย ซึ่งจะทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง หรือเสียชีวิตได้ จากการศึกษาในกลุ่มคนไข้ที่กระดูกสะโพกแตกหักพบว่า 20% ของคนไข้เสียชีวิตใน 1 ปีแรก เนื่องจากเกิดโรคแทรกซ้อนในช่วงเวลาที่ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และอีก 50% ของคนไข้ไม่สามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้ดีดังเดิม4 คนไข้จึงมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ต้องการการดูแลจากญาติ และผู้ดูแลมากขึ้น การป้องกันโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้โดยการรับประทานวิตามินดีปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ รักษาสมดุลแคลเซียมในร่างกาย และลดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก จึงสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ 

3.  ป้องกันโรคกระดูกอ่อน
     โรคกระดูกอ่อนเป็นโรคทางกระดูกที่มีความคล้ายคลึงกับโรคกระดูกพรุน คือ กระดูกมีความเปราะบางเหมือนกัน แต่มีสาเหตุในการเกิดโรคที่แตกต่างกัน เรามักพบเจอปัญหาโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ แต่สำหรับโรคกระดูกอ่อนมักพบเจอในผู้ที่ขาดวิตามินดี และแคลเซียม โดยสามารถเกิดได้ในเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงาน คนไข้จะมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแขน และขาทั้งสองข้าง ผู้ที่มีอาการของโรคกระดูกอ่อนจำเป็นต้องได้รับวิตามินดีเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และกล้ามเนื้อ    

4.  ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิต้านทาน
     วิตามินดีมีบทบาทต่อการทำงานของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ทำให้เม็ดเลือดขาวตอบสนองต่อเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมได้ดี  

5.  ควบคุมการเจริญของเซลล์ในร่างกาย
     วิตามินดีมีบทบาทต่อการควบคุมการเจริญของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่ลำไส้ เต้านม และต่อมลูกหมาก ทำให้การเจริญของเซลล์ต่างๆ ดำเนินไปอย่างปกติ 

6.  ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย
     วิตามินดีมีบทบาทในกระบวนการสร้างอินซูลินที่ตับอ่อน ทำให้ร่างกายสามารถสร้างอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายได้ 

7.  ควบคุมความดันโลหิตในร่างกาย
     วิตามินดีจะลดการสร้างสารเรนิน (Renin) ที่ไต เพื่อช่วยในการควบคุมความดันโลหิตของร่างกาย  



  จากบทบาทของวิตามินดีที่มีมากกว่าเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมทำให้วิตามินดีเป็นวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างยิ่ง ผู้ที่ขาดวิตามินดีมักพบปัญหาการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคกระดูกอ่อน โรคกระดูกพรุน กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคมะเร็ง  

    ใครควรได้รับวิตามินดีเสริม
1.  ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
     ทั้งชายและหญิง มีความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน และเสี่ยงต่อการลื่นล้มได้ง่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อแขนขาไม่แข็งแรงจากภาวะการขาดวิตามินดี 

2.  ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
     ฮอร์โมนเพศหญิงที่ลดลง ทำให้กระบวนการสลายแคลเซียมเกิดมากขึ้น ส่งผลให้ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

3.  ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินดี
     เนื่องจากร่างกายได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ เช่น กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ผู้ป่วยพักฟื้น  

4.  ผู้ที่ต้องการบำรุงกระดูก
     ป้องกันโรคกระดูกพรุน ควรรับประทานวิตามินดีปริมาณสูงร่วมกับการรับประทานแคลเซียมเสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคกระดูกพรุน

    การเลือกรับประทานวิตามินดี 
         การเลือกทานวิตามินดี ควรเลือกรูปแบบ วิตามินดี 3 หรือ Cholescalciferol ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่สร้างขึ้นในร่างกาย โดยร่างกายจะเปลี่ยนวิตามินดี 3 ให้อยู่ในรูปออกฤทธิ์ หรือ Active form ในเวลาที่ร่างกายมีความต้องการเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ วิตามินดี 3 เป็นรูปแบบวิตามินดีที่สะสมในร่างกายตามธรรมชาติ จึงให้ความปลอดภัยในการรับประทาน การรับประทานวิตามินดีเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน และปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการขาดวิตามินดี จำเป็นต้องรับประทานในปริมาณสูง 1,000 IU ต่อวัน จึงสามารถเพิ่มระดับวิตามินดีในกระแสเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้7

    ขนาดที่แนะนำให้รับประทาน : 
         รับประทานวิตามินดี 3 ขนาด 1,000 IU ครั้งละ 1

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy