เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นก้าวเข้าสู่วัยทอง ถือเป็นรอยต่อของช่วงชีวิตระหว่างวัยผู้ใหญ่กับวัยสูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมถอยเกิดขึ้นกับร่างกายมากมาย ทั้งทางกายภาพและระบบการทำงานของอวัยวะทุกระบบในร่างกาย ที่เห็นได้ชัดก็คือ การทำงานของรังไข่ที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิงน้อยลง จนนำไปสู่การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงปกติของผู้หญิงทุกคน
ผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือน จะมีอายุเฉลี่ยโดยประมาณ 50 ปี (45-55 ปี) ซึ่งปัจจุบันผู้หญิงไทยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปี เท่ากับว่าหลังหมดประจำเดือนจะมีชีวิตอีกประมาณ 25 ปี หรือเทียบเท่า 1 ใน 3 ของชีวิต จึงมีแนวโน้มที่จะต้องใช้ชีวิตในวัยหมดประจำเดือนที่ยาวนานขึ้น
ผู้หญิงทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น จึงมีจำเป็นต้องเริ่มให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือหลังวัยหมดประจำเดือนแล้วมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาของการขาดฮอร์โมนเพศ
สนใจหัวข้ออะไร... คลิกเลย
วัยทอง (Menopause) แบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลา
การรักษาอาการของการหมดประจำเดือน
แบล็กโคฮอส (Black cohosh) สมุนไพรบรรเทาอาการวัยทอง
การออกฤทธิ์ของแบล็กโคฮอส (Black Cohosh)
ใครที่เหมาะสมในการรับประทาน แบล็กโคฮอส (Black Cohosh)
ขนาดในการรับประทานแบล็กโคฮอส (Black Cohosh) ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
คำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
เมื่อผู้หญิงมีอายุก้าวเข้าสู่เลข 4 หรือที่เรียกกันว่า ‘วัยทอง’ ผู้หญิงจะต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ แน่นอนว่าความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้นับเป็นเรื่องที่น่ากังวลอยู่ไม่น้อย การเตรียมตัวให้พร้อมรับมือจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจและให้ความสำคัญ
วัยทอง (Menopause) คือผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัย 45-55 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของฮอร์โมน โดยเฉพาะในเพศหญิงเพราะเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุดังกล่าวรังไข่จะหยุดทำงานและไม่มีการตกไข่ นั่นหมายความว่าจะไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่า เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนอีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือนและเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและสภาวะทางอารมณ์ รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา (เช็คลิสอาการวัยทองได้ที่นี่ https://www.megawecare.co.th/content/4890/how-to-take-care-of-yourself-for-menopause)
1. วัยใกล้หมดประจำเดือน (Perimenopause)
วัยนี้เป็นเวลาที่รังไข่เริ่มทำงานในการผลิตฮอร์โมนเพศไม่ปกติจนหยุดทำหน้าที่ในที่สุด โดยทั่วไปมีระยะเวลา 4-5 ปี ก่อนการหมดประจำเดือน ไปจนถึงหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 1 ปี เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงจนอาจส่งผลให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ได้แก่
1.1 ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ความถี่อาจห่างขึ้น หรือระยะเวลาที่มาแต่ละรอบอาจน้อยลง
1.2 อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากตอนกลางคืน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ทำให้นอนไม่หลับปวดเมื่อยตามตัว ตามข้อ มือเท้าชา
1.3 อาการของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ช่องคลอดแห้ง น้ำหล่อลื่นลดลง ความรู้สึกทางเพศลดลง
1.4 อาการของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ ผนังทางเดินปัสสาวะบางลง จึงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
1.5 อาการทางจิตใจ ได้แก่ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า หดหู่ ไม่อยากทำกิจกรรมอะไร เครียด วิตกกังวล ควบคุมตนเองได้ยาก ลืมง่าย
2. วัยหมดประจำเดือน (Menopause)
วัยนี้เป็นช่วงเวลาที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายในชีวิต เนื่องจากการที่รังไข่หยุดทำงานอย่างถาวร เป็นจุดหนึ่งในชีวิตที่แบ่งระหว่างช่วงชีวิตวัยเจริญพันธุ์และช่วงชีวิตหลังวัยหมดประจำเดือน และการหมดประจำเดือน หมายถึง การที่ผู้หญิงไม่มีประจำเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป จากการที่รังไข่หมดความสามารถในการเจริญพันธุ์และหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศ ซึ่งบางคนยังคงมีอาการเช่นเดียวกับอาการที่เกิดขึ้นช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือนต่อไปอีก 4-5 ปี
3. วัยหลังหมดประจำเดือน (Postmenopause)
วัยนี้เป็นระยะเวลาภายหลังหมดประจำเดือน โดยนับจากปีที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นทางร่างกายและจิตใจอาจน้อยลง แต่จะมีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลังจากการขาดฮอร์โมนเพศ ได้แก่ ปัญหากระดูกพรุนหรือกระดูกหักง่าย การเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง การเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ควรเฝ้าระวังและรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป
1. การใช้ฮอร์โมนทดแทน
โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน มีประโยชน์ในแง่ขอการบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก อาการนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท เมื่อได้รับฮอร์โมนในขนาดที่เหมาะสมก็จะช่วยให้อาการดังกล่าว ลดลงหรือหมดไปได้ แต่ก็มีผลเสียที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดตันหลอดเลือดดำ จึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
2. การใช้ยาตามอาการ
ได้แก่ ยาต้านอาการซึมเศร้าบางชนิด เช่น Fluoxetine, Paroxetine ที่ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น การใช้ยานอนหลับ เพื่อแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้ติดยาได้
3. การใช้สารอาหาร
เช่น สารสกัดจากถั่วเหลือง , วิตามิน อี , น้ำมันดอกอีฟนิ่งพริมโรส ที่มีการศึกษาว่าสามารถช่วยลดอาการร้อนวูบวาบได้ แต่อาจไม่ได้ผลดีนักกรณีที่มีอาการมาก
4. การใช้ยาสมุนไพร
จากการศึกษาพบว่า ยาสมุนไพรที่เป็นที่นิยมทั้งในยุโรปและอเมริกาที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการของการหมดประจำเดือนอย่างได้ผลดี ทั้งอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกกลางคืน อารมณ์แปรปรวน ทำให้รู้สึกสบายเนื้อสบายตัว สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ยาสมุนไพรดังกล่าวก็คือ แบล็กโคฮอส (Black cohosh)
แบล็กโคฮอส (Black Cohosh) เป็นพืชประจำถิ่นของทวีปอเมริกาเหนือที่รู้จักกันมากว่า 100 ปีแล้ว โดยนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น โรคมาลาเรีย โรคข้อ อาการเจ็บคอ อาการปวดระหว่างมีประจำเดือน อาการปวดขณะคลอด ฯลฯ และยังได้รับการระบุในตำรับยาของอเมริกาและเยอรมันสำหรับจุดประสงค์ดังกล่าว ต่อมาได้มีการใช้แพร่หลายในยุโรป เพื่อใช้บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual discomfort) อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) รักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับการหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า วิงเวียนศีรษะ นอนไม่หลับ ฯลฯ
นักวิจัยได้เสนอการออกฤทธิ์ของแบลกโคฮอสหลายอย่าง ได้แก่ การออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน การเพิ่มสารเซโรโทนินในสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์และอุณหภูมิในร่างกาย แล้วทำให้อาการดีขึ้น
1. ผู้ที่มีอาการเกี่ยวข้องกับการหมดประจำเดือน ได้แก่ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกกลางคืน อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ
2. ผู้ที่มีข้อห้ามการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน
3. ผู้ที่ต้องการทางเลือกเพื่อรักษาอาการของการหมดประจำเดือน นอกเหนือจากการใช้ฮอร์โมนทดแทน
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า หากผู้หญิงในวัยทองต้องการรับประทาน แบล็กโคฮอส (Black Cohosh) 40 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง ต่อเนื่องอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ เพื่อบรรเทาอาการจากภาวะหมดประจำเดือน
สตรีวัยหมดประจำเดือน ควรจำเป็นจะต้องใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ยิ่งโดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้สุขภาพมีการเสื่อมถอยที่เร็วเกินไป สำหรับผู้ที่มีอาการควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เลือกใส่เสื้อผ้าที่ทำให้รู้สึกสบายตัว ปรับอุณหภูมิในห้องทำงานและห้องนอนให้เหมาะสม เพื่อช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก รับประทานอาหารที่มีการศึกษาว่าช่วยบรรเทาอาการของการหมดประจำเดือน เช่น ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจมูกถั่วเหลืองให้มากขึ้นเพื่อเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจนจากธรรมชาติ ควรเสริมแคลเซียม เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะกระดูกพรุน ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที เพื่อช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น และคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ด้วยความห่วงใยจาก Mega Wecare