การเจริญเติบโตของร่างกายเป็นขบวนการซับซ้อน และอาศัยการทำงานของฮอร์โมนหลายชนิด แต่มีฮอร์โมนอยู่ 1 ชนิดที่สำคัญมากที่ร่างกายต้องนำสารอาหารกลุ่มโปรตีนในรูปกรดอะมิโนซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดมาใช้ในการสร้าง และยังเป็นจุดเริ่มต้นของหลายกระบวนการที่สำคัญคือ โกรทฮอร์โมน
โกรทฮอร์โมน หรือ ฮอร์โมนจีเอช (Growth Hormone : GH) เป็นฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ถูกสร้างขึ้นจากหน่วยย่อยของโปรตีนหรือกรดอะมิโนหลายชนิดทำหน้าที่ดังนี้
ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
ควบคุมการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
ดูแลเรื่องการสร้างเซลล์ใหม่ให้กับอวัยวะต่างๆ เมื่อสึกหรอและต้องการซ่อมแซมให้ฟื้นฟูกลับมาทำงานได้เหมือนปกติ
ดูแลการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน ทำให้กระดูกเจริญเติบโตได้ตามปกติ
ควบคุมการทำงานของระบบสมอง และเสริมสร้างพัฒนาการของเซลล์สมอง
ควบคุมการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเด็กนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ ทำให้มีภาวะเตี้ยและเติบโตช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน โกรทฮอร์โมนจะการกระตุ้นให้ตับหลั่ง IGF- I (Insulin-like Growth factor-I) ซึ่ง IGF-I นี้จะกระตุ้น เซลล์ของกระดูกอ่อน (cartilage cell or chondrocyte) ทำให้มีการแบ่งตัว ของเซลล์กระดูกอ่อน นอกจากนี้ยังกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อที่ปลายกระดูกอ่อน (epiphyseal plate)โดยกระตุ้นการขนถ่ายกรดอะมิโนในการสร้างโปรตีนที่กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ ทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ (hyperplasia) และขยายขนาด (hypertrophy) เพิ่มขึ้นทำให้เด็กๆ มีโอกาสจะสูงได้เพิ่มขึ้น
เด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) จะมีหน้าตาที่ดูอ่อนกว่าอายุจริง รูปร่างเตี้ยเล็กแต่สมส่วน อ้วนกลมเนื่องจากมีไขมันสะสมบริเวณลำตัวมาก ถ้าเป็นเด็กชายมักมีอวัยวะเพศเล็กไม่สมวัย อย่างไรก็ตามภาวะขาดโกรทฮอร์โมนไม่มีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาของเด็ก
'โกรทฮอร์โมน' จะช่วยให้คนทุกวัยหลับสนิทและร่างกายสามารถซ่อมแซมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเราหลับสนิท ผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิทซึ่งส่งผลให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนได้น้อยลง สังเกตได้ว่ามักมีปัญหาตื่นตอนกลางดึกแล้วไม่สามารถหลับต่อได้ ซึ่งเมื่อมีการเสริมให้ร่างกายมีโกรทฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้กระบวนการหลับเกิดได้ดีและเป็นธรรมชาติมากขึ้น
คนเราเมื่ออายุ 25 ปีขึ้นไปร่างกายจะผลิตโกรทฮอร์โมนลดลง 14% และลดลงแบบนี้ในทุก 10 ปี สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น รู้สึกว่าร่างกายอ่อนแอลง ไม่สบายบ่อย มีไขมันตามร่างกายเพิ่มขึ้นหรือสะสมง่ายขึ้น อารมณ์แปรปรวนหรือหดหู่ นอกจากปัญหาการนอนไม่หลับแล้วยังพบภาวะการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น การได้รับอาหารที่เสริมให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนได้เพิ่มขึ้น จะทำให้ความเสื่อมต่างๆ ไม่เกิดขึ้นก่อนเวลาหรืออาจทำให้เสื่อมช้ากว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน
เมื่อร่างกายได้รับ อาร์จินีน ออร์นิทีน กลูตามีนและไลซีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับหลอดเลือดในการผลิตสารไนตริกออกไซด์และช่วยผลิตโกรทฮอร์โมน พบว่ามีผลช่วยการขยายตัวของหลอดเลือด มีผลกระตุ้นให้การผลิตไนตริกออกไซด์จากหลอดเลือดเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศและการแข็งตัวดีขึ้นในผู้ชาย และยังมีผลดีสำหรับผู้หญิงเมื่อหลอดเลือดขยายได้เต็มที่ตามสมควร ก็จะทำให้สารคัดหลั่งในบริเวณต่างๆ ทำงานได้เป็นปกติ ลดปัญหาที่เกิดขณะมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ซึ่งประโยชน์ข้อนี้จะดีกับทั้งผู้ชายและผู้หญิงวัยผู้ใหญ่และยังช่วยป้องกันปัญหาครอบครัว
เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย โกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน ลดปฏิกิริยาเผาผลาญโปรตีนและสามารถนำกรดอะมิโนมาใช้เพิ่มมากขึ้น โดยรวมถือเป็นการเพิ่มการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย มีฤทธิ์เพิ่มการใช้ไขมัน กระตุ้นการสลายตัวของไตรกลีเซอไรด์ และโกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ดี
การศึกษาการใช้อาร์จินีนร่วมกับไลซีนโดยการทานอย่างละ 1,200 มิลลิกรัม ช่วยเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมนขึ้นมากกว่า 4 เท่า เมื่อเทียบกับการรับประทานเพียงชนิดเดียวหรือเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน
สำหรับผู้ที่อยากดูแลสุขภาพรวมทั้งกล้ามเนื้อ มีการศึกษาเกี่ยวกับการทานอาร์จินีนร่วม กับออร์นิทีน ปริมาณ 2,000 มิลลิกรัมและ1,000 มิลลิกรัม ตามลำดับ พบว่าร่างกายมีความแข็งแรงมากขึ้นเมื่อวัดจากค่าความแข็งแรงและปริมาณกล้ามเนื้อ แต่มีของเสียที่กำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานกรดอะมิโนทั้ง 2 ชนิดนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ร่างกายได้ประโยชน์และไม่มีของเสียตกค้างจากกรดอะมิโนที่ทานเข้าไป
สำหรับการศึกษาเรื่องโกรทฮอร์โมนในเด็ก พบว่าเด็กที่แก้ปัญหาเรื่องความสูงด้วยการเลือกฉีดโกรทฮอร์โมนเข้าไปโดยตรงไม่เป็นที่ยอมรับในทางการแพทย์ในเมืองไทย เนื่องจากมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนและภาวะผิดปกติทางการเจริญเติบโตได้ง่าย รวมทั้งมีข้อจำกัดในการฉีดยาหลายอย่าง ดังนั้นการทานกรดอะมิโนบางชนิดที่ช่วยส่งเสริมให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนได้เองตามธรรมชาติ จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยมากกว่า