ผักผลไม้บนโลกนี้หลายชนิดให้ประโยชน์กับร่างกายมนุษย์มากมาย ‘มะเขือเทศ’ ก็คือหนึ่งในนั้น
.
ในอดีตมีงานวิจัยจาก Journal of Affective Disorders ที่ทำการศึกษษากลุ่มตัวอย่างวัยชราชาวญี่ปุ่นจำนวน 986 คน ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี เพื่อหาว่าอาหารชนิดไหนที่สามารถต้านภาวะซึมเศร้าได้ดีที่สุด โดยผู้ทำการวิจัยได้เลือกอาหารมาทั้งสิ้นถึง 75 ชนิด พบกว่า ‘มะเขือเทศ’ มีความสัมพันธ์กับการลดภาวะซึมเศร้าได้มากที่สุดไม่เพียงเท่านั้นงานวิจัยนี้ยังเฝ้าติดตามดูคนสองกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบทำให้พบข้อมูลที่น่าสนใจอีกว่า คนที่อยู่ในภาวะอาการซึมเศร้า จิตใจหม่นหมอง ยิ่งมีพฤติกรรมในการทานผักผลไม้ และอาหารที่ต้าอนุมูลอิสระได้น้อยกว่าคนที่อยู่ภาวะจิตใจที่ปกติ คนที่ทานมะเขือเทศทุกวันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าจะลดลง 52% และงานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ทานมะเขือเทศ2-6 ครั้งต่อสัปดาห์มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าผู้ที่ทานเพียงสัปดาห์ละครั้งถึง 46%
‘มะเขือเทศ’ สามารถลดความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้จริง เพราะในผลไม้ชนิดนี้มีสารสำคัญซึ่งมีชื่อว่า ไลโคปีน (Lycopene) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยลดความเครียด และซ่อมแซมเซลล์สมองที่เสียหาย และไม่เพียงแต่มะเขือเทศจะช่วยลดความเครียดได้เท่านั้น ยังต่อต้านการอับเสบ สามารถยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง และป้องกันอาการหัวใจวาย มีผลการศึกษาชิ้นหนึ่งของประเทศฟินแลนด์ในปี 2012 ที่ตีพิมพ์ในระบบประสาทวิทยา ที่ได้ติดตามศึกษากลุ่มตัวอย่างเพศชายจำนวนมากกว่า 1,000 คน ระหว่างอายุ 46-65 ปีเป็นเวลาประมาณ 12 ปี พบว่าผู้ชายที่มีความเข้มข้นของไลโคปีนในเลือดสูงสุด 1 ใน 4 จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบลดลง 59% และมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองลดลง 55%
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเกี่ยวกับประโยชน์สารไลโคปีนในมะเขือเทศที่มีต่อระบบสืบพันธุ์เพศชาย ซึ่งได้รับการเผยแพร่ใน Journal of the National Cancer Institute ก็คือ ‘ไลโคปีน’ มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพชายได้เฝ้าสังเกตกลุ่มัวอย่างจำนวนเกือบ 50,000 คน นักวิจัยพบว่าผู้ที่ทานมะเขือเทศเป็นประจำมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจนถึงขั้นเสียชีวิตต่ำกว่าผู้ที่ทานน้อยที่สุดถึง 23%
ขอบคุณข้อมูลจาก :
1. พ็อตเกตบุ๊ก 'สุขภาพดีได้ด้วยตัวเอง Good Health by yourself' (หน้า 346) โดย นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว
2. www.nhs.uk
3. www.nutritionletter.tufts.edu