'ต้อกระจก' โรคตาที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน

'ต้อกระจก' โรคตาที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน

 ปัญหาด้านการมองเห็น เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก หากไม่นับภาวะสายตาผิดปกติอย่างสายตาสั้นหรือสายตายาว ยังมีโรคตาอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อย นั่นคือ ‘ต้อกระจก’

     ต้อกระจก (Cataracts) เกิดจากความผิดปกติบริเวณเลนส์ตา โดยปกติแล้วเลนส์ตาจะมีลักษณะใส แต่การเกิดต้อกระจก จะทำให้เลนส์ตาที่เคยใสขุ่นมัว จนสายตาพร่ามัวและมองเห็นได้ไม่ชัดเจน การเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาที่ก่อให้เกิดโรคต้อกระจกนี้เกิดจากความเสื่อมของโปรตีนซึ่งเป็นองค์ประกอบเล็ก ๆ ของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ตาแข็งและขุ่นมัว โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เลนส์ตาเสื่อมก็คือ อายุที่เพิ่มขึ้น นั่นทำให้การพบต้อกระจกมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

     เมื่อการเกิดต้อกระจกมีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้คนวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานมองข้ามโรคนี้ไปเพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคต้อกระจกได้กับคนทุกเพศทุกวัย มาดูกันว่า นอกจากอายุที่เพิ่มขึ้นแล้วยังมีสาเหตุใดบ้างที่ก่อให้เกิดต้อกระจก

    สาเหตุของการเกิดต้อกระจก

            รังสี UV การอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีแดดจัด อาจทำให้รังสี UV ส่งมากระทบต่อดวงตา ซึ่งอาจทำให้เกิดต้อกระจก ดังนั้นควรสวมแว่นกันแดดหากมีความจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้ง
            ยากลุ่มสเตียรอยด์ การใช้ยาที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นยาหยอดตาหรือการทานยาต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดความผิดปกติของเลนส์ตานำไปสู่การเกิดต้อกระจกได้
            โรคบางชนิด ต้อกระจกอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรืออาจเกิดจากโรคตา เช่น ม่านตาอักเสบ หรือตาติดเชื้อ
            พันธุกรรม ในกรณีของผู้ที่เป็นต้อกระจกตั้งแต่กำเนิด อาจเกิดจากพันธุกรรมหรือการติดเชื้อและเกิดการอักเสบของดวงตาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รวมถึงการเกิดโรคหัดเยอรมันของมารดาที่ตั้งครรภ์ด้วย
            อุบัติเหตุ การเกิดอุบัติเหตุหรือได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณดวงตา หรือทำให้ดวงตาสัมผัสกับสารเคมีก็เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคต้อกระจกได้
            การฉายแสง การรักษาโรคด้วยการฉายแสงบริเวณศีรษะ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก
            สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายดวงตาจนทำให้เกิดโรคต้อกระจกได้

   อาการของโรคต้อกระจก

            คุณภาพในการมองเห็นลดลง เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการตาพร่ามัว มองเห็นภาพหรือสิ่งรอบตัวไม่คมชัด ซึ่งอาการนี้จะค่อย ๆ รุนแรงขึ้น จนกลายเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน ทั้งการอ่านหนังสือ เดินขึ้น-ลงบันได หรือการขับรถ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้
            เกิดภาพซ้อน ต้อกระจกอาจก่อให้เกิดภาพซ้อนของวัตถุที่มองเห็น อาจมองเห็นสิ่งของ 1 ชิ้นกลาย 2 ชิ้นทับซ้อนกัน
            ค่าสายตาผิดปกติ การเกิดต้อกระจกจะทำให้ผู้ที่เคยมีค่าสายตาปกติมองในระยะไกลได้ไม่ชัดเจนเช่นเดิมหรือเกิดภาวะสายตาสั้นนั่นเอง
            ตาไม่สู้แสง อาจมองเห็นแสงสว่างจ้ามากกว่าปกติ หรือจะไม่สามารถลืมตาในที่ที่มีแสงสว่างจ้าได้

   วิธีป้องกันการเกิดต้อกระจก เมื่อทราบแล้วว่าสาเหตุเหตุใดบ้างที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก ดังนั้นจึงควรมีวิธีดูแลและป้องกันดวงตาของเราให้แข็งแรงและห่างไกลต้อกระจก ดังนี้

            หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัดเป็นเวลานานและสวมแว่นกันแดดทุกครั้งหากมีความจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่แสงแดดร้อนจัด
            หมั่นพักสายตาเมื่อต้องใช้สายตาต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือหรือทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์
            ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา และควรสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งหากต้องทำงานที่มีความเสี่ยง
            หมั่นตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
            เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสายตา เช่น ปลา ไข่ นม ผักใบเขียว ฟักทอง แครอท เป็นต้น

 นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่เริ่มมีอาการของต้อกระจก ควรบำรุงสายตาด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของลูทีน เบต้าแคโรทีน และบิลล์เบอร์รี่สกัด ซึ่งจะทำงานร่วมกันเพื่อบำรุงสายตาและช่วยในการมองเห็นเพราะดวงตาของคุณมีอยู่เพียงคู่เดียว

     ด้วยความห่วงใยจาก iiCare_MEGA We care

ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://www.samitivejhospitals.com/th/ต้อกระจก-2/
https://rutnin.com/th/eye_knowledge/detail.27.1.html
http://theworldmedicalcenter.com/th/new_site/health_article/detail/?page=โรคต้อกระจก
https://www.healthline.com/health/eye-health/best-foods-for-eyes

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy