ระวัง! ตาเสื่อมไวในยุค New Normal

ระวัง! ตาเสื่อมไวในยุค New Normal

  ในขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่วิถีใหม่ หลังจากที่สถานการณ์ของโรค COVID-19 ค่อยๆ ลดระดับความรุนแรงในการแพร่กระจายลง การดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมย่อมเปลี่ยนแปลงไปโดยหันมาใส่ใจเรื่องสุขอนามัยและการดูแลสุขภาพมากขึ้น
     การใช้ชีวิตในวิถีใหม่ จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้เกิดปัญหาดวงตาเสื่อมเร็วขึ้น เพราะการติดต่อสื่อสารและการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ กลายเป็นที่นิยมอย่างมากเนื่องจากเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาระยะห่าง ที่จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ และด้วยวิถีใหม่นี่เองที่ทำให้หลายคนต้องใช้เวลากับหน้าจอคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนมากขึ้น ในที่สุดจึงนำมาสู่การเกิดโรคเกี่ยวกับดวงตา

     3 กลุ่มเสี่ยงตาเสื่อม
            เด็กวัยเรียน ชีวิตวิถีใหม่นี้ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเด็กวัยเรียนไปไม่น้อย จากเดิมที่เดินทางไปโรงเรียน มีการเรียนการสอนอยู่ภายในห้องเรียนโดยมีคุณครูเป็นผู้สอน แต่ด้วยสถานการณ์ของ COVID-19 ทำให้โรงเรียนต้อง งดจัดการเรียนการสอนแล้วปรับเปลี่ยนเป็นการเรียนออนไลน์แทน เด็กวัยเรียนจึงต้องใช้เวลาอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ทำให้มีความเสี่ยงต่ออาการตาแห้งและมีโอกาสสายตาสั้นมากกว่าปกติ
            หนุ่มสาววัยทำงาน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยามปกติมนุษย์ออฟฟิศส่วนใหญ่ย่อมใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต และสมาร์ทโฟน ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ไม่สามารถออกไปเที่ยวยังที่ต่าง ๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ได้เช่นนี้ ยิ่งเพิ่มระยะเวลาในการจ้องจอมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการดูซีรี่ย์หรือช้อปปิ้งออนไลน์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหากับดวงตาเช่น ตาแห้ง รวมถึงอาการที่เรียกว่า 'คอมพิวเตอร์วิชชั่นซินโดรม' (Computer Vision Syndrome : CVS)
            ผู้สูงอายุ นับเป็นกลุ่มวัยที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 มากที่สุดและมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้มากที่สุดด้วยเช่นกัน ดังนั้นการกักตัวและใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้านจึงเป็นวิธีดูแลตัวเองที่ผู้สูงอายุควรทำ จากเดิมที่เคยตื่นแต่เช้า ออกไปจับจ่ายที่ตลาดใกล้บ้าน หรือพูดคุยทักทายกับเพื่อนบ้าน ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนช่องทางการสื่อสารเป็นช่องทางออนไลน์ โดยมีผลสำรวจด้านการตลาดเมื่อปี 2018 พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในไทยจำนวน 1.2 ล้านคน มีอัตราการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากปี 2008 ถึง 100% และเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าการใช้จ่ายออนไลน์สูง รวมถึงการมีเวลาในการดูโทรทัศน์มากขึ้น ล้วนทำให้สายตาทำงานหนักขึ้นประกอบกับเซลล์ที่เสื่อมสภาพของดวงตา ตามอายุ ยิ่งทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเป็นโรคตามากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะโรคจอประสาทตาเสื่อม

     โรคตาที่อาจเกิดขึ้นได้ในยุค New Normal
            ภาวะตาแห้ง เป็นภาวะที่น้ำตาไม่เพียงพอหล่อเลี้ยงดวงตาและผิวตา ก่อให้เกิดการระคายเคือง ตาพร่ามัว อาจแสบตาและมีน้ำตาไหล สาเหตุของอาการตาแห้งมีหลายสาเหตุซึ่งสาเหตุที่สำคัญคือ การใช้สายตาเป็นเวลานาน ซึ่งหากปล่อยให้เกิดอาการตาแห้งบ่อยครั้งอาจทำให้เกิดแผลบริเวณกระจกตา เกิดการอักเสบและติดเชื้อที่ดวงตาได้
            โรคคอมพิวเตอร์วิชชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) เกิดจากคลื่นแสงสีฟ้า ซึ่งมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต หรือสมาร์ทโฟน กระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ ไปทำลายเซลล์ในดวงตาจนเสียหาย ทำให้เซลล์ค่อย ๆ เสื่อมลงและไม่สามารถใช้งานได้ หากได้รับแสงสีฟ้ามากเกินไปจะส่งผลให้มีอาการปวดตา แสบตา น้ำตาไหล ตาพร่ามัว เป็นต้น

       Tips วิธีชะลอความเสื่อมของดวงตา
            พักสายตา หากมีความจำเป็นต้องใช้สายตาจ้องจอเป็นเวลานาน ควรพักสายตาทุก ๆ 20 นาที ด้วยการมองไกลออกไป 20 เมตร เป็นเวลา 20 วินาที หรือกระพริบตาให้บ่อยครั้งขึ้น
            บริหารดวงตา เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยผ่อนคลายสายตาจากการใช้งานหนัก รวมถึงจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณดวงตาแข็งแรงขึ้นด้วย
            ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะช่วยป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำและลดความเสี่ยงต่ออาการตาแห้ง
            ทานผักผลไม้หลากสี สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ออาการตาแห้งและโรคตาที่เกิดจากการจ้องจอเป็นเวลานาน ควรเสริมสารอาหารบำรุงดวงตา ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของลูทีน บิลเบอร์รี่สกัด และเบต้าแคโรทีน ซึ่งจะทำงานร่วมกันในการบำรุงดวงตาอย่างครบถ้วน

  การมีดวงตาที่แข็งแรง ย่อมทำให้การมองเห็นชัดเจนและส่งผลให้การใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ ยิ่งในยุค New Normal ที่ต้องใส่ใจรายละอียดในการดูแลตนเองเช่นนี้ ต้องไม่ลืมที่จะดูแลดวงตาของคุณให้แข็งแรงควบคู่ไปกับการรักษาสุขภาพในด้านอื่น ๆ ด้วย

     ด้วยความห่วงใยจาก iiCare_MEGA We care

ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.medicalnewstoday.com/articles/321226#10-best-foods-for-eye-health
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/665/DryEyes

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy