คุณรู้จักโรค 'ภูมิแพ้อากาศ' แค่ไหน

คุณรู้จักโรค 'ภูมิแพ้อากาศ' แค่ไหน

'ภูมิแพ้อากาศ' คืออะไร? คุณรู้จักโรคนี้ดีแค่ไหน?

     ‘ภูมิแพ้’ เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มีจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี และจากการสำรวจในประเทศไทยยังพบด้วยว่าอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้เพิ่มสูงขึ้นถึง 4 เท่าในช่วงระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา โดยโรคภูมิแพ้ชนิดที่พบมากที่สุด คือ ภูมิแพ้อากาศ (Allergic rhinitis)

  สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย

  ทำความรู้จักกับโรคภูมิแพ้

  อากาศเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่าแพ้อากาศได้อย่างไร

  อาการแบบไหนที่เรียกว่า ‘ภูมิแพ้อากาศ’

  วิธีดูแลตนเองเมื่อมีเป็นโรคภูมิแพ้


ทำความรู้จักกับโรคภูมิแพ้

     ภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีความผิดปกติของร่างกายที่มีปฏิกิริยาไวต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิดซึ่งแตกต่างกันออกไป การเกิดโรคภูมิแพ้เป็นเหตุมาจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำงานมากเกินไป ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อบางสิ่งที่อาจไม่เป็นอันตรายต่อคนทั่วไป แต่เป็นอันตรายต่อตัวบุคคลที่แพ้เท่านั้น สำหรับ ‘ภูมิแพ้อากาศ’ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้’ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิต้านทานต่ำลง และยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ได้หากมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้เพราะภูมิแพ้สามารถถ่ายทอดสู่กันทางพันธุกรรมได้ด้วย

อากาศเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่าแพ้อากาศได้อย่างไร

     ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะมีปัญหาเรื่องการปรับตัวของเยื่อบุจมูก คือ จมูกจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ปรับตัวไม่ค่อยได้ ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนหรือเย็น ความชื้นของอากาศ ตลอดจนกลิ่นฉุนสิ่งระคายเคืองต่าง ๆ จึงมักเรียกกันว่า โรคแพ้อากาศ โรคนี้พบได้ทุกเพศทุกวัย พบประมาณร้อยละ20ของประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยประมาณร้อยละ70จะมีอาการก่อนอายุ 30ปี โดยมีปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการโรคภูมิแพ้ได้ เช่น อากาศ ขนสัตว์ ละอองเกสร ฝุ่นควันรถยนต์ ไรฝุ่น ควันบุหรี่ สารเคมี และยาฆ่าแมลง เป็นต้น

comparison-between-flu-and-allergic-rhinitis-infomation

อาการแบบไหนที่เรียกว่า ‘ภูมิแพ้อากาศ’

     หลายคนอาจเคยสงสัยว่า อาการที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้นมีสาเหตุจากโรคถูมิแพ้หรือแค่หวัด เนื่องจากทั้งสองโรคนี้จะมีอาการที่คล้ายกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการคัดจมูกและน้ำมูกไหล แต่หากสังเกตความแตกต่างของทั้งสองโรคนี้จะพบว่า โรคหวัดหรือไข้หวัด จะมีน้ำมูกใส ๆ ในระยะแรกก่อนจะข้นขึ้น อาจมีอาการไข้และปวดศีรษะร่วมด้วยซึ่งจะเป็นเช่นนี้อยู่ 3-10 วันก่อนที่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ในขณะที่ภูมิแพ้อากาศผู้ป่วยจะมีอาการคันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล แต่จะไม่มีไข้ และจะมีอาการเช่นนี้อยู่เป็นเวลานานกว่า 10 วัน

วิธีดูแลตนเองเมื่อมีเป็นโรคภูมิแพ้

       หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย เช่น ฝุ่นละออง ควันรถยนต์ สารเคมีต่างๆ เกสรดอกไม้ เชื้อรา เชื้อไวรัส อาหารที่ผู้ป่วยแพ้ง่าย ไรฝุ่น เป็นต้น

       การนอนหลับพักผ่อน ไม่ควรเข้านอนดึกจนเกินไป เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการซ่อมแซมและฟื้นฟูปรับสมดุลได้อย่างเพียงพอ

       ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้ความไวของเยื่อบุจมูก/หลอดลมลดลง และทำให้มีภูมิต้านทานต่อหวัดอีกด้วย

       ใช้น้ำเกลือทำความสะอาดบริเวณโพรงจมูก ค่อยๆ สูดน้ำเกลือให้น้ำเกลือได้สัมผัสกับโพรงจมูก แล้วค่อยๆ หายใจออก ให้น้ำเกลือเกิดการผ่านเข้าออกในโพรงจมูก ใช้เวลาทำประมาณ 3 นาที หากสามารถทำต่อเนื่องได้ในทุกๆ วัน จะสามารถช่วยรักษาอาการภูมิแพ้จมูกที่เป็นอยู่ได้

       หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งผักและผลไม้ ซึ่งอาหารที่ทานควรเป็นอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่เสมอ

       ทานยาแก้แพ้ ยาแก้แพ้ลอราทาดีน เป็นยาต้านฮิสตามีน (anti-histamine) ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคภูมิแพ้ได้ดี และไม่ทำให้ง่วงซึมระหว่างวัน (บางรายอาจง่วงซึมได้) กินเพียงวันละ 1 เม็ด และควรพักผ่อน นอนหลับให้มาก ๆ จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

     อย่าปล่อยอาการ ‘แพ้’ มากวนใจ เพียงแค่ให้เวลาในการดูแลสุขภาพและเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในการรักษาภูมิแพ้ เพียงเท่านี้คุณก็จะห่างไกลจากคำว่า ‘แพ้’ อย่างแน่นอน ด้วยความห่วงใยจาก _ MEGAWecare 

ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.pobpad.com/โรคภูมิแพ้
https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=196
http://allergy.or.th/2016/resources_expert_detail.php?id=90
https://www.healthline.com/health/allergic-rhinitis#prevention
https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/ดูแลตัวเอง-ภูมิแพ้/

More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy