วิตามินเสริมเพิ่มความแข็งแรงให้คุณแม่ตั้งครรภ์

วิตามินเสริมเพิ่มความแข็งแรงให้คุณแม่ตั้งครรภ์

  ระยะเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ แม้จะเป็นช่วงเวลาไม่นานนักแต่ถือเป็นเวลาที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งในชีวิตของผู้หญิง และด้วยสัญชาตญาณของความเป็นแม่นั้น เชื่อเหลือเกินว่าช่วง 9 เดือนนี้ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องใส่ใจเรื่องสุขภาพ พิถีพิถันเรื่องอาหารการกิน และปรับพฤติกรรมตัวเองในหลายๆด้าน รวมถึงหันมาดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะแม่ทุกคนทราบดีว่าหากอยากให้ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์มีการเจริญเติบโตที่ดี รวมถึงช่วยป้องกันความเสี่ยงจากความพิการหลายๆอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้นั้น (ปากแหว่งเพดานโหว่ ความผิดปกติของแขนขา หัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น) ต้องเริ่มต้นจากการที่ตัวของคุณแม่เองมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงก่อน
     แต่ถึงจะพยายามเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ แต่ก็มีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นหลายชนิดที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะขาด หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ด้วยเหตุผลต่างๆที่กล่าวมานี้เอง ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านจึงลงความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การทานวิตามินอาหารเสริมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้คุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์นั้นไม่ใช่เรื่องที่เกินความจำเป็น แต่เนื่องจากหลายคนยังไม่ทราบว่ามีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุชนิดใดบ้างที่ควรเสริมระหว่างตั้งครรภ์ ครั้งนี้ MEGA We care จึงขออาสามาเป็นผู้ช่วยให้ข้อมูลที่น่าสนใจเหล่านี้ให้กับคุณ

   สารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
       แคลเซียม (Calcium)
          เนื่องจากร่างกายของคนเราไม่สามารถสร้างแคลเซียมขึ้นได้เองตามธรรมชาติจึงจำเป็นต้องได้รับจากการทานเข้าไปเท่านั้น และสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมในปริมาณที่สูงกว่าคนทั่วไป ทำให้แคลเซียมที่ได้รับจากอาหารที่ทานในแต่ละวันอาจไม่เพียงพอ เพราะต้องไม่ลืมว่าในช่วงที่ตั้งครรภ์ร่างกายจะใช้แคลเซียมแบบหาร 2 แบ่งให้กับทั้งแม่และทารกในครรภ์ เพราะแคลเซียมมีส่วนช่วยเสริมพัฒนาการของโครงสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ และยังช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูก ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกของผู้เป็นแม่ ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
          นอกจากนี้หากได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเพียงพอ ยังลดโอกาสการเกิดตะคริวได้อีกด้วย โดยในแต่ละวันคุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม โดยอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม คือ นม ถั่วเหลือง โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย รวมถึงผักใบเขียว เป็นต้น และเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมรวมถึงนำแคลเซียมไปใช้ได้ดีกว่า และมีส่วนผสมของวิตามินดี เพราะจากข้อมูลพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่ค่อยได้สัมผัสแสงแดด หรือไม่ได้ดื่มนมเป็นประจำมักจะมีภาวะขาดวิตามินดี ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิดปกติในทารก เช่น การสร้างกระดูกผิดปกติ กระดูกเปราะ เป็นต้น

       DHA (Docosahexaenoic acid)
          อีกหนึ่งสารอาหารสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ คือ กรดไขมันโอเมก้า -3 อย่าง DHA เนื่องจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อประสาทและจอตา โดย 40% ของกรดไขมันในสมองมี DHA เป็นองค์ประกอบหลัก ขณะที่ 60% ของกรดไขมันในจอตามี DHA เป็นองค์ประกอบหลัก และเนื่องจาก DHA เป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่มีคุณประโยชน์อย่างมากทั้งต่อคุณแม่และลูกในครรภ์ จึงจำเป็นต้องทานเสริมเพื่อให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอ สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วย DHA เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาซาดีน เป็นต้น
          จากข้อมูลพบว่าทารกและเด็กที่ได้รับ DHA ไม่เพียงพอ จะทำให้คุณภาพของการมองเห็นลดลง พัฒนาการทางสมองจึงช้าลงตามไปด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระดับ IQ ต่ำ ทำให้สมาธิสั้น เรียนรู้ช้า ขาดการยับยั้งชั่งใจ เป็นต้น จึงแนะนำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เสริม DHA ได้ตั้งแต่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 25-35 สัปดาห์ และช่วง 3 เดือนก่อนคลอดและหลังคลอดเป็นช่วงที่ทารกต้องการ DHA ในปริมาณสูง เพื่อพัฒนาสมอง ประสาทตา ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง โดยในช่วงตั้งครรภ์ทารกจะได้รับ DHA ผ่านทางรก นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด และช่วยลดความเครียดหลังคลอดของคุณแม่ได้อีกด้วย

          เพื่อบำรุงสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำ เพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร อย่างไรก็ตามควรเลือกวิตามินบำรุงที่ผ่านกระบวนการการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าปลอดภัย และได้รับสารสำคัญในปริมาณที่เหมาะสม ด้วยความห่วงใยจาก_MEGA We care



ข้อมูลอ้างอิงจาก
1. Compston J., Cooper C., et. al. Guideline for the diagnosis and management of osteoporosis in postmenopausal women and men from the age of 50 years in the UK. National Osteoporosis Guideline Grop (NOGG). 2009. Cited http://www.shef.ac.uk/NOGG/downloads.html , 20 January 2010.
th.theasianparent.com/วิตามินคนท้อง
www.drnoithefamily.com/post/prenatal-supplyments
www.thairath.co.th/lifestyle/woman/momandkid/1516565

 

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy