‘ฮอร์โมนเพศต่ำ’ อีกหนึ่งต้นเหตุสำคัญของปัญหาสุขภาพที่พบในผู้ชาย!!
จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายหากฮอร์โมนเพศชายต่ำ มีวิธีแก้ไขหรือไม่อย่างไร? และอีกหลายคำถามเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศต่ำที่ชายไทยยังคาใจ ครั้งนี้ MEGA We care ขออาสามาเฉลยให้ได้ทราบโดยทั่วกัน
Q : ผู้ชายอายุเท่าไหร่ที่จะเริ่มมีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ
A : โดยปกติฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) จะมีมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงอายุประมาณ 17 ปี แต่ระดับของฮอร์โมนจะค่อยๆ ลดลงไปตามวัยประมาณ 1 % ในแต่ละปี โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 30 ปี และระดับฮอร์โมนเพศชายจะลดลงประมาณ 1-3% ต่อปี เมื่ออายุ 40+ ยิ่งในปัจจุบัน วิถีชีวิตของผู้ชายมักมีความเครียดสะสม พักผ่อนน้อย ทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ล้วนกระตุ้นให้ผู้ชายมีปัญหาฮอร์โมนเพศต่ำก่อนวัยได้เร็วขึ้น
Q : ฮอร์โมนเพศต่ำส่งผลต่อร่างกายอย่างไร
A : ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) มีความสำคัญต่อร่างกายในหลายด้าน ทั้งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ ส่งผลต่อความต้องการทางเพศ การผลิตของอสุจิ การเผาผลาญไขมัน หรือแม้แต่การงอกของเส้นขนและเส้นผม ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้ผู้ชายที่มีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำมักมีอาการ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง ปริมาณอสุจิที่น้อยลงทำให้มีลูกยาก อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่สมบูรณ์ อ้วนลงพุง ผมร่วงผมบาง เป็นต้น
Q : จริงหรือไม่... ฮอร์โมนเพศต่ำทำให้อ้วนลงพุง
A : จริง เนื่องจากฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) มีส่วนช่วยในการเผาผลาญไขมัน เมื่อฮอร์โมนเพศลดลงจึงมีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุง เพราะเมื่อการเผาผลาญลดลงโอกาสเกิดการสะสมของไขมันในร่างกายก็ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณเอว หน้าท้อง ส่งผลทำให้น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานได้ ดังนั้นผู้ชายที่มีปัญหาอ้วนลงพุง นอกเหนือจากการสังเกตพฤติกรรมการทาน ความสม่ำเสมอในการออกกำลังกายแล้ว ยังสามารถสันนิษฐานได้ว่าอาจมีภาวะฮอร์โมนเพศที่ต่ำลง
Q : จริงหรือไม่...ฮอร์โมนเพศต่ำทำให้มีลูกยาก
A : จริง เนื่องจากภาวะที่ฮอร์โมนเพศชายต่ำ มีผลต่อการผลิตและการเพิ่มจำนวนของอสุจิ ความแข็งแรงของตัวอสุจิน้อยลง ทำให้ขาดความกระชุ่มกระชวยในการทำกิจกรรมต่างๆ ความต้องการทางเพศลดลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวไม่เต็มที่ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการมีลูกยากนั่นเอง
Q : ฮอร์โมนเพศต่ำส่งผลเสียต่อสมรรถภาพทางเพศอย่างไร
A : ฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Testosterone) ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ สิ่งที่แสดงออกมาทางร่างกายเมื่อผู้ชายเกิดภาวะ ฮอร์โมนเพศต่ำ คือ ขาดความสนใจทางเพศ ขาดความตื่นเต้นทางเพศ องคชาตไม่แข็งตัวตามปกติแม้ในขณะตื่นนอนตอนเช้า องคชาตอ่อนตัวหรือแข็งตัวไม่สมบูรณ์ขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่กระชุ่มกระชวย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
Q : จริงหรือไม่...การออกกำลังกายช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชายได้
A : จริง การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ที่ให้ผลลัพธ์อย่างชัดเจน ยืนยันจากผลการ ศึกษาวิจัยในหลายประเทศที่พบว่าผู้ชายที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะมีระดับฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้น เพราะการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมมีส่วนช่วยในการกระตุ้นและปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชายให้กลับมาอยู่ในระดับปกติได้ นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมทั้งในระยะสั้นและยาวอีกด้วย
Q : สารอาหารอะไรที่ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศชาย
A : อีกทางเลือกในการเสริมฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง คือการเลือกทานสารอาหารจากธรรมชาติที่สำคัญต่อการสร้างฮอร์โมนเพศ ในปริมาณที่มากเพียงพอ สำหรับสารอาหารที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเพศ ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศชายได้ คือ อาหารที่มีแร่ธาตุและวิตามิน ได้แก่
‘แร่ธาตุกลุ่ม ZMA’ คือ ซิงค์ (Zinc) และแมกนีเซียม (Magnesium) เพราะสามารถช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชายตามธรรมชาติได้ถึง 43.7%
‘ซิลิเนียม’ เพราะเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วย ในการสร้างฮอร์โมนเพศชาย และยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอวัยได้อีกด้วย
‘แอล คาร์นิทีน’ เป็นสารอาหารที่ช่วยในการเผาผลาญไขมัน สร้างพลังงานให้กล้ามเนื้อ โดยแอล-คาร์นิทีนจะนำเอาไขมันมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน ช่วยให้กล้ามเนื้อเฟิร์มกระชับ
‘วิตามินบีรวม’ ที่ช่วยสร้างพลังงานให้กล้ามเนื้อ ทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น
ด้วยความห่วงใยจาก_MEGA We care
ข้อมูลอ้างอิงจาก
www.healthline.com/health/low-testosterone/signs-men-under-30
www.healthline.com/nutrition/8-ways-to-boost-testosterone
jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/1029127