หยุดอาการ Burnout และจุดไฟให้ไปต่อ

หยุดอาการ Burnout และจุดไฟให้ไปต่อ

ตอนนี้คุณรู้สึกเหนื่อยหน่าย หรือมองความสามารถในการทำงานของตนในเชิงลบ ไม่ยินดียินร้ายถึงความรู้สึกของการประสบความสำเร็จ และมองความสัมพันธ์ในที่ทำงานในเชิงลบหรือไม่ หากมีสัญญาณดังกล่าวคุณได้เข้าข่ายภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือที่เรียกว่า ‘Burnout  syndrome’ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
       Burnout Syndrome คือภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอันเนื่องมาจากความเครียดที่สะสมเป็นระยะเวลานานจากการทำงาน โดยผู้ที่เสี่ยงเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานอาจเกิดจากมีลักษณะงานที่ได้ผลตอบแทนไม่เหมาะสม งานเร่งรีบ มักเป็นงานที่ตนไม่ได้รับคุณค่าและความภูมิใจในการทำงาน มีการบริหารงานที่ไร้ระบบ งานหนักและมีจำนวนงานมากเกินไปทำให้เกิดความเครียดสะสมดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น  ทั้งนี้ภาวะหมดไฟในการทำงานส่งผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ รวมไปถึงส่งผลต่อหน้าที่การงานที่ทำด้วย เราจะจัดการกับภาวะนี้อย่างไรไม่ให้กระทบต่อชีวิตของเราวันนี้ MEGA We care ขออาสามา’หยุด’อาการ Burnout และ’จุด’ไฟในการทำงานของคุณให้ติดอีกครั้ง

   Burnout  syndrome ส่งผลอย่างไรกับตัวคุณ
       ภาวะนี้ส่งผลเสียกับคุณมากกว่าที่คิดทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจและแน่นอนมีผลต่อหน้าที่การงานของคุณด้วย  

  รับมีออย่างไรเมื่อ Burnout  syndrome มาเยือน
       เพื่อไม่ให้ภาวะหมดไฟในการทำงานมีผลกระทบต่อตัวเรามากนักและเพื่อชีวิตในการทำงานของคุณได้ไปต่อ จึงต้องมีวิธีการรับมือกับภาวะนี้อย่างเหมาะสม

 ไม่โหมงานหนัก :
    การเป็นคนขยันและมุ่งมั่นถือเป็นเรื่องดีทั้งต่อตัวคุณและต่อองค์กร แต่ถ้าทำงานเยอะจนเกินไป เคร่งเครียดกับสิ่งที่ทำมากเกินไป จะส่งผลต่อสภาพจิตใจและร่างกายให้ทรุดโทรมลง โดยเฉพาะหากคุณได้รับผิดชอบงานที่มีปริมาณมากแต่เวลาที่ให้ไม่สอดคล้องกัน ยิ่งทำให้รู้สึกกดดันและวิตกกังวลมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อให้การทำงานราบรื่นและไม่หนักตัวเราเกินไป ต้องปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานโดยเร็วเพื่อหาแนวทางที่จะทำให้งานออกมาสำเร็จและไม่หนักคนใดคนหนึ่งมากไป

   หาต้นเหตุของความเครียด :
    ความเครียด คือสาเหตุหลักของ Burnout Syndrome การจัดการกับความเครียดจึงสำคัญ ลองทบทวนกับตนเองว่าสิ่งที่ทำให้เครียดและทำให้เกิดภาวะ Burnout มีอะไรบ้าง เมื่อพบแล้วก็เขียนลงบนกระดาษ การเขียนจะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าตอนนี้คุณคิดอะไรอยู่ จากนั้นเริ่มแก้ปัญหาไปทีละข้อหากไม่สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้ ลองหันไปปรึกษาคนที่คุณไว้ใจ คนที่มีมุมมองที่กว้างและแตกต่างเช่น หัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน จะได้ความคิดเห็นในเรื่องนั้นๆหลากหลายมุมมอง ไม่แน่เรื่องที่คุณเครียดอยู่อาจกลายเป็นเรื่องเล็กๆ ไปเลยก็ได้

   ทบทวนตนเองกับงานที่ทำอยู่ :
    เป็นกระบวนการที่จะทำให้รู้จักตนเองมากขึ้น รู้ว่างานที่ทำอยู่เหมาะกับตนเองหรือไม่ โดยเริ่มจากการนั่งนิ่งๆ ให้จิตใจสงบปราศจากอารมณ์ความรู้สึก เพราะสิ่งนี้จะทำให้กระบวนการคิดของเราไม่เที่ยงตรงสักเท่าไร เมื่อจิตใจสงบนิ่งแล้วลองทบทวนเรื่องงานที่ตนเองทำว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร มองมุมมองต่างๆที่มีต่อองค์กร เช่น องค์กรสามารถสนับสนุนให้เราพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพหรือไม่ องค์กรให้โอกาสแสดงศักยภาพในการทำงานอย่างเต็มที่หรือไม่ ท้ายที่สุดคุณถนัดและชอบทำสิ่งใด จากนั้นนำคำตอบที่ได้มาประเมินว่าตนยังเหมาะกับงานที่ทำอยู่หรือไม่ และวางแผนกับสิ่งที่กำลังจะทำต่อไป

    ดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ : 
    เมื่อการทำงานมีผลกระทบต่อเวลาพักของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเวลาพักทานอาหารหรือเวลานอน อาจทำให้สุขภาพย่ำแย่และรู้สึกหมดไฟเร็วขึ้น การดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะช่วยให้รับมือกับปัญหาภาวะหมดไฟในการทำงานได้ ซึ่งการทานอาหารควรทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่ว่างานจะยุ่งมากแค่ไหนก็ต้องทานให้ครบ 3 มื้อและทานให้ตรงเวลา เพราะอาหารทุกมื้อช่วยให้พลังงานแก่ร่างกายและสมอง อีกทั้งสารอาหารบางชนิดเช่น วิตามินบี ที่มีอยู่ในเนื้อสัตว์ ผักใบเขียวและข้าวไม่ขัดสี จะช่วยลดเครียด ความวิตกกังวลจากการทำงานได้เนื่องจากการทานวิตามินบีอย่างเพียงพอในแต่ละวันจะช่วยป้องกันการขาดวิตามินบีได้ เพราะเมื่อเครียดสมองจะดึงวิตามินบีออกมาใช้ในปริมาณมาก
      นอกจากนี้การออกกำลังกายก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการได้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ทำงานมาตลอดทั้งวันและได้ออกกำลังกล้ามเนื้อหัวใจให้เเข็งแรง ส่งผลให้สามารถสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆได้อย่างสะดวก แต่อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอโดยต้องนอนให้ได้ 8 ชั่วโมงต่อวัน เข้านอนให้เป็นเวลานอนในห้องนอนที่มืดสนิทไร้เสียงรบกวน ไม่คิดเรื่องที่ทำให้เครียดก่อนนอนเท่านี้การนอนของคุณก็จะมีคุณภาพแล้ว

       เมื่อทำตามครบทั้ง 4 ข้ออาการ Burnout จะค่อยๆดีขึ้นและจะมองเห็นปัญหาชัดเจนจนสามารถจุดไฟที่กำลังหมดให้กลับมารุกโชนอีกครั้งได้…ด้วยตวามห่วงใยจาก Nat B_MEGA Wecare


ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/burnout-syndrome
https://www.pobpad.com/burnout-หมดไฟในการทำงาน-จัดการ
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1385

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy