หน้าใสไร้สิวใครว่าเป็นไปไม่ได้?

หน้าใสไร้สิวใครว่าเป็นไปไม่ได้?

   สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย

  หน้าใสไร้สิวด้วยสารอาหารเพื่อการรักษาสิว

  ประเภทของสิวมีอะไรบ้าง ? 

  เปิดสูตร! สารอาหารและแร่ธาตุที่ช่วยในการรักษาสิว

  หลักการเลือกสารอาหารที่เหมาะสม เพื่อการดูแลอย่างถูกวิธี

หน้าใสไร้สิวด้วยสารอาหารเพื่อการรักษาสิว

    'สิว' คือ การอักเสบเรื้อรังของผิวหนังภายในรูขุมขนหรือต่อมไขมัน  ส่วนมากจะเกิดบริเวณใบหน้า คอ และลำตัวส่วนบน และแผ่นหลัง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมันขนาดใหญ่อยู่อย่างหนาแน่น สิวจะเริ่มปรากฎอาการในช่วงวัยรุ่น โดยในผู้หญิงจะเกิดในช่วงอายุตั้งแต่ 14-17 ปี และสำหรับผู้ชายจะเกิดในช่วงอายุตั้งแต่ 16-19 ปี และอาการดังกล่าวก็มักจะเริ่มน้อยลงหายไปในช่วงอายุ 20-25 ปี แต่ในบางคนก็อาจเป็นๆ หายๆ จนอายุ 40 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ โดยสาเหตุหลักของการกเกิดสิว สามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยหลักๆ ก็คือ
1.  ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่เกิดจากร่างกายเราเอง เช่น ฮอร์โมน กรรมพันธุ์ โรคเรื้อรัง และผิวพรรณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวเราตั้งแต่กำเนิด
2.  ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นจากนอกร่างกายของเรา เช่น ยา เครื่องสำอาง สภาพแวดล้อม สังคม แสงแดดและอุณหภูมิ ความสะอาด และอาหาร ซึ่งเราสามารถป้องกันได้

ประเภทของสิวมีอะไรบ้าง? 

สิวเกิดจากส่วนประกอบ 3 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ

1.  เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันและรูขุมขน
     เพราะความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนแอนโดรเจน จะไปกระตุ้นการสร้างผิวชั้นนอก และกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันให้สร้างไขมันและขับออกมามากขึ้นเช่นกัน จนทำให้เกิดการอุดตันของต่อมไขมันที่เรียกว่า คอมมิโดน (comedone) ต่อมไขมันที่อุดตันและเมื่อมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น จะเห็นเป็นเม็ดเล็กๆ เรียกว่า 'สิวหัวขาว' หรือสิวหัวปิด และเมื่ออากาศผ่านเข้าสู่หัวสิวจนทำปฏิกิริยากัน จนกลายเป็น 'สิวหัวดำ' หรือสิวหัวเปิด 
2.  ต่อมไขมันผลิตไขมันมาก
     เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายในร่างกายที่มีในทุกคนไม่มากก็น้อย อย่างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่มีมากเกินไปจะส่งผลทำให้ต่อมไขมันขยายใหญ่ขึ้น และการหลั่งน้ำมันมากขึ้น
3.  การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
     จากสิวที่เกิดการอุดตัน หากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น  Propionibacterium acne ( P.acne ) เชื้อแบคทีเรียในรูขุมขนมีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และแบคทีเรียเหล่านี้จะย่อยสลายไขมัน ให้เปลี่ยนเป็น กรดไขมัน ทำให้มีผลต่อผิวหน้าโดยทำให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นตุ่มนูนแดง หรือเป็นหนองเกิดการอักเสบในที่สุดเรียกว่า 'สิวอักเสบ'
     แต่ไม่ว่าจะเป็นสิวเสี้ยน สิวหัวช้าง สิวหัวดำหรือสิวเขรอะทั้งหน้า เชื่อหรือไม่ว่า อาหารมีส่วนในการรักษาสิวได้ดีทีเดียว ก่อนอื่นควรจะต้องรู้ก่อนว่า สิวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น กินอาหารที่มีไขมันมากเกินไป กินอาหารหวานเป็นประจำ ขาดวิตามินและแร่ธาตุบางตัว เช่น วิตามินบี 6 และสังกะสี ท้องผูก การแพ้เครื่องสำอาง หรืออาจเกิดจากความเครียด ก็เป็นได้ ควรจะต้องสังเกตสิ่งที่ก่อให้เกิดการแพ้และหลีกเลี่ยง
·  ถ้าเกิดจากความเครียด ควรหาเวลาออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายความเครียด
·  หากท้องผูก ควรเลือกรับประทานข้าวกล้อง หรืออาหารที่มีเส้นใยสูงเช่น ผักและผลไม้มากขึ้น รวมทั้งดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
·  หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีไขมันสูง เช่น เค้ก นม เนย คุกกี้ กะทิ อาหารทอด หันมากินเนื้อปลาแทนเนื้อสัตว์ งดอาหารหวาน และช็อคโกแลตทุกประเภท

เปิดสูตร! สารอาหารและแร่ธาตุที่ช่วยในการรักษาสิว

อยากแก้ปัญหาสิวทั้งต้นเหตุและปลายเหตุอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.megawecare.co.th/content/5186/best-solution-for-acne-treatment


หลักการเลือกสารอาหารที่เหมาะสม เพื่อการดูแลอย่างถูกวิธี

     มีหลักง่ายๆ ก็คือ ควรเลือกสูตรที่มีความครบถ้วน ทั้งด้านการแก้ไขปัญหาและป้องกันการเกิดสิว อาทิเช่น แก้ไขปัญหาเรื่องสิว ได้แก่ ลดการอักเสบของสิว ลดรอยดำ รอยแผลเป็นจากสิว เป็นต้น รวมทั้งการป้องกันกลับมาเป็นซ้ำ หรือควบคุมความมันอันเป็นสาเหตุของการเกิดสิว นอกจากนั้นสิ่งที่ต้องใช้ประกอบในการพิจารณาเลือกซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ แร่ธาตุสังกะสี (Zinc) ควรเลือกแร่ธาตุสังกะสีที่มีการศึกษาและวิจัยในการต้านสิวมาแล้ว ผลการศึกษาการดูดซึมของแร่ธาตุสังกะสีชนิดต่างๆ ในคนพบว่า สารประกอบในรูป ซิงค์เมไธโอนิน จะถูกดูดซึมได้เร็ว ได้มาก และอยู่ในร่างกายได้นานที่สุด เมื่อเทียบกับซิงค์ในรูปแบบอื่นๆ นอกจากนี้ซิงค์เมไธโอนิน ยังให้ผลการรักษาสิวดีกว่าซิงค์ซัลเฟตอีกด้วย (อ่านวิธีบอกลาหน้าสิวเพื่อต้อนรับหน้าใสได้ที่นี่ 
https://www.megawecare.co.th/content/4638/say-goodbye-acne-say-hallo-new-face)

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 

1.  Rosado SL et al., Absorption of Zinc Sulfate, Methionine, and a Polyascorbate in the Presence and Absence of a Plant-Based Rural Mexican Diet, Nutrition Research 13: 1141-1151, 1993.

2.  Spears JW et al., Effects of Zinc Methionine and Zinc Oxide on Performance, Blood characteristics, and Antibody Titer Response to Viral Vacconation in Stressed Feeder Calves, Joumal of American Veterinary Medical Association, 199:1731-1733, 1999.

3.  Wedekind KJ, Hortin AE, Baker DH. Methodology for assessing zinc bioavailability: efficacy estimates for zinc-methionine, zinc sulfate,and zinc oxide. J Anim Sci 1992:70(1):178-187

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy