ตายแบบกะทันหัน รู้เท่าทันโรคหลอดเลือดหัวใจ

ตายแบบกะทันหัน รู้เท่าทันโรคหลอดเลือดหัวใจ

  ทุกคนควรต้องรู้ว่า... ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา จากการเก็บสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า อัตราการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลกมากกว่า 50% มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และคิดเป็น 31% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของคนทั่วโลก ซึ่งก็สอดคล้องกับสถิติของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย พบว่าเมื่อปี 2561 มีคนไทยที่ป่วยด้วยโรคนี้มากถึง 430,000 คน ตายทั้งสิ้น 21,000 คน และแนวโน้มของอัตราเสียชีวิตอันน่าตกใจนี้ก็เพิ่มสูงขึ้นในทุกปี ซึ่งต้นเหตุที่แท้จริงของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สามารถคร่าชีวิตคนหลายแสนคนทั่วโลกนี้ ก็มาจากการใช้ชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมการทานอาหาร รวมถึงเรื่องของการขาดการออกกำลังกายนั่นเอง

  ตั้งแต่ปี 1996 จนถึงปัจจุบัน สมาคมแพทย์โรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา (American Heart Association; AHA) ออกมาแนะนำให้คนทั่วโลกว่า เราควรรับประทานกรดไขมัน Omega-3 ทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน แต่ถึงกระนั้นอัตราการตายของโรคนี้ก็ยังคงพุ่งสูงขึ้น ซึ่งก็เป็นเพราะยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยยังไม่ตระหนัก ถึงการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้อย่างจริงจัง

คุณรู้จักโรคหัวใจและหลอดเลือดดีแค่ไหน

  มีหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าโรคนี้คืออะไร โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากการเกาะของคราบไขมันภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งไขมันเหล่านั้นเกิดจากการสะสมของไขมันคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ เมื่อมีไขมันเหล่านี้มากขึ้นก็ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด บางรายหัวใจวายและเสียชีวิตกะทันหัน

สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด
(ขอบคุณข้อมูลสนับสนุนจาก : https://www.pobpad.com)

ในทางการแพทย์ได้มีการระบุสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจเอาไว้ว่า เกิดจากการรวมตัวกันของไขมันที่ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจ โดยก้อนไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอลและของเสียอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและขัดขวางทางเดินของเลือด ร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดขึ้นก็ได้แก่

    คอเลสเตอรอล
ไขมันอิ่มตัวในอาหารที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ในร่างกาย แต่คอเลสเตอรอลในกระแสเลือดที่มากเกินไปก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ คอเลสเตอรอลแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่มี 2 ประเภทที่สำคัญ คือ LDL หรือ “ไขมันร้าย” คือตัวการปิดกั้นหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ ส่วน HDL หรือ “ไขมันดี” ทำหน้าที่นำไขมันร้ายออกจากเซลล์ต่าง ๆ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

    โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงส่งผลให้หัวใจทำงานหนักจนเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ

    การสูบบุหรี่
การสูบุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมากของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะสารพิษในบุหรี่จะส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจมากถึง 24% สารนิโคตินและก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ในควันบุหรี่ส่งผลให้หัวใจเกิดความเครียด มีอัตราการเต้นที่เร็วขึ้นในขณะพัก ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มหรือก้อนอีกด้วย

    โรคเบาหวาน
อีกหนึ่งโรคยอดฮิตของคนในปัจจุบัน เป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากถึง 2 เท่า ผนังหลอดเลือดที่หนาขึ้นอาจมีผลต่อการปิดกั้นการไหลเวียนของโลหิต และการมีระดับน้ำตาลสูงหรือควบคุมไม่ได้เป็นเวลานานจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเร็วขึ้นเช่นกัน

    ภาวะหลอดเลือดอุดตัน
หรือเป็นภาวะที่เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มหรือก้อนในเส้นเลือดใหญ่หรือหลอดเลือด มักเกิดขึ้นบริเวณเดิม และเกิดขึ้นกับหลอดเลือดหัวใจจะทำให้หลอดเลือดตีบและขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจในการสำรองเลือดได้ จึงอาจส่งผลต่อภาวะหัวใจวาย


This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy