รับมือความเครียดเฉียบพลันสำหรับคนเป็นโรคหัวใจ

รับมือความเครียดเฉียบพลันสำหรับคนเป็นโรคหัวใจ

รับมือความเครียดเฉียบพลันสำหรับคนเป็นโรคหัวใจ

     อาการ... ปริ๊ดแตก หรือเกิดอาการเครียดแบบเฉียบพลันไม่ว่าใครก็คงไม่อยากเจอ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจยิ่งอันตรายเมื่อมีความเครียดแบบปัจจุบันทันด่วน

     สาเหตุหนึ่งของการเจ็บหน้าอกแบบด่วน (Unstable Angina) คือ การที่หลอดเลือดหดตัวรุนแรงจนเลือดไหลไม่ได้ และก่อนตัวเป็นลิ่มมาอุดหลอดเลือดหัวใจไว้แบบทันทีทันใด และอุดแบบถาวรเกิน 20 นาทีแล้วก็ยังไม่หายเจ็บหน้าอก ซึ่งการเกิดอาการลักษณะนี้ต้องมีสาเหตุ เช่น ไขมันเลือดสูงขึ้น เกลือ (โซเดียม) ในเลือดสูงขึ้น หรือร่างกายขาดน้ำ รวมทั้งมีความเครียดเฉียบพลัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นตัวกระตุ้นที่ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ร่างกายใช้ออกซิเจนมากกว่าปกติ หลอดเลือดหัวใจหดตัวรุนแรง (ซึ่งบางครั้งหดตัวนานหลายนาทีไม่ยอมคลายตัว) เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย

      โดยอาการดังกล่าวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่สามารถสรุปอย่างละเอียดได้ แต่ที่ยืนยันก็คือภายใน 2 ชั่วโมงเมื่อเกิดความเครียดโดยเฉียบพลันสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว สามารถเกิดอาการหัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเสียชีวิตกะทันหันได้มากกว่าคนปกติถึง 8.5 เท่า

     การเอาตัวรอดจากอาการหัวใจวายของคนที่เป็นโรคหัวใจอันเนื่องมาจากเกิดความเครียดแบบปัจจุบันทันด่วนก็คือ ต้องมีสติ อย่าปล่อยให้ตัวเองโมโห พาตัวเองให้พ้นจากความเครียดนั้นทันที ด้วยการสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจอย่างช้า ต้องควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อร่างกาย ซึ่งเทคนิคเหล่านี้สำคัญมาก และจำเป็นสำหรับทุกคนโดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจ

ขอบคุณข้อมูลจาก :
 พ็อตเกตบุ๊ก 'สุขภาพดีได้ด้วยตัวเอง Good Health by yourself'  (หน้า 293-295) โดย นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy