เครียด จุดเริ่มต้นของโรคร้าย

เครียด จุดเริ่มต้นของโรคร้าย

‘เครียด’ จุดเริ่มต้นของโรคร้าย

     ณ ปัจจุบันมีหลายเหตุการณ์ในสังคมทำให้คนทั่วไปต้องตกอยู่ในภาวะเครียด ทั้งเรื่องสังคม  การเมืองเศรษฐกิจ รวมถึงข่าคราวเกี่ยวกับมลภาวะ และเขื้อโรคต่าง  ชีวิตความเป็นอยู่ที่นับวันก็มีแต่ความเร่งรีบ ยิ่งการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน ขาดเวลาใส่ใจดูแลสุขภาพ และเสี่ยงเกิดความเครียดสะสมแบบไม่รู้ตัว ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

     จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขเผยข้อมูลว่า ปัจจุบันคนไทยมีอัตราการป่วยเป็นโรคเครียดเพิ่มขึ้น รวมทั้งโรคที่มีความเชื่อมโยงกับความเครียดก็เพิ่มตามด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

  ความเครียดคืออะไร

  ผลกระทบจากความเครียด

  5 โรคร้ายที่มีความเครียดเป็นสาเหตุ

  วิตามินบีช่วยผ่อนคลายความเครียด 

ความเครียดคืออะไร

     ความเครียด เป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นสภาพจิตใจทางด้านลบ ทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ ตื่นกลัว วิตกกังวล เป็นสิ่งหนึ่งที่ร่างกายตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เรามีการตอบสนองต่อเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามากระทบร่างกายทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เช่น อาการเครียดแล้วปวดหัว อ่อนเพลีย เครียดลงกระเพาะทำให้ปวดท้อง หรือเครียดจนนอนไม่หลับทำให้ร่างกายพักผ่อนน้อย โดยความเครียดมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้

ความเครียดเฉียบพลัน (Acute stress)

     ความเครียดที่เกิดขึ้นและร่างกายก็ตอบสนองทันที โดยร่างกายจะกระตุ้นระบบต่างๆให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น รวมถึงระบบการเผลาผลาญจึงมีการใช้วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ และมีการหลั่งสารคอร์ติซอล เพื่อใช้ในการปรับสมดุลสภาวะเครียดที่เกิดขึ้น เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับสภาวะสู่ปกติเหมือนเดิม แต่อาจมีอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย มึนงง  เป็นอาการแสดงของภาวะเครียดในระยะเฉียบพลัน 

ความเครียดเรื้อรัง (Chronic stress)

     เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้นได้ทันทีแล้ว เมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสารคอร์ติซอลก็สะสมในร่างกาย ส่งผลต่อสภาวะการดำเนินชีวิตเช่นนอนไม่หลับ สมองเบลอ  เกิดภาวะเฉื่อยชา รวมถึงการเกิดโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งส่งผลต่อสภาพร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมในระยะยาว นอกจากสภาวะทางร่างกายและจิตใจแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันก็ทำงานลดน้อยลง ทำให้เกิดการเจ็บป่วยตามมาได้ง่าย

ผลกระทบจากความเครียด

     เมื่อภาวะเครียดเกิดขึ้นจะกระตุ้นระบบประสาทโดยอัตโนมัติ เมื่อบุคคลตกอยู่ในความเครียดเป็นเวลานาน จะทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลง เนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมน ซึ่งเป็นชีวเคมีที่สำคัญต่อมนุษย์ เพราะทำหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ภายใน ขณะเกิดความเครียดจะทำให้ต่อมใต้ถูกกระตุ้น ต่อมหมวกไตหลั่ง ‘ฮอร์โมนคอร์ติซอล’ (cortisol) เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดอาการทางกายหลายอย่างแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตั้งแต่ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย โดยภาวะความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้หลายด้าน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่กำลังพบเจออยู่ในขณะนั้น

     1. ทางด้านร่างกาย เกี่ยวกับสุขภาพ การเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ ทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงก็สามารภทำให้เกิดความเครียดได้ เช่น การได้รับบาดเจ็บ หกล้ม ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ

     2. ทางด้านจิตใจ เช่น ผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง ทำงานภายใต้ภาวะความกดดัน การเริ่มเข้าทำงาน การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง แม้แต่ช่วงวัยเรียนอย่างการสอบแข่งขันเข้าเรียน เหตุการณ์เหล่านี้จะกระตุ้นทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย หรือเป็นผู้ที่วิตกกังวลง่าย ขาดทักษะในการปรับตัว

     3. ทางด้านสังคม มีสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความบกพร่องในเรื่องของการปรับตัว ขาดผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือ เกิดความขัดแย้งในครอบครัว ทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นเป็นปกติวิสัย  มีสิ่งมากระตุ้นมากเกินความสามารถของตนเอง เช่น ระบบเศรษฐกิจ

     4. ทางด้านสภาพแวดล้อม เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปที่พบเจอขณะนั้น เช่น เสียงดังเกินไป จากเครื่องจักร เครื่องยนต์ อากาศเสียจากควันท่อไอเสีย น้ำเสีย ฝุ่น ละออง ยาฆ่าแมลง การอยู่กันอย่างเบียดเสียด ยัดเยียดเป็นต้น

5 โรคร้ายที่มีความเครียดเป็นสาเหตุ

     ความเครียดเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคร้าย โดยโรคที่มักพบได้มากคือ โรคความดันโลหิตสูง เมื่อร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ทิซอล (Cortisol) และอะดรินาลีน (Adrenaline) ออกมา ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดสูบฉีดมากขึ้น ผนังหลอดเลือดมีการหดเกร็งมากขึ้น จึงทำให้เกิดความดันเลือดสูงในช่วงที่เกิดความเครียด หากมีภาวะเป็นเวลานานและไม่ได้รับการรักษา ในอนาคตมีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคไมเกรน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ

1. โรคความดันโลหิตสูง

     จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่มีความวิตกกังวลหรืออยู่ในภาวะเครียด มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า โดยภาวะเครียดจากการทำงานซึ่งมีผลมาจากความทะเยอทะยานสูงและขาดการยับยั้งใจ จะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจช่องซ้ายโตอีกด้วย

2. โรคหัวใจ

     ความเครียดฉับพลันมีผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและมีผลเสียต่อหลอดเลือดหัวใจทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ซึ่งก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมาได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่แล้วมีโอกาสหัวใจวายได้สูงขึ้นกว่าปกติ

3. ไมเกรน

     เป็นอาการปวดหัวเรื้อรังชนิดหนึ่ง  โดยจะมีอาการปวดหัวข้างเดียวหรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วค่อยปวดทั้ง 2 ข้าง มักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง ความเครียดส่งผลให้สารซีโรโทนินในสมองพร่องไป การขาดซีโรโทนินจะทำให้หลอดเลือดเกิดพองขยายและหดตัวมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้

4. โรคนอนไม่หลับ

     เครียดนอนไม่หลับมักพบมากในช่วงวัยทำงาน เพราะได้รับความกดดันจากการทำงานและสภาพแวดล้อมที่พบเจอ จนเกิดภาวะความเครียดสะสม เป็นผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ร่างกายเริ่มอ่อนล้า อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ จิตใจเกิดความกังวลหรือมีผลต่อการคิดการตัดสินใจและการทำงานในช่วงกลางวัน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้ร่างกายทรุดหนัก

5. เครียดลงกระเพาะ

     เมื่อความเครียดสะสมเป็นเวลานาน เป็นเหมือนตัวจุดชนวนร่างกายกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมามากกว่าปกติ จึงทำให้มีอาการท้องผูก ท้องอืด ลำไส้แปรปรวน และสามารถเป็นกรดไหลย้อนได้

 

5-Disease-from-stress

 

วิตามินบีช่วยผ่อนคลายความเครียด

     เมื่อร่างกายต้องเผชิญกับภาวะเครียด สมองและระบบประสาทต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากและมีการใช้วิตามินบีที่มากขึ้นด้วย เพื่อเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในขบวนการสร้างพลังงานจากสารอาหาร ทำให้ในขณะเครียดวิตามินบีจึงถูกใช้หมดลงอย่างรวดเร็วผมก็คือระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงสมองและระบบประสาทจะขาดพลังงานในการทำงาน ซึ่งนำไปสู่ภาวะเครียดที่รุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้นคนที่มีภาวะเครียดจึงควรได้รับวิตามินบี ปริมาณสูงเพียงพอเพื่อใช้เปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงานแก่ระบบต่างๆ ของร่างกาย สมองและระบบประสาทได้ทันที  โดยแหล่งวิตามินบีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น  ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว ธัญพืชเมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี ขนมปังโฮลวีต นม ไข่แดง ปลา เนื้อออร์แกนิก เนื้อหมูไม่ติดมัน เป็นต้น

 

vitamin-B-food

 

     จากการศึกษาประโยชน์ของวิตามินบีปริมาณสูงต่อภาวะความเครียด มีความสำคัญที่ช่วยให้ผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง มีสมาธิ การเรียนรู้ และอารมณ์ที่ดีขึ้น ดังนั้นร่างกายจึงควรได้รับวิตามินบี แต่ละชนิด 25-300 มก. ต่อวัน โดยการเลือกรับประทานวิตามินบีควรเลือกแบบสูตรสมดุล เพื่อไม่ให้วิตามินบีแต่ละชนิดไม่ขัดขวางการดูดซึมซึ่งกันและกัน เพราะถ้าหากวิตามินบีชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป จะทำให้แย่งการดูดซึมวิตามินบีตัวอื่นได้

     การผ่อนคลายความเครียดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง เล่นเกม ทำสมาธิ หรือนอนหลับพักผ่อน ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเสริมด้วยวิตามินบีเป็นการช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงสมอง ลดความเครียดและมีอารมณ์ที่ดีขึ้น อย่าลืมใส่ใจสุขภาพของตัวเองเป็นอันดับแรก...ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.phyathai.com/article_detail/1812/th/ทำไมเครียดแล้วความดันสูง
https://www.sukumvithospital.com/content.php?id=3586#:~:text=เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะ,ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือด
https://pharmacy.mahidol.ac.th/en/knowledge/article/47/th/index.php
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/05142014-1901
https://medthai.com/วิตามินบีรวม/  
https://goodlifeupdate.com/healthy-body/disease/8352.html/4
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/963/Migraine
https://www.pobpad.com/เครียดลงกระเพาะ-รับมืออ

More-information-bottoncontact-specialist-for-information-botton

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy