ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการท้องเสีย

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการท้องเสีย

ท้องเสีย ป้องกันง่ายๆ ด้วยโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast)

     'ท้องเสีย' หรือ 'อุจจาระร่วงเฉียบพลัน' (Diarrhea) เป็นความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ (3 ครั้งขึ้นไป) หรือในบางครั้งอาจมีการถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียจากอาหารที่รับประทานซึ่งมีเชื้อโรคปะปนอยู่ ยิ่งในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิของอากาศเป็นส่วนสำคัญมากที่ทำให้อาหารมีโอกาสบูดเน่าเสียได้ง่ายขึ้น เพราะเชื้อโรคโดยเฉพาะแบคทีเรียจะสามารถเจริญเติบโตในอากาศร้อนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

  สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย

  สัญญาณแบบไหนถึงจะเรียกว่า... ท้องเสีย

  อาการท้องเสีย มีกี่ประเภท

  ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเกิดอาการท้องเสีย

  โปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ตัวช่วยชั้นดีแก้อาการท้องเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

  โปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) คืออะไร และดีต่อต่อระบบทางเดินอาหารอย่างไร

  เราจะหาโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ได้จากที่ไหน

 

สัญญาณแบบไหนถึงจะเรียกว่า... ท้องเสีย

     อาการของท้องเสียที่ชัดเจนก็คือ มีการถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ รวมทั้งบ่อยครั้งกว่าคนปกติ นอกจากนี้บางคนถ่ายเป็นมูกปนเลือด และเมื่อท้องเสียยังสามารถพบอาการอื่นๆ แทรกซ้อนอีกด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด อ่อนเพลีย และเป็นไข้

     บางกรณีอาการท้องเสียสามารถหายได้เอง เมื่อถ่ายอุจจาระเอาเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหารออกไปจนหมด แต่บางคนก็รุนแรงมีอาการถ่ายเหลวเกิน 2 วัน จนร่างกายขาดน้ำ บางคนมีไข้ขึ้นสูง ปวดท้องมาก
และถ่ายมีอุจจาระสีดำปนเลือดออกมา หากมีอาการที่รุนแรงลักษณะนี้ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะเสี่ยงกับภาวะช็อคหมดสติ และเสียชีวิตได้

อาการท้องเสีย มีกี่ประเภท

      อาการท้องเสีย เป็นหนึ่งในความผิดปกติของระบบทางเดินทางอาหารที่ทางการแพทย์สามารถแบ่งสาเหตุออกได้ 2 ประเภทดังนี้

1.  ท้องเสียแบบเฉียบพลัน

     เป็นอาการท้องเสียแบบเฉียบพลัน เนื่องจากร่างกายจะได้รับเชื้อโรคมาจากการปนเปื้อนในน้ำหรืออาหารที่รับประทาน โดยเชื้อโรคดังกล่าวสามารถเป็นได้ทั้ง เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต อย่างไรก็ตามอาการท้องเสียเฉียบพลันยังสามารถเกิดได้จากปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การรับประทานรสจัด รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป

2.  ท้องเสียแบบเรื้อรัง

     อย่างที่กล่าวไปข้างต้น อาการท้องเสียสามารถบรรเทาและหายได้เองภายในไม่เกิน 7 วัน แต่สำหรับอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกัน 14 วันขึ้นไป ทางการแพทย์เรียกว่าเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งก็อาจมีปัจจัยมาจากโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป เพราะบางคนจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะการย่อยสารอาหารบางประเภท

ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเกิดอาการท้องเสีย

     กรณีของผู้ที่มีอาการท้องเสียเฉียบพลัน บางคนไม่ต้องไปพบแพทย์ เพราะอาการจะดีขึ้นได้เอง เมื่อถ่ายอุจจาระเอาเชื้อโรคออกจากระบบทางเดินอาหารไปจนหมด ซึ่งในระหว่างที่มีอาการควรดื่มน้ำมากๆ หรือดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปจากการอุจจาระ นอกจากนี้ยังสามารถกินยาเพื่อบรรเทาอาการท้องเสียควบคู่ไปด้วยก็ได้ ซึ่งยาที่ใช้เพื่อบรรเทานี้จะช่วยดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหารและอาจช่วยยับยั้งเชื้อโรค

     แต่ส่วนในกรณีผู้ที่ท้องเสียเป็นระยะเวลานานเกิน 14 วัน หรือที่เรียกว่าท้องเสียเรื้อรัง หากรักษาวิธีเบื้องต้นในช่วงแรกแล้วไม่ดีขึ้น ควรต้องรีบไปพบแพทย์เป็นการด่วน เพราะอาการท้องเสียลักษณะนี้อาจมีความเชื่อมโยงกับโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่รุนแรงมากกว่า เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน รวมทั้งความผิดปกติในระบบอื่นๆ จึงจำเป็นที่ต้องใช้การตรวจอย่างละเอียด

โปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ตัวช่วยชั้นดีแก้อาการท้องเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

     การรักษาอาการท้องเสียในวิธีเบื้องต้นที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งวิธีซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบันมากกว่าการกินแก้ท้องเสียก็คือ การรักษาด้วยโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast)

     ทางการแพทย์นำเอาวิธีการใช้โปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) เข้าเสริมเพื่อใช้รักษาและป้องกันและรักษาโรคในมนุษย์หลายกรณี ในอดีต Naaber et al. (1998) ได้รายงานถึงประสิทธิภาพของโพรไบโอติกส์ ยีสต์ ต่อการยับยั้งการติดเชื้อ Clostridium difficile ในหนูทดลอง Pinchuk et al. (2001) พบว่าโพรไบโอติกส์ในกลุ่ม Bacillus subtilis สามารถยับยั้งเชื้อโรคในกลุ่ม Helicobacter pylori ได้ดี โปรไบโอติก (Probiotic) ยังสามารถนำ มาเป็นแนวทางในการป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจที่มีสาเหตุมาจากปริมาณโคเลสเตอรอลสูงในมนุษย์ได้ (Usman and Hosono, 2000) มีการค้นพบว่าโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) แบคทีเรียสามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เพิ่มปริมาณในระดับที่สูงขึ้นในคนไข้ (Fuller and Gibson, 1997) การเพิ่มขึ้นของโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ในระบบทางเดินอาหารนั้น จะสามารถลดโคลิฟอร์มก่อโรคในบริเวณทางเดินอาหารได้ (Francis et al., 1978; Jin et 5 al., 1996; Watkins and Miller, 1983; Adami and Cavazzoni, 1999; Maruta et al., 1996)

Type-of-probiotic-yeast

โปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) คืออะไร และดีต่อต่อระบบทางเดินอาหารอย่างไร

     ในบริเวณภายในลำไส้ของคนเรา จะมีเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียหรือยีสต์อาศัยอยู่ โดยจะมีทั้งแบบที่ให้ประโยชน์และให้โทษกับร่างกาย ซึ่งโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) คือกลุ่มจุลินทรีย์แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ ยิ่งเมื่อมีปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมจะช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่นๆ ของร่างกายให้เกิดความสมดุล เนื่องจากจุลินทรีย์ดังกล่าวมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร การป้องกันโรค และการรักษาความผิดปกติในร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ช่วยรักษาอาการท้องเสียเฉียบพลัน และเรื้อรังได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน หรือภาวะการที่ลำไส้อักเสบจากการที่ได้รับยาปฏิชีวนะ รวมทั้งท้องผูกเรื้อรังก็มีงานวิจัยรับรองว่าสามารถใช้โปรไบโอติก (Probiotic) รักษาได้เช่นกัน

     นอกจากโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) จะปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้แล้ว ยังส่งผลดีต่อร่างกายหลายด้าน ทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และอาจช่วยป้องกันโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ และในการวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นพบกว่า การบริโภคโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ยังเป็นการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีโดยตรงที่สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่อยากลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้ด้วย

เราจะหาโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ได้จากที่ไหน

     คนส่วนใหญ่รู้ดีกว่า อาหารในธรรมชาติที่ได้รับการยอมรับว่ามีปริมาณโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) สูงก็คือโยเกิร์ต และนมเปรี้ยว ซึ่งเป็นอาหารที่ต้องมีการเก็บในอุณหภูมิ 2-8 องศาตลอดเวลา จึงเป็นข้อจำกัดที่เราต้องพิจารณาอย่างละเอียดว่าโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยวที่เราเลือกซื้อมารับประทานนั้นยังมีโปรไบโอติกที่มีคุณภาพมากน้อยขนาดไหน เพราะไม่สามารถเห็นได้ว่ามีการเก็บอาหารในตู้เย็นตลอดเวลาหรือไม่

     นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกหลายประเภทซึ่งอุดมไปด้วยโปรไบโอติกที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย แต่ไม่ต้องเก็บในตู้เย็นเหมือนกับโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว อย่างเช่น กิมจิ (อาหารยอดนิยมของเกาหลี) ซุปมิโสะ แตงกวาดอง ชีสบางประเภท เช่น เชดด้าชีส หรือมอสซาเรลลาชีส

Probiotic-foods

     นอกจากนี้เราสามารถหาโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ได้จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทดแทนได้ ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบเม็ด แคปซูล และแบบผง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาในการรับประทานอาหารจากธรรมชาติไม่ได้ (ในประเภทข้างต้น) ยังเป็นการยืนยันว่าร่างกายจะได้รับโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ที่เพียงพอ มีคุณภาพและปลอดภัยต่อร่างกาย สามารถช่วยรักษา ป้องกันอาการท้องเสีย และโรคต่างๆ ในระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย

     แต่การเลือกรับประทานโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ก็ควรจะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด ที่สำคัญต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะโปรไบโอติก ยีสต์มีหลายชนิดควรเลือกซื้อสายพันธุ์เฉพาะที่มีการศึกษามาในเรื่องการต่อต้านเชื้อโรคเพื่อรักษาอาการท้องเสียโดยตรง ดังนั้นผู้ที่ต้องการรับประทานต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และเมื่อตัดสินใจเลือกซื้อก็ควรเลือกซื้อยี่ห้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตที่เชื่อถือได้ด้วย
     ส่วนโปรไบโอติกส์ ยีนส์ (Probiotic Yeast) ที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ซื้อเพื่อแก้ปัญหาอาการท้องเสียเป็นสายพันธุ์ที่ชื่อว่า Saccharomyces cerevisiae (Boulardii)  ซึ่งเป็นยีสต์ชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มของโปรไบโอติก สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร แต่เป็นชนิดที่ไม่มีอยู่ในร่างกายคนตามธรรมชาติ ซึ่งมีการใช้แซคคาโคไมซิส (Saccharomyces boulardii) ในกรณีป้องกันและรักษาอาการท้องเสียเฉียบพลันในนักท่องเที่ยว และผู้สูงอายุที่เกิดจากการติดเชื้อ Clostidium difficile ในลำไส้ใหญ่หลังจากการรับประทานยาปฏิชีวนะและป้องกันการเกิดซ้ำของโรคได้ โดยเฉพาะการใช้ต่อเนื่อง 28 วัน พบว่าช่วยลดโอกาสการเกิดซ้ำเหลือเพียงร้อยละ 34.6 ซึ่งการใช้โปรไบโอติกส์ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae (Boulardii) ในการดูแลสุขภาพของลำไส้จะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย 2 ประการด้วยกันคือ 

1.  เป็นโปรไบโอติกส์ยีสต์ที่มีความทนต่อภาวะกรด-ด่าง (pH) ต่างๆ ในทางเดินอาหาร จึงมั่นใจได้ว่าเป็นโปรไบโอติกส์ที่สามารถมีชีวิตรอดในทางเดินอาหาร และสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย หรือส่งเสริมสุขภาพของลำไส้ได้จริง

2.  เป็นโปรไบโอติกส์ยีสต์ที่ไม่ถูกทำลายด้วยยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงช่วยลดอาการท้องเสียจากการใช้ยา หรือ ผลข้างเคียงของยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้

 


ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.nonthavej.co.th/Probiotics.php
https://www.pobpad.com/probiotics-จุลินทรีย์ชั้นดี-ลดโร
https://www.bumrungrad.com/th

More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy