เทรนด์สุขภาพประจำเดือนพฤษภาคม 2564

เทรนด์สุขภาพประจำเดือนพฤษภาคม 2564

ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนและการดูแลตัวเองเพื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี

     เป้าหมายของการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19  เพื่อลดความรุนแรงของอาการป่วยและลดอัตราการเสียชีวิต ได้รับการยืนยันจากองค์การอนามัยโลก (WHO)แล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือเป็นประจำและเลี่ยงพื้นที่แออัด แต่เนื่องจากปริมาณของวัคซีนมีจำกัด กลุ่มเป้าหมายในระยะแรกคือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสโรคสูง ลำดับต่อมาเป็นกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มเป้าหมายในระยะถัดไปเมื่อมีปริมาณวัคซีนมากขึ้นคือ ประชาชนทั่วไป

     ซึ่งข้อยกเว้นของหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ยังไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน เนื่องจากยังไม่มีผลการทดลองที่ชัดเจนกับกลุ่มผู้ที่ตั้งครรภ์ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาระหว่างความรุนแรงที่เกิดหากติดเชื้อ COVID-19 กับอาการข้างเคียงของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้น

     ณ ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จากบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ที่ได้รับการอนุมัติและใช้กันแล้วในต่างประเทศ ได้แก่

1. วัคซีนไฟเซอร์ ไบโอเทค (Pfizer-BioNTech)

     เป็นวัคซีนประเภท mRNA ซึ่งผู้ผลิตจากสหรัฐอเมริกาที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ถึง 50 ประเทศ ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ฉีดกับคนที่มีตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 อยู่ที่ 95% หลังได้รับการฉีดครบ 2 โดส ภายในระยะเวลา 21 วัน โดยผลลัพท์กันป้องกัน COVID-19 ได้ดีและครอบคลุมเกือบทุกกลุ่มอายุและชาติพันธุ์ โดยผลข้างเคียงอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีน

2. วัคซีนแอสตร้า เซนเนก้า (AstraZeneca)

     เป็นวัคซีนประเภทไวรัลเวกเตอร์ ผู้ผลิตจากประเทศอังกฤษ ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ฉีดกับคนที่มีตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 อยู่ที่ 70.4% หลังได้รับการฉีดครบ 2 โดส ภายในระยะเวลา 28 วัน อาจจะมีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ แต่รายงานจากองค์กรยาของสหภาพยุโรป (EMA) ระบุว่ามีความเสี่ยงที่ต่ำ อย่างไรก็ตามมีคำแนะนำสำหรับผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนว่าหากมีอาการปวดหัวรุนแรง ตาพร่ามัว เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ขาบวม ปวดท้องอย่างต่อเนื่อง มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที

3. วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson)

     เป็นวัคซีนประเภทไวรัลเวกเตอร์ ผู้ผลิตจากสหรัฐอเมริกา ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ฉีดกับคนที่มีตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ได้พัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยสูงถึง 66.9% ในผู้ป่วย COVID-19 ระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง และจุดเด่นของวัคซีนตัวนี้คือ ฉีดเพียงแค่เข็มเดียวเท่านั้น อ่อนเพลีย ปวดหัวและเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันมีอาการคล้ายๆ กับวัคซีนแอสตร้า เซนเนก้า

4. วัคซีนซีโนแวค (Sinovac)

     เป็นวัคซีนประเภทเชื้อตาย ผู้ผลิตจากประเทศจีน ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ฉีดกับคนที่มีตั้งแต่ 18-59 ปี มีประสิทธิภาพของวัคซีน COVID-19 ว่า มีประสิทธิภาพเฉลี่ย 50.38% ผลข้างเคียงคืออาการปวดหัว เป็นไข้อ่อนๆ และไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวโรคหลอดเลือดสมอง

5. วัคซีนโมเดอร์น่า (Moderna)

     เป็นวัคซีนประเภท mRNA ซึ่งผู้ผลิตจากสหรัฐอเมริกา ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ฉีดกับคนที่มีตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 อยู่ที่ 94.1% หลังได้รับการฉีดครบ 2 โดส ภายในระยะเวลา 28 วัน

 

 

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน

     1. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
     2. ดื่มน้ำเยอะๆ 0.5-1 ลิตร
     3. งดดื่ม ชา กาแฟ
     4. งดทานยาไมเกรน บางชนิด กรณีที่มีโรคประจำตัวไมเกรน

     อย่างไรก็ตามการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่มีจะเป็นเชื้อโรค หรือไวรัสอะไรก็ไม่สามารถทำอะไรกับสุขภาพและร่างกายของเราได้ หากมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมั่นออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้หัวใจได้สูบฉีด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายครบถ้วน ลดอาหารประเภทน้ำตาล แป้งขัดสี หรือคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ดี ทานไขมันดี เลี่ยงไขมันทรานส์  เน้นรับประทานผลไม้และผักที่สดใหม่ และหลากหลาย ให้ได้ปริมาณ 10 เซิร์ฟวิ่งต่อวัน เนื่องจากผักและผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินซีที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มทำงานและความแข็งแรงของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อไวรัส และช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรคได้ดีขึ้น เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะเป็นทหารที่คอยดูแลปกป้องร่างกายเรา เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นควรต้องรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงอยู่เป็นประจำเพื่อป้องกันการขาดวิตามินซี

     ถ้าหากร่างกายเราอ่อนแอลง เชื้อโรคต่างๆ จะสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ทำให้ร่างกายเริ่มมีอาการแสดงต่างๆ ตั้งแต่อาการไข้ น้ำมูกไหล ไอ ระคายคอ เจ็บคอ และการรักษาของโรค COVID-19 ยังไม่มียาหรือ สมุนไพรใดๆ ที่สามารถรักษาได้โดยตรง อีกทั้งยังไม่มียาที่ระบุได้อย่างชัดเจน โดยยาที่ใช้ตอนนี้จะเป็นสูตรยา 3 ตัว ร่วมกันระหว่าง ยาต้านไวรัส ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และยารักษามาลาเรีย ใช้รักษาร่วมกัน แต่ในการดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น การออกกำลังกายระดับปานกลาง สัปดาห์ละ 150 นาที วันละ 30 นาที การเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  ผ่อนคลายความเครียด และปล่อยวางความคิด ยังรวมไปถึงการรับประทานสมุนไพรที่มีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การเลือกใช้สมุนไพร ‘เอ็กไคนาเซีย’ (Echinacea) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ปลอยภัยต่อร่างกาย ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในแถบยุโรป ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพิ่มการทำงานของเม็ดดลือดขาวกำจัดไวรัสและสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

Carr, A. C., & Maggini, S. (2017). Vitamin C and immune function. Nutrients, 9(11), 1211.

Aucoin, M., Cooley, K., Saunders, P. R., Carè, J., Anheyer, D., Medina, D. N., ... & Garber, A. (2020). The effect of Echinacea spp. on the prevention or treatment of COVID-19 and other respiratory tract infections in humans: A rapid review. Advances in integrative medicine, 7(4), 203-217.

Meeran, M. N., Javed, H., Sharma, C., Goyal, S. N., Kumar, S., Jha, N. K., & Ojha, S. (2021). Can Echinacea be a potential candidate to target immunity, inflammation, and infection-The trinity of coronavirus disease 2019. Heliyon, 7(2), e05990.

Hudson, J., & Vimalanathan, S. (2011). Echinacea—A source of potent antivirals for respiratory virus infections. Pharmaceuticals, 4(7), 1019-1031.

Rayman, M. P., & Calder, P. C. (2021). Optimising COVID-19 vaccine efficacy by ensuring nutritional adequacy. British Journal of Nutrition, 1-2.

https://www.med.cmu.ac.th/covid19/ข่าวเด่น/3455/
https://www.praram9.com/covid19-pregnancy/
https://www.praram9.com/covid19-vaccine/
https://mgronline.com/qol/detail/9640000016523
https://www.bangkokhospital.com/content/know-well-before-getting-the-covid-19-vaccine



This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy