“ริดสีดวงทวาร และท้องผูก” ป้องกันได้ด้วยพรีไบโอติก

“ริดสีดวงทวาร และท้องผูก” ป้องกันได้ด้วยพรีไบโอติก

จากสถิติของแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญ หนึ่งในปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบขับถ่ายและทางเดินอาหารที่คนไทยมีแนวโน้มเสี่ยงที่เป็นมากขึ้นก็คือ โรคริดสีดวงทวาร  (Hemorrhoids) ซึ่งเป็นโรคที่มีสิ่งผิดปกติยื่นออกมาจากร่างกาย ส่วนที่ยื่นออกมาจะมีลักษณะคล้ายติ่งเนื้อ และเกิดขึ้นบริเวณทวารหนัก 

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

 “ริดสีดวงทวาร และท้องผูก” ป้องกันได้ด้วยพรีไบโอติก (Prebiotic)

  ลดอาการ “ท้องผูก” ยิ่งลดโอกาสการเป็นริดสีดวงทวาร

 พรีไบโอติก (Prebiotic) กากใยอาหารต่อต้านอาการท้องผูก

 พรีไบโอติก (Prebiotic) คืออะไร

 ประโยชน์ของพรีไบโอติก (Prebiotic) ไม่ได้มีดีแค่ช่วยแก้ท้องผูก

 ใครบ้างที่เหมาะกับการกินพรีไบโอติก (Prebiotic)

“ริดสีดวงทวาร และท้องผูก” ป้องกันได้ด้วยพรีไบโอติก (Prebiotic)

     จากสถิติของแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญ หนึ่งในปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบขับถ่ายและทางเดินอาหารที่คนไทยมีแนวโน้มเสี่ยงที่เป็นมากขึ้นก็คือ โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) ซึ่งเป็นโรคที่มีสิ่งผิดปกติยื่นออกมาจากร่างกาย ส่วนที่ยื่นออกมาจะมีลักษณะคล้ายติ่งเนื้อ และเกิดขึ้นบริเวณทวารหนัก

     สาเหตุของโรคริดสีดวงทวารหนักของคนไทยมากที่สุดในปัจจุบันเกิดจาก “ปัญหาท้องผูก” ที่ส่งผลให้พฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระต้องเบ่งถ่ายบ่อยๆ และเป็นเวลานาน จากท้องผูกปกติก็กลายเป็นท้องผูกเรื้อรัง

     ชีวิตประจำวันของบางคนก็อาจส่งผลเสียหรือทำให้เกิดปัญหาได้เช่น  การกลั้นอุจจาระเป็นประจำ อาการท้องเสียเรื้อรัง รวมทั้งชอบใช้ยาระบายหรือยาสวนทวารบ่อยครั้งเมื่อเกิดปัญหาอุจจาระไม่ออก ซึ่งอาการของโรคริดสีดวงสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ โดยแต่ละระยะจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน แตกต่างกันที่อาการที่แสดงออกมา เช่น การบวมอักเสบ และขนาดของริดสีดวง รวมถึงอาการแทรกซ้อนต่างๆ



 

 ลดอาการ “ท้องผูก” ยิ่งลดโอกาสการเป็นริดสีดวงทวาร

     อย่างที่ทราบว่า ‘ท้องผูก’ คือหนึ่งในจุดเริ่มต้นของการเป็นโรคริดสีดวงทวาร และสาเหตุหลักของอาการท้องผูกของคนไทยในปัจจุบันก็มาจากพฤติกรรมการกินอาหารในชีวิตประจำวันที่นิยมบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่าการกินพืชผักและผลไม้ เช่น การกินหมูกะทะ อาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ต่างๆ รวมถึงการดื่มน้ำที่น้อยเกินไป

     แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความรู้ไว้ว่าอาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้ง หรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย ตราบใดที่ยังสามารถขับถ่ายได้เป็นปกติ ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระยังมีลักษณะนิ่ม และจับตัวเป็นก้อน ถึงแม้จะถ่าย 2-3 วันต่อครั้งก็ยังไม่ถือว่าระบบขับถ่ายผิดปกติ

      แต่หากเมื่อใดที่การขับถ่ายแต่ละครั้งต้องใช้เวลานานมากว่า 30 นาที เพื่อการเบ่งถ่าย หรือการขับถ่ายมีลักษณะเหมือนไม่สุด ปริมาณอุจจาระออกมาน้อย และมีลักษณะเป็นเม็ดแข็ง เกิดความอึดอัดไม่สบายและแน่นท้อง นั่นก็คือ สัญญาณของอาการของท้องผูกอย่างชัดเจน

      แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่ากว่า 50% ของผู้ที่ประสบปัญหากับอาการท้องผูกสามารถกลับมาขับถ่ายได้เป็นปกติ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น

  ลดปริมาณการกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ (ประเภทเนื้อแดง) ให้น้อยลง เช่น เนื้อวัว เนื้อวัว เนื้อแกะ เพราะอาหารประเภทนี้มีโปรตีนและไขมันสูง ส่งผลให้กับระบบย่อยอาหารต้องทำงานอย่างหนัก เสี่ยงกับภาวะย่อยยาก ดังนั้นผู้ที่ชื่นชอบการกินปิ้งย่างหรือหมูกะทะต้องระวังเป็นพิเศษ

   ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์ (Fiber) ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณอุจจาระ และเป็นการกระตุ้นการเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่ให้เร็วขึ้น

  ในแต่ละวันควรดื่มน้ำในปริมาณที่มากพอ เพื่อช่วยให้อุจจาระมีความอ่อนนุ่ม ช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

  พยายามออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เป็นประจำ เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นและในแต่ละวันควรลุกขึ้นเดินเพื่อขยับเขยื้อนร่างกาย อย่านั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ 



พรีไบโอติก (Prebiotic) กากใยอาหารต่อต้านอาการท้องผูก    

     วิธีแก้ปัญหาของคนทั่วไปเมื่อเกิดอาการท้องผูก   กว่า 80% เลือกการซื้อยาถ่ายหรือยาระบาย เพราะสะดวกสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าการกินยาถ่ายหรือยาระบายต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือกินทุกครั้งที่เกิดอาการจะส่งผลเสียต่อระบบขับถ่ายถาวร  

     นั่นก็คือร่างกายของเราจะคุ้นชินกับการขับถ่ายที่ได้รับการกระตุ้นจากยาเท่านั้น ไม่บีบรัดตัวเองและขับถ่ายตามธรรมชาติ หรือเรียกในภาษาทั่วไปก็คือ อาการดื้อยา เมื่อไม่กินก็จะขับถ่ายไม่ได้ หรืออาจจะต้องเพิ่มปริมาณในการกินยาให้มากขึ้นไปอีก ท้ายที่สุดก็เป็นโรคต่างๆ เกี่ยวกับการขับถ่ายตามมากมาย

พรีไบโอติก (Prebiotic) คืออะไร                   

      พรีไบโอติก (Prebiotic) คือ สารอาหารที่ไม่มีชีวิต  มีลักษณะเป็นเส้นใยอาหารที่จะไม่ถูกย่อยในกระเพาะอาหารโดยให้คุณค่าในการช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ใหญ่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แลคโตบาซิลลัส และ บิฟิโดแบคทีเรีย ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่จะสามารถทนต่อน้ำย่อย กรด ด่าง ในกระเพาะและลำไส้ได้ จึงเกิดประโยชน์ในการหมักและย่อยอาหาร ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ หรือสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือพรีไบโอติก (Prebiotic) คืออาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีหรือที่เรียกว่า โปรไบโอติก (Probiotic) ที่สามารถไปช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีให้มีมากในลำไส้นั่นเอง แต่ที่สำคัญในร่างกายของคนเราจะต้องมีทั้ง พรีไบโอติก (Prebiotic) และโปรไบโอติก (Probiotic) อย่างเพียงพอถึงจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และระบบขับถ่าย

      พรีไบโอติก (Prebiotic) สามารถพบได้ในผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักหรือผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอย่างไฟเบอร์และอาหารกลุ่มแป้งที่ร่างกายย่อยไม่ได้หรือย่อยได้อย่างช้าๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด หัวหอม ธัญพืชประเภทถั่วเหลือง ฝรั่ง กล้วย แอปเปิ้ล และมะเขือเทศ เป็นต้น

ประโยชน์ของพรีไบโอติก (Prebiotic) ไม่ได้มีดีแค่ช่วยแก้ท้องผูก

     คุณค่าของพรีไบโอติก (Prebiotic) ไม่ใช่แค่ช่วยป้องกันอาการท้องผูกเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆไม่ว่าจะเป็น

  ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย 

เพราะพรีไบโอติกสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด macrophages ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในทางเดินอาหารดีขึ้น

   ป้องกันอาการท้องเสีย

โดยเฉพาะที่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินอาหารการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ จะช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ก่อโรค ลดโอกาสการติดเชื้อ

  ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด 

เนื่องจากพรีไบโอติก (Prebiotic) ช่วยจับกับไขมันและน้ำตาลในทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันได้ช้าลง และเพิ่มการขับออกของโคเลสเตอรอล

  เสริมสร้างการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียม  

จุลินทรีย์ในลำไส้จะผลิตกรดไขมันสายสั้นที่มีความเป็นกรด ซึ่งจะช่วยดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก

  ช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนัก 

ใยอาหารจากพรีไบโอติก จะถูกหมักด้วยจุลินทรีย์ในลำไส้เกิดเป็นกรดไขมันสายสั้น เช่น บิวทิเรท ซึ่งจะกระตุ้นการหลั่ง GLP-1 (Glucagons like peptide) ไปในกระแสเลือด ทำให้สมองรับรู้ความรู้สึกอิ่ม และสบายท้อง

  ช่วยปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ 

เนื่องด้วยความเป็นใยอาหารของพรีไบโอติก สามารถช่วยดูดซับสารพิษและสารก่อมะเร็งในทางเดินอาหารไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และยังทำให้อุจจาระมีกากใยและนิ่ม สะดวกต่อการขับถ่าย

ใครบ้างที่เหมาะกับการกินพรีไบโอติก (Prebiotic)

      พรีไบโอติก (Prebiotic) ไม่ได้เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาท้องผูกเท่านั้น ยังเหมาะกับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องผูกเรื้อรัง คนที่มีความผิดปกติในการขับถ่าย เช่น ถ่ายเหลวบ่อย หรือติดเชื้อในทางเดินอาหารง่ายกว่าคนทั่วไป รวมทั้งคนที่ต้องการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้เด็กทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ก็สามารถกินได้เช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก :

www.pobpad.com
www.bumrungrad.com

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy