แต่ละช่วงชีวิตของคนเรา ‘สมอง’ ต้องทำงานอย่างหนักในการทำหน้าที่ควบคุมร่างกายคนเรา การแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ การแสดงความรู้สึกนึกคิด การเคลื่อนไหว รวมถึงความฉลาด ทุกอย่างล้วนตั้งต้นมาจากสมองของเราทั้งสิ้น
มีผู้เชี่ยวชาญเคยบอกไว้ว่า ‘ความฉลาดของคนเราสามารถกำหนดได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา’ ฉลาดมากหรือฉลาดน้อย ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางสมอง
ความแตกต่างในการพัฒนาสมองของแต่ละคนเกิดจากพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก เช่น พ่อแม่เป็นคนฉลาดก็มีโอกาสที่ความฉลาดจะถูกส่งต่อไปยังลูก ปัจจัยต่อมาคือ สิ่งแวดล้อม การที่คนเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีตั้งแต่เด็ก สมองก็จะได้รับการป้อนข้อมูลที่ดีเข้าสู่สมอง ได้เห็น ได้สัมผัส ได้เรียนรู้ในภาวะแวดล้อมที่ดี ส่วนสิ่งสุดท้ายที่เป็นปัจจัยซึ่งสามารถกำหนดได้นั่นก็คือ การพัฒนาสมองด้วยอาหาร ซึ่งปัจจัยนี้สามารถช่วยให้สมองของเด็กได้รับการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์
เริ่มจากแม่ที่ต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ที่เอื้อต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมองของลูก เมื่อคลอดออกมาเป็นทารกก็ต้องเสริมด้วย สารอาหารที่เป็นการต่อยอดให้มากยิ่งขึ้น เพราะการขาดสารอาหารที่จำเป็นส่งผลให้ร่างกายและสมองเติบโตได้ช้า หรือไม่เติบโตเลยทีเดียว
สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย
วัยเด็ก : ช่วงเวลาทองแห่งการพัฒนาสมอง (แรกเกิด – 9 ปี)
วัยรุ่น : วัยแห่งการเรียนรู้สู่การพัฒนาสมองถึงขีดสุด (อายุ 10 - 18 ปี)
วัยรุ่น : วัยแห่งการเรียนรู้สู่การพัฒนาสมองถึงขีดสุด (อายุ 10 - 18 ปี)
วัยผู้ใหญ่ : ความรับผิดชอบที่มาพร้อมกับความเครียด (อายุ 18-65 ปี)
ใครว่า ‘น้ำมันปลา’ ยี่ห้อไหนก็เหมือนกัน
หลักเกณฑ์การเลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับในระดับสากลก็คือ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพสมองในเด็กของ Harvard มหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลกของสหรัฐฯ ได้กล่าวไว้ว่า "ตั้งแต่เกิดจนถึง 6 ขวบ คือ ช่วงเวลาที่สมองจะได้รับการพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด" ซึ่งการเติบโตของสมองคนเราจะเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ดังนั้นการที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองอย่างเต็มที่ แม่ต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมเสริมด้วยสารอาหารต่างๆ ที่เหมาะกับทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เด็กฉลาดและมีพัฒนาการที่ดี
อาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อเด็กในวัยนี้มีมากมาย เช่น ไข่แดง ตับ ธัญพืช และเนื้อสัตว์ ซึ่งหากเป็นหมวดหมู่ของเนื้อสัตว์ เราขอแนะนำให้เด็กรับประทานปลาเป็นประจำ รวมถึงแม่ในขณะตั้งครรภ์ด้วย เพราะสารอาหารที่มีประโยชน์อย่าง Omega-3 จะเป็นกุญแจสำคัญที่สุดในการพัฒนาสมองและเซลล์ประสาท ซึ่งเคยมีงานวิจัยทำการทดลองกับกลุ่มเด็กทารกที่ได้รับ Omega-3 จะมีความฉลาดกว่า มีไอคิวที่ดีกว่าเมื่อโตขึ้นหากเปรียบเทียบกับเด็กทารกที่ไม่ได้รับ Omega-3 อย่างเพียงพอ
รู้หรือไม่ : การพัฒนาสมองและสายตาของทารก เด็กก่อนวัยเรียนและในวัยเรียน กรดไขมัน Omega-3 ที่ประกอบไปด้วย DHA(ดีเอชเอ) มีส่วนสำคัญมาก ควรจะได้รับ วันละ 100 – 300 มิลลิกรัม
เมื่อผ่านช่วงเวลาของการพัฒนาสมองในวัยเด็กมาแล้ว มาถึงช่วง ‘วัยรุ่น’ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมน จิตใจ สภาพร่างกาย เช่นเดียวกับสมองก็ยังคงต้องพัฒนาต่อไป แต่จะเริ่มมีความคิดความอ่านเหมือนวัยผู้ใหญ่ มีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ซับซ้อนได้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการเรียน การแสดงออกทางพฤติกรรม ความคิดความอ่าน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่กระบวนการของระบบสมองในวัยรุ่นสะท้อนให้เห็นออกมาอย่างชัดเจน ที่สำคัญเป็นอีกช่วงวัยที่ผู้ใหญ่ต้องใกล้ชิดและให้ความสำคัญไม่แพ้วัยเด็กเช่นกัน
ในช่วงวัยนี้นอกจากการใช้สมองในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และปรับตัวให้เข้ากับสังคมเพิ่มมากขึ้น สมองยังเริ่มเผชิญกับความเครียดที่ได้มาจากสังคมรอบข้าง เพื่อน และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในชีวิต เช่น การเข้าสังคมที่ต่างออกไป การแข่งขันในรูปแบบต่างๆ ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความเครียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อีกทั้งวัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบทำอะไรตามกระแส ตามกลุ่มเพื่อน ไม่เว้นแม้แต่เรื่องการบริโภคอาหาร ทำให้เด็กในวัยนี้นิยมรับประทาน ‘อาหารขยะ’ (Junk Food ) ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารน้อยหรือบางอย่างไม่มีเลย ส่งผลให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นในการพัฒนาระบบต่างๆ ของร่างกาย และพอเข้าสู่วัยผู้ใหญ่สิ่งที่สะสมอยู่ในร่างกายก็จะแสดงออกมาโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับสมอง เช่น อาการสมองเสื่อม
การบริหารสมองด้วยการออกกำลังกาย เล่นเกมส์ที่เป็นการฝึกสมอง รวมทั้งการบำรุงสมองด้วยอาหารสมอง เช่น สารอาหารที่มี Omega-3 จะมีประโยชน์โดยตรงช่วยบำรุงเซลล์สมอง และป้องกันการเกิดโรคสมาธิสั้นในเด็กวัยรุ่นวัยเรียนอีกด้วย
รู้หรือไม่ : วัยรุ่นควรต้องพักสมองด้วยการนอนหลับให้ได้ 9-10 ชั่วโมง และเสริมด้วยกรดไขมัน Omega-3 ที่ประกอบไปด้วย DHA(ดีเอชเอ) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการบำรุงสมองของวัยนี้ และควรจะได้รับต่อวัน วันละ 100 – 300 มิลลิกรัม
ในประเทศไทยคนที่ถือว่าอยู่ในวัยทำงานมีช่วงอายุตั้งแต่ประมาณ 18-65 ปี ซึ่งหากคิดเป็นสัดส่วนแล้วก็มากกว่า 65% ของประชากรทั้งประเทศ หากแบ่งคนกลุ่มนี้เป็น 2 กลุ่มก็จะพบว่า กลุ่มหนึ่งจะมีร่างกายที่แข็งแรง เจ็บป่วยน้อยหรือแทบจะไม่เจ็บป่วยเลย ส่วนอีกกลุ่มก็จะเป็นโรคสำคัญต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม และโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งโรคหัวใจสูงมากๆ ซึ่งบางกรณีก็เกิดขึ้นกับกลุ่มวัยทำงานที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสี่ยงเป็นโรคลักษณะนี้ด้วยซ้ำไป
ความเครียดจากหน้าที่รับผิดชอบในการงาน รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิด (สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติด) การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ พักผ่อนน้อย และไม่ออกกำลังกาย ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำร้ายระบบต่างๆ ในร่างกายแทบทั้งสิ้น ซึ่งก็ไม่เว้นระบบสมองเช่นกัน
ในช่วงเวลาของวัยผู้ใหญ่วัยทำงาน การจดจ่ออยู่กับความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน คนส่วนมากจะละเลยการดูแลตัวเองโดยเฉพาะการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย เพราะคำว่า ‘เวลา’ เข้ามามีปัจจัยในการแบ่งความสำคัญไปที่เรื่องของการทำงานมากกว่าการดูแลตัวเอง
“บางคนรับประทานอาหารในแบบที่อิ่มเข้าว่า โดยหาได้ใส่ใจในรายละเอียดหรือประโยชน์และโทษที่จะได้รับกินอะไรก็ได้ไม่เลือกแต่ขอให้เร็ว ให้สะดวก หรืออาหารที่ตัวเองชอบ เรียกว่า... รีบรับประทานแต่ไม่เลือกรับประทาน”
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีการทำสถิตเอาไว้ว่า คนวัยทำงานอายุ 22-59 ปี จะเป็นช่วยอายุที่เกิดความเครียดได้สูงที่สุด และคำแนะนำสำหรับวัยทำงานที่ผจญกับความเครียด วิตกกังวล จากกรมสุขภาพจิต ก็คือ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 วัน เพื่อให้สมองได้เกิดความผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุราและสารเสพติด ที่สำคัญคือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเป็นการบำรุงร่างกายและสมอง
รู้หรือไม่ : สถิติจากสายด่วนสุขภาพจิต 1323 พบว่าปัญหาความเครียดสะสม คือสิ่งที่คนวัยทำงานพบมากที่สุด เรียกได้ว่า ‘ความเครียด’ คือ ภัยเงียบที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับสมอง และกรดไขมัน Omega-3 ที่ประกอบไปด้วย EPA(อีพีเอ) และ DHA(ดีเอชอ) มีส่วนช่วยบรรเทาความเครียดของเซลล์สมอง ซึ่งผู้ใหญ่คนวัยทำงานควรจะได้รับ วันละ 400 – 1,800 มิลลิกรัม
เมื่ออายุมากขึ้น ความถดถอยของอวัยวะต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในของร่างกายก็มากขึ้นตามไปด้วย ‘สมอง’ ก็เช่นกัน วัยสูงอายุ เป็นช่วงเวลาที่จะสูญเสียเซลล์สมองลงไปเรื่อยๆ และยิ่งหากคนในวัยนี้ไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้สมองด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพของสมองลดน้อยลงไปอีก ดังนั้นอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมจึงมีสูงมาก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกระบุไว้ว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เกือบ 70% ต้องเจอกับฝันร้ายในช่วงบั้นปลายชีวิตด้วยโรคสมองเสื่อม (Alzheimer) ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และไม่เพียงเท่านั้นยังเสี่ยงกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตตั้งแต่ในอดีตอีกด้วย
แพทย์และผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงอาการทั้งหมดด้วยการดูแลความดันโลหิต ลดปัจจัยเสี่ยงในสาเหตุของการเป็นเบาหวานและไขมันในเลือดสูง ไม่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮลล์ รวมทั้งบริหารสมองด้วยกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสมองให้สม่ำเสมอ และที่ขาดไม่ได้ก็คือการควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด ไม่รับประทานอาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อปัจจัยการเกิดโรค รวมทั้งป้องกันและเสริมสารอาหารที่จำเป็นของสมองในวัยสูงอายุเข้าไปด้วย
รู้หรือไม่ : DHA(ดีเอชเอ) ใน Omega-3 สามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากความเสื่อมของเซลล์สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรดไขมัน Omega-3 ที่ประกอบไปด้วย EPA(อีพีเอ) และ DHA(ดีเอชเอ) มีส่วนช่วยลดความเสื่อมของเซลล์สมองซึ่งสำคัญมาก และควรจะได้รับ วันละ 400 – 1,800 มิลลิกรัม
‘น้ำมันปลา’ ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งปัญหาสำคัญของผู้ที่อยากจะรับประทานน้ำปลาที่ไม่อาจมองข้ามก่อนที่จะเลือกซื้อน้ำมันปลามาบำรุงสมองและหัวใจได้เลยก็คือ การเลือกซื้อน้ำมันปลาที่มีคุณภาพสูงสุด เพราะจากสถิติพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่าง ‘น้ำมันปลา’ มีการตรวจพบสารปนเปื้อนของโลหะหนักและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างมาก เช่น สารปรอท ตะกั่ว สารหนู และยาฆ่าแมลงต่างๆ มากที่สุด เมื่อเทียบกับอาหารเสริมประเภทอื่นๆ จึงทำให้น้ำมันปลาหลายยี่ห้อถูกยกเลิกการผลิต รวมถึงห้ามจำหน่ายอย่างเด็ดขาด
- ต้องเลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันปลา ที่มีการคัดสรรวัตถุดิบที่ผลิตภายใต้มาตรฐานยา ซึ่งในปัจจุบันน้ำมันปลาที่ได้รับมาตรฐานยุโรป (EP GRADE & EU STANDARD) ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานที่เข้มงวดสูงที่สุด และเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ซึ่งให้ความมั่นใจในคุณภาพของน้ำมันปลาในเม็ดแคปซูล ดังนี้
· น้ำมันปลาที่ได้ต้อง... สกัดมาจากปลาในพื้นที่ซึ่งปราศจากมลภาวะต่างๆ
· น้ำมันปลาที่ได้ต้อง... มาจากปลาสายพันธุ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด
· น้ำมันปลาที่ได้ต้อง... ปลอดภัยจากโลหะหนักปนเปื้อน ยาฆ่าแมลง และสารเคมีจากขบวนการผลิตที่เป็นพิษตกค้าง
- ต้องเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาที่ผ่านขั้นตอนการผลิตจากโรงงานที่ได้รับมาตรฐานการผลิตระดับยาสากล เช่น TGA จากประเทศออสเตรเลีย และ BfArM จากประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (เป็นมาตรฐานที่ดีที่สุดในโลก) จะสามารถมั่นใจมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทั่วไป
- น้ำมันปลาที่ดีและให้ประโยชน์กับร่างกายต้องปราศจากสารแต่งสี แต่งกลิ่นและสารกันบูด เพื่อป้องกันการสะสมของสารแปลกปลอมในร่างกายจากการรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ