ในปัจจุบันคนไทยกว่า 42.5% กำลังเผชิญกับ ‘ภาวะขาดวิตามินดี’ ทั้งๆ ที่เป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนซึ่งการขาดวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายชนิดนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายแบบที่หลายคนไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ่ ที่มีพฤติกรรมไม่ชอบใช้ชีวิตที่ออกมาสัมผัสแสงแดด เนื่องจากกลัวร้อน กลัวดำ กลัวผิวเสีย ร่างกายจึงสังเคราะห์วิตามินดีที่ได้จากแสงแดดน้อยลงตามไปด้วย
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
ปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้ร่างกายขาดวิตามินดี
ประโยชน์ของวิตามินดีที่มีต่อร่างกาย
การค้นพบของคณะนักวิจัยชาวอิสราเอลจากมหาวิทยาลัยบาร์อีลัน (BIU) และศูนย์การแพทย์กาลิลี (GMC) พบข้อมูลว่าภาวะขาดวิตามินดีก่อนติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อโรคโควิด-19 เชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของอาการป่วยรุนแรงและความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยประเมินความสัมพันธ์ของวิตามินดีในร่างกายระดับต่ำก่อนติดเชื้อและความรุนแรงของโรคโควิด-19 โดยคณะนักวิจัยตรวจวัดระดับวิตามินดีในร่างกายของผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในศูนย์ฯ ก่อนผลตรวจโรคเป็นบวก 14-730 วัน
คณะนักวิจัยพบว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยอาการป่วยเล็กน้อยหรือปานกลางแล้ว ผู้มีอาการหนักมักมีภาวะขาดวิตามินดีอย่างรุนแรงก่อนติดเชื้อ โดยอยู่ที่ต่ำกว่า 20 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร
วิตามินดี (Vitamin D) เป็นวิตามินที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง จากแสงแดดที่เข้ามากระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีขึ้นมาได้ เมื่อร่างกายขาดวิตามินดีทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลงส่งผลให้มวลกระดูกลดลงจนนำไปสู่ภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอ่อนแอเนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้นการรับประทานอาหารก็ช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดีได้อย่างเพียงพอเช่นกัน โดยอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาซาร์ดีน ไข่ นม ถั่ว และธัญพืชต่างๆ
วิตามินดี ทำหน้าที่ในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเสริมสร้างมวลกระดูก หากร่างกายมีแคลเซียลไม่เพียงพอต่อความต้องการ มวลกระดูกจะสลายตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย และโรคนี้มักพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้โดยการรับประทานวิตามินดีปริมาณสูงที่จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ รักษาสมดุลแคลเซียมในร่างกาย ลดการสลายแคลเซียมให้กระดูกแข็งแรง ไม่เปราะหักง่าย เพื่อเป็นลดการบาดเจ็บและกระดูกหักจากการหกล้มของผู้สูงอายุ
อีกหนึ่งโรคที่มีความคล้ายคลึงกับโรคกระดูกพรุน คือ โรคกระดูกบาง กลุ่มผู้ที่ขาดวิตามินดีและแคลเซียมที่มักพบในกลุ่มเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงาน โดยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแขนและขา ซึ่งการรับประทานวิตามินดีก็จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อด้วยเหมือนกัน
ภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้ดี อีกบทบาทหนึ่งของวิตามินดีคือ การเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานในร่างกาย เพราะการมีระดับวิตามินดีที่เพียงพอจะช่วยเสริมภูมิต้านทานป้องกันการติดเชื้อ ทำให้เม็ดเลือดขาวตอบสนองต่อเชื้อโรค แบคทีเรีย เชื้อไวรัส และสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายได้เป็นอย่างดี
การรับประทานวิตามินดีเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน และปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการขาดวิตามินดี ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายควรได้รับในต่อละวันอยู่ที่ 600-800 IU โดยควรรับประทานเป็นประจำ และในผู้ที่ขาดวิตามินดี ควรได้รับ 1,000-4,000 IU ต่อวันจึงสามารถเพิ่มระดับวิตามินดีในกระแสเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อร่างกายที่แข็งแรง มีภูมิต้านทาน และไม่เจ็บป่วยหรือติดเชื้อได้ง่าย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ‘วิตามินดี’ (Vitamin D) ถือเป็นสารอาหารที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งส่งผลต่อร่างกายและสุขภาพของมนุษย์ ยิ่งในปัจจุบันทุกคนมีความเสี่ยงที่มีเชื้อโรคและไวรัสระบาดอยู่เช่นนี้ สุขภาพร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคนที่ไม่ควรละเลย นอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว การมีสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างพอเพียง หนึ่งในนั้นคือ วิตามินดี (Vitmain D) ยิ่งทำให้เรามั่นใจได้ว่าสุขภาพร่างกายของเราจะแข็งแรงได้อย่างแน่นอน เพราะการมีสุขภาพที่แข็งแรงถือเป็นลาภอันประเสริฐ…ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก :
(ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ; https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30893)
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/march-2019/vitamin-d
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2018/health-benefits-of-vitamin-d
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/895626
https://www.bangkokhospital.com/content/vitamin-d-forgotten-vitamins
https://www.pobpad.com/วิตามินดี
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-วิตามิน/คุณมีวิตามินดี-พอหรือยัง-