เช็กนิสัยในชีวิตประจำวันที่อาจนำไปสู่ โรคความดันโลหิตสูง

พฤติกรรมเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง

เช็กด่วน ว่าคุณทำแบบนี้บ่อยๆ หรือไม่? เพราะสิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่ โรคความดันโลหิตสูง หรือแม้แต่คนที่กินยาลดความดันโลหิตอยู่ หากยังมีพฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้ลดความดันโลหิตลงได้ยาก

8 นิสัยที่อาจนำไปสู่ โรคความดันโลหิตสูง

1. กินอาหารแปรรูป  และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากเกินไป
ในอาหารแปรรูปมักมีส่วนผสมของโซเดียมสูง รวมถึงสารที่ช่วยคงคุณภาพของอาหาร หากกินอาหารเหล่านี้มากเกินไปจะทำให้ระดับโซเดียมในร่างกายสูงขึ้นและส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งอาหารน้ำตาลสูงยังส่งผลให้ไขมันในเลือดสูงขึ้นและอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

2. ไม่ชอบออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมความดันโลหิต โดยการช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ลดไขมันทั้งในร่างกายและหลอดเลือด แต่หากขาดการออกกำลังกายนอกจากจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นแล้วยังเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 1.6% อีกด้วย

3. มีความเครียดสูง
ความเครียดมีส่วนที่ทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล และอะดรีนาลีนออกมา ซึ่งทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราว แต่ถ้าเครียดบ่อยๆ ก็จะทำให้ความดันโลหิตสูงได้ต่อเนื่อง

4. ดื่มและสูบไม่ยั้ง
พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่มากเกินไปเป็นปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก โดยสารพิษในสูบบุหรี่มีส่วนที่ทำให้หลอดเลือดเกิดความเสียหาย เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง รวมถึงส่งผลให้เกิดร้ายแรงต่างๆ ตามมาอีกด้วย

5. นอนดึกเป็นประจำ
การนอนดึก นอนน้อย หรือพักผ่อนไม่เพียงในแต่ละวัน นอกจากจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียระหว่างวันแล้ว ยังทำให้หัวใจทำงานหนักและความดันโลหิตสูงขึ้นได้

6. ติดคาเฟอีนวันละหลายแก้ว
การดื่มคาเฟอีนเกิน 2-3 แก้วต่อวัน มีส่วนที่ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นชั่วคราว ซึ่งเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนไม่ใช่เฉพาะแค่ชา หรือกาแฟเท่านั้น แต่ยังรวมถึงน้ำอัดลมและเครื่องดื่มชูกำลังด้วย

7. การกินอาหารเค็มจัดมากเกินไป
ซึ่งมักพบในอาหารรสเค็ม รสจัด หรืออาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูงเป็นประจำจะทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า “คนไทยรับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายจากมื้ออาหารเฉลี่ย 3,636 มก./วัน ซึ่งเกินมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด

8. ไม่ปฏิบัติตามที่แพทย์สั่ง
การละเลยที่จะปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ หรือการไม่กินยาตามคำแนะนำทางการแพทย์มีส่วนอย่างมากที่ทำให้ความดันโลหิตสูงรุนแรงขึ้น และอาจเกิดภาวะทรกซ้อนที่ส่งผลชีวิตได้


โดยการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่างๆ ข้างต้น และหันมารับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดการรับประทานอาหารรสจัด รวมถึงพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ซึ่งการปฏิบัติเหล่านี้จะสามารถช่วยควบคุมให้ความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

อ่านต่อ : อาหารลดไขมัน ที่คนเป็นไขมันในเลือดสูงควรรับประทาน

อ้างอิง

Common habits that leads to hypertension https://shorturl.asia/m0DOj

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

มารู้จักกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) และวิธีป้องกันง่ายๆ

รู้ให้ละเอียดยิ่งขึั้นกับเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

วิตามินซี และฟ้าทะลายโจร2 สิ่งสำคัญของผู้ติดเชื้อ เมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน