Search

เมื่อตับป่วยต้องช่วยตัวเองอย่างไร

โรคตับ


ตับ (Liver) เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของร่างกาย ทำหน้าที่เปลี่ยนสารอาหารต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ เป็นแหล่งสะสมสารอาหารเพื่อให้ร่างกายนำมาใช้ยามจำเป็น และยังมีหน้าที่สำคัญในการกำจัดของเสียและสารพิษออกจากร่างกายด้วย

ถ้าตับผิดปกติจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย?


โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของตับที่พบได้บ่อยก็คือ มะเร็งตับ ซึ่งโรคนี้จากสถิติถือเป็นมะเร็งอันดับ 1 ในผู้ชายไทย และนอกจากนี้ โรคตับแข็ง ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีคนเป็นกันจำนวนมาก ซึ่งปัจจัยหลักที่นำไปสู่โรคตับเกิดจาก

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี
  • ความอ้วนและพฤติกรรมการบริโภค
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • การได้รับยาบางประเภท หรือสารพิษต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • ภาวะไขมันเกาะตับ ถึงแม้ตับจะเป็นอวัยวะขนาดใหญ่ แต่กลับกลายว่าเป็นอวัยวะในร่างกายที่บอบบางและถูกทำลายได้ง่ายมาก หากเกิดแผลหรือการอักเสบ และไม่ได้รับการรักษา มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคร้ายแรงได้ในอนาคต เพราะตับเป็นอวัยวะที่คอยควบคุมการใช้สารอาหารและขับสารพิษในร่างกาย หากไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมเกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นทุกคนจึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงวิธีการดูแลตับอย่างถูกต้อง

ตับผิดปกติสามารถสังเกตอาการได้อย่างไร?


เมื่อตับเกิดความผิดปกติ ร่างกายจะแสดงอาการต่างๆ เพื่อเป็นสัญญาณให้เรารู้ ซึ่งอาการของโรคตับมีหลายอาการแตกต่างกันไปตามสาเหตุและความรุนแรงของโรค แต่สามารถสังเกตอาการโดยรวมได้ ดังนี้
– ท้องบวม
– อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
– อุจจาระสีซีด ปัสสาวะสีเข้ม
– ปวดแน่นบริเวณชายโครงเป็นประจำ
– ท้องอืด จุดเสียด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย

อาการและวิธีดูแลตับ

วิธีดูแลตับ ให้กลับมาแข็งแรงต้องทำอย่างไร?


เมื่อร่างกายรู้สึกมีอาการผิดปกติ และคาดว่าเป็นผลมาจากภาวะความผิดปกติของตับตามที่สังเกตอาการไปข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำควบคู่ไปกับวิธีการดูแลตับได้ด้วยตัวเองดังนี้

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    การนอนหลับในเวลากลางคืนช่วยฟื้นฟูตับได้ เพราะขณะที่หลับสนิทเลือดจะไหลเวียนได้ดี สารอาหารในเลือดจะไปซ่อมแซม และบำรุงตับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    สารประกอบที่อยู่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของตับ ส่งผลให้ไขมันสะสมในเซลล์ตับมากขึ้นจนเกิดเป็นไขมันพอกตับ และหากตับเกิดการอักเสบเรื้อรังจะนำไปสู่การเกิดโรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้
  3. ลดความถี่ในการรับประทานอาหารสำเร็จรูป
    ในอาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่มักมีสารกันบูดหรือสารกันเสีย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ หากร่างกายได้รับสารกันเสียมากเกินไปตับจะทำงานหนักมากและส่งผลต่อการกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้
  4. ไม่รับประทานยาเกินความจำเป็น
    การรับประทานยามากเกินความจำเป็น หรือรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานส่งผลให้ตับทำงานหนักขึ้น ดังนั้นควรรับประทานยาเท่าที่จำเป็นตามแพทย์สั่งและไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
  5. ไม่รับประทานอาหารค้างคืน
    หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเก่าเก็บ เพราะในอาหารบางประเภทที่ถูกปรุงไว้นานเกินไปจะเสี่ยงกับสารเคมี หรือสิ่งปนเปื้อนได้ เช่น สารโลหะหนัก สารก่อมะเร็ง
  6. ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอื่นๆ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงมลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน สารพิษ สารเคมี นอกจากนี้ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่นอนดึก และต้องหลีกเลี่ยงความเครียด
  7. เสริมด้วยสารอาหารบางอย่างๆ ที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำซึ่งสามารถช่วยดูแลตับได้ดี แนะนำให้มองหาตัวช่วยแบบครบถ้วน ดังนี้
    7.1 ช่วยให้ตับเผาผลาญไขมันได้ดี ได้แก่ บริเวอร์ยีสต์ (Brewer’s Yeast ) โคลีน (Choline) ไอโนซิทอล (Inosital) เลซิติน (Lecithin) สารสกัดจากดอกอีฟนิ่งพริมโรส (Evening Primrose Oil)
    7.2 ช่วยกำจัดสารพิษ ได้แก่ แอล เมทไธโอนีน (L-Methionine) ช่วยในกระบวนการกำจัดสารพิษในตับ สารสกัดจากรากต้นแดดิเลียน (Dandilion Root Extract)
    7.3 ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ซีลิเนียม(Selenium Methionine Complex)
    7.4 ช่วยระบบย่อยอาหารและปรับสมดุลกรดด่าง ได้แก่ สารสกัดแอปเปิ้ล (Apple Vinegar Powder)
วิธีดูแลตับ ป้องกันตับอักเสบ
อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

โรคตับ

ดูแลสุขภาพ ‘ตับ’ ให้แข็งแรงด้วยสารอาหารที่สำคัญ

บำรุงตับ

เสริมสร้างความแข็งแรงให้ 'ตับ' เพื่อสุขภาพที่ดี

บำรุงตับ

อ่านแล้วรู้ทันที... อะไรคือสารอาหารที่ดีสำหรับตับของคุณ