อายุมากขึ้น การใส่ใจเรื่องสุขภาพก็มากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของโภชนาการที่จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุส่วนมากมักประสบปัญหา การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกาย โดยเฉพาะ 'โปรตีน' เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งทางสมอง อารมณ์ และร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร และระบบเผาผลาญมีปัญหา ทำให้ย่อยยากจนเกิดความรู้สึกเบื่ออาหาร รวมถึงการกินอาหารได้น้อยเพราะการบดเคี้ยวทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ ก่อให้เกิดเป็นโรคต่างๆ ตามมา
สัญญาณบ่งบอกอาการขาดโปรตีน
1. เจ็บป่วยง่าย : เนื่องจากในโปรตีนจะมีกรดอะมิโนคอยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ให้สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษต่างๆ ได้
2. บาดแผลหายช้า : เพราะร่างกายขาดโปรตีนที่คอยช่วยซ่อมแซมอาการบาดเจ็บ และส่วนที่สึกหรอต่างๆ
3. ไม่มีแรง : โปรตีนคือ 1 ในสารอาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดโปรตีน กล้ามเนื้อจึงถูกสลายเพื่อนำมาใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ และเล็กลง จนรู้สึกไม่มีแรง ทรงตัวได้ไม่ดี และมีอาการเหนื่อยง่าย
4. ผมร่วง เล็บเปราะ และผิวหนังแห้ง : ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดโปรตีนอีลาสติน คอลลาเจน และเคราติน
6. อารมณ์แปรปรวน : เพราะกรดอะมิโนในโปรตีนมีบทบาทเป็นสารสื่อประสาทในสมอง ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกเป็นอย่างมาก
7. หิวง่าย : โปรตีนให้พลังงาน เมื่อโปรตีนในร่างกายไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดความรู้สึกไม่อิ่มท้องและหิวบ่อยกว่าปกติ
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงผู้สูงอายุเท่านั้นที่ต้องการโปรตีน แท้จริงแล้ว โปรตีนคือสารอาหารที่จำเป็นสำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะ...
ผู้สูงอายุ : คนวัยนี้มีโอกาสเป็นภาวะขาดโปรตีนและสารอาหารอื่นๆ ได้มากเป็นพิเศษ จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะเบื่ออาหาร ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ และมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปากและฟัน
ผู้ป่วยระยะพักฟื้น หรือผู้มีโรคเรื้อรัง : เช่น ผู้ป่วยมีการผ่าตัดอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ต้องการโปรตีนปริมาณสูงเพื่อช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกาย
ผู้ที่ต้องการเพิ่มภูมิคุ้มกันและภูมิต้านทาน : เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับโปรตีนปริมาณสูงเพื่อช่วยเสริมเม็ดเลือดทั้งเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง
โปรตีนคุณภาพสูง ทางเลือกเพิ่มความแข็งแรงให้ผู้สูงอายุ
เวย์โปรตีนไอโซเลท คือโปรตีนคุณภาพสูงที่จะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูจากอาการเจ็บป่วยได้เร็ว ที่สำคัญ ย่อยง่าย กินสะดวก และดูดซึมเข้าร่างกายได้เร็ว จึงเหมาะกับผู้สูงอายุมากกว่าโปรตีนในรูปแบบอื่น โดยประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการรับประทานโปรตีนไอโซเลท มีดังนี้
เพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย
ช่วยป้องกันการขาด และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมโปรตีนเข้าร่างกายได้ดีขึ้น
ช่วยฟื้นฟูอาการเจ็บป่วย และความสามารถของร่างกายในผู้ที่อ่อนเพลีย
ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือด ทั้งเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง
เป็นแหล่งของการสร้างกล้ามเนื้อในร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า โปรตีน คือสารอาหารที่มีประโยชน์ และจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก อย่างไรก็ตาม แม้เราจะสามารถรับสารอาหารโปรตีนได้ทั้งจากพืชและสัตว์ แต่สำหรับผู้สูงอายุที่ระบบย่อยอาหารและระบบการเผาผลาญทำงานไม่ดี ‘เวย์โปรตีนไอโซเลทคุณภาพดี’ ที่เสริมด้วยแร่ธาตุสังกะสี และซีลิเนียมที่มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ ผู้สูงอายุกลับมามีร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพดี สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนเดิม
ขอบคุณข้อมูลจาก :
1. Jangale Rohini Shankar and 2Ghanendra Kumar Bansal C.H.M.E. Society's, Dr. Moonje Institute Of Management & Computer Studies, Nashik, India. Durga Prasad Baljeet Singh Post Graduate College, Anoopshahr, India. A Study on Health Benefits of Whey Proteins. International Journal of Advanced Biotechnology and Research. ISSN 0976-2612, vol 4, Issue 1, 2013 pp15-19
2. http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_food/a_fd_4_00t.asp?info_id=469
3. A Scientific White Paper. Research On The Importance Of Whey Protein For Achieving Optimal Health and Longevity. An Official Publication of: Ceautamed Worldwide, LLC
4. PAUL J. CRIBB et el. Effects of Whey Isolate, Creatine, and Resistance Training on Muscle Hypertrophy Exercise Metabolism Unit, Center for Ageing, Rehabilitation, Exercise and Sport and the School of Biomedical Sciences, Victoria University, Victoria, Australia
5. วีนัส ลีฬหกุล สุภาณี พุทธเดชาคุ้ม ถนอมขวัญ ทวีบูรณ์. โภชนศาสตร์ทางการพยาบาล พิมพ์ครั้งที่ 2 มค.2545. บทที่ 4 โปรตีน หน้า77