จากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ถึงแม้เมื่อติดเชื้อจะมีอาการไม่รุนแรง แต่สายพันธุ์นี้ก็มีการกระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ยังคงไม่น่าไว้วางใจสำหรับผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่โรคประจำตัว และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
แต่เนื่องจากมีจำนวนผู้ที่ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนจำนวนเตียง และสถานที่ในการกักตัว ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำวิธีการดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่ติดโควิดแต่อาการไม่รุนแรงให้รักษาตัวเองอยู่ที่บ้าน พร้อมกับแนะนำให้แพทย์พิจารณายาตามอาการ โดยเน้นไปที่ยารักษาตามอาการ เช่น ยารักษาตามอาการ เช่น วิตามินซี ยาแก้ไข ลดน้ำมูก รวมทั้งฟ้าทะลายโจร และยาฟาวิพิราเวียร์ ภายใต้คอนเซปต์ ‘เจอแจกจบ’ ตั้งแต่เมื่อ 1 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา
กระทรวงสาธารณสุขมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้มีการจัดการโรค COVID-19 จากโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) ให้กลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) คือโรคลดความรุนแรงลง มีระบบการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ลดความแออัดในโรงพยาบาล และเพื่อให้คนทั่วไปมีภูมิต้านทานที่เพียงพอ ดังนั้นทางกระทรวงฯ จึงจะมีการจัดระบบบริการเพิ่มขึ้นแบบผู้ป่วยนอก คือตรวจผู้ที่สงสัยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK ซึ่งหากผลเป็นบวก (แต่อาการไม่รุนแรง หรือไม่แสดงอาการ) จะให้การรักษาด้วยยา 3 สูตร คือ 1. ยารักษาไวรัสโดยตรงคือ ฟาวิพิราเวียร์ 2. สมุนไพรฟ้าทะลายโจร และ 3. ยาที่รักษาตามอาการ เช่น วิตามินซี หรือยาลดไข้ ลดน้ำมูก และแก้ไอ ทั้งนี้การให้ยาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจแพทย์พิจารณาว่าจะให้ยาแบบใด รวมทั้งต้องมีการแนะนำพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อก่อน
ข้อดีของแนวทางของคอนเซปต์ ‘เจอจ่ายจบ’ ด้วยการให้ยารักษาตามอาการ เช่น วิตามินซี ยาแก้ไข ลดน้ำมูก รวมทั้งฟ้าทะลายโจร และยาฟาวิพิราเวียร์ จะส่งผลดีต่อทั้งตัวผู้ที่ติดเชื้อในด้านที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล สามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ส่วนผลดีในภาพรวมก็คือ ช่วยลดความแออัดในสถานที่ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล หรือสถานที่กักตัว