โอไมครอน เชื้อสายพันธุ์นี้ต้องเฝ้าระวัง

ตั้งแต่พบการแพร่กระจายของ เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 ได้กลับมามีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้สามารถแพร่กระจายได้เร็วถึง 70 เท่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลต้า และสามารถเข้าสู่ระบบร่างกายมนุษย์ได้ง่ายขึ้น และหลบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ที่สำคัญทำให้คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้จากสายพันธุ์โอไมครอนนี้ซ้ำได้อีก

โอไมครอน (omicron) มีอาการอย่างไร

โดยอาการของร่างกายเมื่อรับเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน (omicron) ไม่ได้มีความแตกต่างจากเชื้อสายพันธุ์เดลต้ามากนัก จากการสำรวจผู้ป่วยโอไมครอนในประเทศไทย พบ 8 อาการเบื้องต้นดังนี้ อาการไอ 54% เจ็บคอ 37% มีไข้ 29% ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ 15% น้ำมูกไหล 12% ปวดศีรษะ 10% หายใจไม่เต็มอิ่ม 5% จมูกไม่รับกลิ่นลิ้นไม่รับรส 2 % และไม่แสดงอาการ 48%

ป้องกันตนเองอย่างไร

  • รับวัคซีนป้องกันโควิดให้ครบตามระยะเวลาที่เหมาะสม
  • ใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่กับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรืออากาศไม่ถ่ายเท
  • ล้างมือเป็นประจำ ดูแลสุขอนามัย
  • ประเมินตนเอง หรือตรวจ ATK เป็นประจำ
นอกจากการปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 และการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานแล้ว การมีภูมิคุ้มกันในร่างกายอย่างเพียงพอก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำก็คือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ การพักผ่อนอย่างเพียง เพราะการอดนอนหรือนอนดึกจะกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง และควรต้องออกกำลังกายเป็นประจำ รวมทั้งงดพฤติกรรมทำลายสุขภาพโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ WHO หรือองค์กรอนามัยโลกยังแนะนำให้รับประทาน 3 สารอาหารสำคัญเป็นประจำต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้ร่างแข็งแรงสามารถต่อสู้กับเชื้อ และสิ่งแปลกปลอมได้แก่

วิตามินซี ที่เป็นวิตามินที่เสริมสร้างการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

วิตามินดี ที่เป็นวิตามินซึ่งมีบทบาทสำคัญในขบวนการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เม็ดเลือดขาวตอบสนองต่อเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมได้ดีและมีส่วนช่วยในการต้านการอักเสบ

แร่ธาตุสังกะสี เป็นสิ่งที่สามารถช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดีขึ้น และกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว รวมทั้งมีส่วนช่วยในการป้องกันยับยั้งเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย

อ้างอิง

ขอบคุณข้อมูลจาก :

1.  กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

มารู้จักกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) และวิธีป้องกันง่ายๆ

รู้ให้ละเอียดยิ่งขึั้นกับเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

วิตามินซี และฟ้าทะลายโจร2 สิ่งสำคัญของผู้ติดเชื้อ เมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน