ฟื้นฟูร่างกายจาก Long COVID ด้วยสารอาหารสำคัญ

Long COVID คือภาวะของคนที่หายขาดจากการติดเชื้อ COVID-19 แล้ว แต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วกว่า 30-50% โดยอาการต่อเนื่องนี้มีลักษณะอาการคล้ายขณะติดเชื้อ แต่บางรายอาจก็พบอาการที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยระยะเวลาของ Long COVID ที่พบจะอยู่ที่ประมาณ 4-6 สัปดาห์ ซึ่งอาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อระบบในร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบทางเดินอาหาร

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าอาการ Long COVID เกิดขึ้นจากขณะที่ได้รับเชื้อไวรัส ร่างกายมีกลไกล การสร้างภูมิคุ้มกันและหลั่งสารอักเสบที่เพิ่มมากเกินความจำเป็น รวมไปถึงภาวะความเครียด การได้รับยาในกลุ่มสเตียรอยด์ และโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ส่งผลให้ระบบในร่างกายเสียสมดุล และทำงานผิดปกติ

แน่นอนว่าอาการตกค้างจากโควิด-19 ไม่ใช่สิ่งที่ปกติ แต่ก็สามารถบรรเทา และฟื้นฟูร่างกายให้ร่างกายกลับมาปกติได้ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หมั่นสังเกตอาการของตัวเอง และดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น แต่ถึงอย่างไรการปฎิบัติตามมาตรการป้องกัน รวมถึงการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน อาจไม่เพียงพอสำหรับการรักษาอาการให้บรรเทาและฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาเป็นปกติในระยะเวลาที่เร็วขึ้น  

โดยผู้เชี่ยวชาญจาก WHO หรือองค์การอนามัยโลกจึงได้แนะนำวิธีเพิ่มเติมด้วยการให้เลือกรับประทานสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็น เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งก็สอดคล้องกับกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยได้แนะนำให้เลือกรับประทานให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งแบ่งรับประทานอาหารเป็นมื้อย่อยๆ เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ของทอด ของมัน อาหารรสจัด และอาหารไขมันสูง รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาหารดังกล่าวจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ต่ำลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวนอกจากนี้ยังควรเสริมด้วยสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อฟื้นฟูร่างกายจากอาการลองโควิด

6 สารอาหารสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการ Long Covid ได้เร็วขึ้น

1. โปรตีน (Protein)
สารอาหารสำคัญที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บ และยังถูกนำไปใช้ในการสร้างสารภูมิคุ้มกัน (Antibody) ในการดักจับเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้การผลิตสารภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายและเจ็บป่วยบ่อย จึงควรรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ โดยสามารถเลือกรับประทานได้จาก เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนย ถั่วและธัญพืชต่างๆ เป็นต้น

2. โปรไบโอติกส์ (Probiotics)
เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันกว่า 60-80% เกิดขึ้นจากระบบทางเดินอาหาร ร่างกายจึงควรได้รับโปรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์ที่ดีเพื่อปรับสมดุลทางเดินอาหารและกำจัดจุลินทรีย์ร้ายที่ก่อให้เกิดโรค เพื่อให้สุขภาพโดยรวมของร่างกายแข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับมือกับเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งสามารถเลือกรับประทานโปรไบโอติกส์ได้จาก นมเปรี้ยว โยเกิร์ต และอาหารกลุ่มหมักดอง เป็นต้น

3. วิตามินซี (Vitamin C)
วิตามินพื้นฐานที่เป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และช่วยให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวแข็งแรงมากขึ้น ทำให้สามารถกำจัดเชื้อไวรัสและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ซึ่งวิตามินซี ถือเป็นสารอาหารสำคัญที่ควรได้รับในทุกช่วงวัย แต่ปกติร่างกายของเราไม่สามารถผลิตวิตามินซีเองได้ จึงต้องเลือกรับประทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซี จากแหล่งธรรมชาติ เช่น จากผัก ผลไม้ หรือในรูปแบบของวิตามินเสริม

4. วิตามินดี (Vitamin D)
หนึ่งวิตามินสำคัญที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงในช่วงการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้เม็ดเลือดขาวสามารถทำงานได้ดีขึ้นและต้านอาการอักเสบในร่างกาย แต่ถึงแม้วิตามินดีจะมีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันแต่คนไทยจำนวนมากกำลังประสบกับ “ภาวะขาดวิตามินดี” เนื่องจากพฤติกรรมการหลบเลี่ยง แสงแดด ซึ่งเป็นแหล่งวิตามินดีตามธรรมชาติที่สำคัญ ดังนั้นการจะได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอที่สะดวกและง่ายที่สุดก็คือต้องหันมาพึ่งวิตามินดีในรูปแบบอาหารเสริม

5. วิตามินอี (Vitamin E)
เป็นวิตามินที่ถือว่าเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันเซลล์ต่างๆ ในร่างกายจากการถูกทำลาย และเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรง โดยผลการวิจัยทางการแพทย์พบว่าหากร่างกายได้รับวิตามินอีติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 เดือน สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สูงขึ้นได้ ซึ่งสามารถเลือกรับประทานวิตามินอีได้จาก ไข่ ผักใบเขียว น้ำมันดอกทานตะวัน อโวคาโด้ เป็นต้น รวมทั้งในรูปแบบวิตามินอาหารเสริม

6. แร่ธาตุสังกะสี (Zinc)
เป็นแร่ธาตุสำคัญที่กระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกาย ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยแร่ธาตุชนิดนี้ช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเคลื่อนตัวกำจัดเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสียหายของเซลล์และอวัยวะต่างๆ จากการอักเสบ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการติดเชื้อมา ร่างกายจะมีปริมาณของแร่ธาตุสังกะสีลดลงไปอีก โดยปกติร่างกายของเราไม่สามารถสร้างแร่ธาตุสังกะสีเองได้ จึงต้องได้รับจากอาหารในธรรมชาติ เช่น เนื้อแดง หอยนางรม ปลา อาหารทะเล ถั่วและธัญพืช เป็นต้น รวมทั้งในรูปแบบของอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน

อ้างอิง

ขอบคุณข้อมูลจาก :

1.  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

2.  WHO World Health Organization

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

มารู้จักกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) และวิธีป้องกันง่ายๆ

รู้ให้ละเอียดยิ่งขึั้นกับเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

วิตามินซี และฟ้าทะลายโจร2 สิ่งสำคัญของผู้ติดเชื้อ เมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน