คนส่วนใหญ่กลัวกับปัญหาไขมันในเลือดสูง เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นสาเหตุของโรคมากมายที่ถือเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพ และเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน ที่เป็นสาเหตุให้คนไทยประมาณ 60,000-100,000 คน เสียชีวิตในแต่ละปี และกว่า 39 ล้านคน เสี่ยงเป็นโรคหัวใจขณะนี้ แน่นอนว่าสาเหตุหลักคือ การมีไขมันในเลือดสูงนั่นเอง
ไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ แต่ไขมันในเลือดสูงนั้นมีความเป็นไปได้ทั้งโคเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงนี้ทางการแพทย์เรียกว่า Hyperlipidemia ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง รวมทั้งเกิดเส้นเลือดตีบและอุดตัน ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ไม่ดี และที่สำคัญสามารถเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน
ในทางแพทย์ได้ระบุถึงสาเหตุการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงไว้ทั้งหมด 4 ข้อหลักๆ ก็คือ
1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
ผู้ที่มีประวัติของพ่อแม่หรือญาติพี่น้องมีภาวะไขมันในเลือดสูง ก็สามารถมีภาวะไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน ซึ่งเป็นความผิดปกติที่ทำให้ร่างกายเผาผลาญทำลายไขมันลดลง
2. การใช้ยาบางชนิด หรือการเป็นโรคบางอย่าง
ยาที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงอย่างเช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ส่วนโรคบางอย่างก็ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย หรือโรคไตเป็นต้น
3. การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และผิดหลักทางโภชนาการ
จากการเก็บสถิติโดยหน่วยงานทางสาธารณสุข สาเหตุนี้เป็นต้นเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูงที่เกิดขึ้นกับคนในยุคปัจจุบันมากที่สุด การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก อาหารทอดในน้ำมันปริมาณมากๆ เช่น ปาท่องโก๋ หมูกรอบ เป็นต้น รวมทั้งการรับประทานอาหารหวานที่มีปริมาณน้ำตาลจำนวนมากเป็นประจำ เช่น ขนมหวาน เบเกอรี่ หรือชาไข่มุก
4. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การดื่มเหล้า ไวน์ เบียร์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทต่างๆ ในปริมาณมากเกินไป รวมทั้งดื่มเป็นประจำก็เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน
1. ค่าไขมันคอเลสเตอรอลรวม Total cholesterol หรือ TC ควรน้อยกว่า 200 mg/dl
2. ค่าไขมันคอเลสเตอรอลชนิดเลว หรือ LDL-C ควรน้อยกว่า 130 mg/dl
3. ค่าไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ HDL-C ควรมากกว่า 150 mg/dl
4. ค่าไขมันไตรกลีเซอไรด์ หรือ TG ควรน้อยกว่า 150 mg/dl
วิธีการลดไขมันในเลือดสูงให้อยู่ในระดับปกติที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องใช้ยา เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยตนเองซึ่งหากทำอย่างเคร่งครัดจะเห็นผลในระยะเวลาอันสั้น
1. เลือกรับประทานอาหารที่ดีให้ถูกหลักโภชนการ
You are what you eat ยังคงเป็นประโยคสุดคลาสิกที่ใช้เตือนใจคนที่ชอบตามใจปากได้เสมอ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกรับประทานอาหารที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มีสุขภาพที่ดีตามมา ซึ่งหัวใจหลักคือ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเลือกทานอย่างถูกวิธีจึงจะลดไขมันในเลือดสูงอย่างได้ผลได้
กลุ่มเนื้อ นม ไข่
คนที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง ควรจะหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อแดงและเนื้อหมู แต่ให้เลือกรับประทานเนื้อปลาแทน เพราะเนื้อปลาจะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีส่วนช่วยในการลดไขมันในเลือดสูง ป้องกันไขมันอุดตันหลอดเลือดหัวใจและสมองได้โดยตรง นอกจากปลาแล้วก็อาจจะเลือกรับประทานเนื้อไก่แทนก็ได้ เพราะในเนื้อไก่โดยเฉพาะส่วนหน้าอกมีไขมันที่น้อยกว่าส่วนอื่นๆ นอกจากนี้ควรลดการรับประทานเครื่องในสัตว์ทุกชนิด และอาหารทะเล เนื่องจากปริมาณไขมันคอเลสเตอรอลที่อยู่ในเครื่องในสัตว์ทุกชนิดมีปริมาณที่สูงมาก หรือแม้แต่การดื่มนมก็ต้องเลือกในแบบนมพร่องมันเนยแทน
กลุ่มแป้งและน้ำตาล
คนไทยส่วนใหญ่คุ้นชินกับการรับประทานข้าวขาวที่ผ่านการขัดสี แต่เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับไขมันคอเลสเตอรอลก็ควรเปลี่ยนไปทาน ‘ข้าวกล้อง’ (ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี) ซึ่งก็จะช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-cholesterol) ลงได้ เพราะในข้าวกล้องมีรำข้าวที่อุดมไปด้วยน้ำมันรำข้าว ซึ่งเป็นไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL- cholesterol) จะช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด และหากบางคนชอบทานขนมปังก็ลองเปลี่ยนไปรับประทานขนมปังโฮลวีทที่มีกากใยอาหาร หรือหากใครที่ชอบทานเส้นก็ให้เปลี่ยนมารับประทานเส้นที่ทำจากข้าวกล้องหรือวุ้นเส้นแทน ที่สำคัญต้องงดทานน้ำหวาน ขนมหวาน และงดการปรุงอาหารรสหวาน โดยเหตุผลที่ให้ลดน้ำตาลก็เนื่องจาก เมื่อทานน้ำตาลในปริมาณมาก จะทำให้ตับผลิตไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL – cholesterol) ออกมามากขึ้นและยังยับยั้งการกำจัดไขมันคอเลสเตอรอลชนิดนี้ให้น้อยลง จนทำให้ระดับไขมันในเลือดพุ่งสูงขึ้น
กลุ่มผักและผลไม้
คนที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง มีความจำเป็นที่สุดที่ต้องรับประทานผักและผลไม้ให้มากกว่าปกติเป็นประจำ เพราะในผักและผลไม้จะมีวิตามินและแร่ธาตุที่จะช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ อีกทั้งผักบางชนิดยังช่วยลดไขมันในเลือดสูงได้โดยตรง เช่น กระเจี๊ยบเขียว ต้นอ่อนทานตะวัน พริกหวาน ขึ้นฉ่าย และต้นหอม ส่วนการเลือกรับประทานผลไม้ก็ไม่ควรทานแบบที่มีรสหวานมากๆ ต้องเลือกทานผลไม้น้ำตาลต่ำ เช่น แตงโม ส้ม พีช กีวี่ หรือผลไม้ตระกูลเบอร์รี่จะดีที่สุด
กลุ่มไขมัน
อาหารในกลุ่มนี้เป็นอาหารที่ต้องให้ความสำคัญและคำนึงถึงมากที่สุด ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มไขมันอิ่มตัว ที่พบมากในไขมันสัตว์ กะทิ เนย เนยเทียม ครีมเทียม รวมถึงไขมันทรานส์ เนื่องจากไขมันทรานส์จะทำให้ระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL- cholesterol) สูงขึ้น และยังไปลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL- cholesterol) จึงส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ในระยะยาว แต่หากหันมารับประทานไขมันไม่อิ่มตัวอย่าง กรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) หรือโอเมก้า-6 (Omega– 6) ที่มักพบไขมันเหล่านี้จาก เนื้อปลา และ พืช เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน เป็นประจำ จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ทั้งนี้การทานไขมันก็ยังจำเป็นอยู่สำหรับร่างกาย เพราะจะช่วยให้พลังงานแก่ร่างกายและช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิดได้ดีขึ้น แต่ก็ต้องคุรับประทานในปริมาณที่พอดีต่อร่างกาย
ส่วนวิธีการปรุง และประกอบอาหารก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าการเลือกรับประทานอาหาร คนที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง ต้องเน้นใช้วิธีนึ่ง อบ ต้ม แทนการทอดหรือผัด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรใช้น้ำมันให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเลือกใช้น้ำมันจากพืชเป็นหลัก ส่วนการย่างก็สามารถทำได้แต่ระวังอย่าให้อาหารไหม้เกรียม
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกาย ถือเป็นยาวิเศษที่เราสามารถจ่ายให้กับตนเองได้เพียงแค่เริ่มทำเท่านั้น เพราะนอกจากจะทำให้เรากระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉงขึ้นแล้ว ยังส่งผลดีต่อระดับไขมันในเลือดอีกด้วย โดยเมื่อร่างกายได้ใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้ว จะช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-cholesterol) และช่วยเพิ่มไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL- cholesterol) ส่งผลให้ลดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด และมีค่าไขมันในเลือดที่สมดุลมากขึ้นนั่นเอง
3. รู้จักจัดการกับความเครียด
หลายคนอาจสงสัยว่า เลือกรับประทานอาหารที่ดีและออกกำลังกายแล้วยังไม่พอที่จะลดไขมันในเลือดสูงได้อีกหรือ? คำตอบก็คือ อาจจะไม่พอ…เราต้องจัดการกับสิ่งที่เรียกว่า ‘ความเครียด’ ร่วมด้วย เพราะความเครียดจะส่งผลเสียต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดอนุมูลอิสระภายในระบบต่างๆ ของร่างกายได้มากขึ้น ทำให้ตับทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ไขมันในเลือดสูงขึ้นได้ ซึ่งการจัดการกับความเครียด สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนั่งสมาธิ หาเวลาเที่ยวเพื่อพักสมอง อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลงเพลินๆ เป็นต้น
4. เลิกสูบบุหรี่ และจำกัดปริมาณของการดื่มแอลกอฮอล์
พฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพสองประการนี้เป็นเรื่องสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-cholesterol) ลดลงกว่าร้อยละ 15 จึงเป็นสาเหตุให้ไขมันในเลือดสูงขึ้นตามลำดับ และจากผลการวิจัยในต่างประเทศพบว่า “ผู้ที่สูบบุหรี่แม้จะเพียงมวนเดียวก็สามารถเพิ่มการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดได้ถึงร้อยละ 30 เพราะการสูบบุหรี่จะไปทำให้เลือดข้นเหนียวและเกาะตัวเป็นลิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดต่างๆ ในเวลาต่อมา”
ขณะเดียวกันหากชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็ต้องเลิกหรือจำกัดปริมาณการดื่มให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น เนื่องจากเครื่องดื่มประเภทนี้ให้พลังงานสูงเทียบเท่าการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ และหากดื่มทุกวันจะมีพลังงานส่วนเกินสะสมอยู่ในร่างกายถึงวันละ 50-200กิโลแคลอรี่ จะทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1 กิโลกรัม เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วน และไขมันในเลือดสูงตามมา
5. เลือกใช้สารสกัดจากธรรมชาติเป็นตัวช่วย
นอกจาก 4 วิธีข้างต้น ที่สามารถช่วยลดไขมันในเลือดสูงได้เป็นอย่างดีแล้ว ในปัจจุบันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ค้นพบสารสกัดจากธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดไขมันในเลือดสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารดังกล่าวเรียกว่า สารสกัดโพลีโคซานอล (Policosanol)
สารสกัดชนิดนี้เป็นสารจากธรรมชาติ 100% ซึ่งได้มาจากไขเปลือกอ้อย และออกฤทธิ์ได้เหมือนกับยาลดไขมันกลุ่มสแตติน ซึ่งเป็นในยากลุ่มที่ใช้เพื่อลดไขมันในเลือด แต่ปลอดภัยมากกว่าและไม่มีผลข้างเคียง โดยมีสรรพคุณที่สามารถช่วยลดไขมันในเลือดสูงได้เป็นอย่างดี
สามารถลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesteral) ได้ถึง 33%
ช่วยลดระดับ และกำจัดไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesteral) ได้ถึง 31%
กระตุ้นการเพิ่มระดับของไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesteral) ได้ถึง 29%
สามารถลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดได้สูงถึง 50%
-