4 สารทดแทนความหวาน

ในปัจจุบันอัตราคนเป็นเบาหวานในประเทศไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้น และคนไทยติดการบริโภครสหวานจากทั้งอาหารหวานและอาหารคาว เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วนที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่และไขมันสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด ของทอด หรืออาหารปิ้งย่าง และยังรวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น กาแฟ ชาผลไม้ ชาเขียว ชาไข่มุก เป็นต้น

กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่า ใน 1 วัน ผู้ใหญ่ควรได้รับน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม หรือเท่ากับ 6 ช้อนชา ส่วนเด็กและผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับน้ำตาลไม่เกิน 16 กรัมหรือเท่ากับน้ำตาล 4 ช้อนชา แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ที่กำลังใช้ยา กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างการให้นมลูก ควรปรับเปลี่ยนปริมาณน้ำตาลให้เหมาะสมกับสภาวะของร่างกาย

แต่ในความเป็นจริงจากสถิติการบริโภคน้ำตาลของคนไทย กลับพบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลเกิน 4-7 เท่าตัว หรือบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยสูงถึง 28 ช้อนชาต่อคนต่อวัน ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก

ลดโอกาสเป็นเบาหวาน และโรคอ้วน ด้วยสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Sweetener) ทางเลือกของผู้ที่ติดการบริโภครสหวาน คือวัตถุเจือปนอาหารชนิดหนึ่งที่นิยมใช้เพิ่มรสหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่มเพื่อแทนน้ำตาล โดยมีทั้งแบบให้พลังงานและไม่ให้พลังงาน โดยสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนี้สามารถใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักได้ โดยไม่ต้องกังวลถึงระดับค่าน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักจะเพิ่มขึ้น

4 สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล

  1. ซูคราโรส (Sucralose)
    เป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีพลังงาน ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 600 เท่า สามารถใช้ปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงได้ แต่อาจส่งผลข้างเคียงกับบางคนทำให้ปวดศีรษะได้
  2. สตีเวีย (Stevia)
    หลายคนรู้จักกันในชื่อ ‘หญ้าหวาน’ เป็นสารให้ความหวานที่นิยมใช้กันอย่างเผยหลาย ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 200 เท่า และให้พลังงานน้อยมาก สารให้ความหวานชนิดนี้นิยมใช้ใส่ในเครื่องดื่มสามารถทนกรดและทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียสโดยไม่สลายตัว เป็นสารให้ความหวานที่ปลอดภัยเพราะมาจากพืชธรรมชาติ และไม่มีผลแทรกซ้อน
  3. แอสพาร์แตม (Aspartame)
    เป็นสารให้ความหวานที่มีรสชาติใกล้เคียงน้ำตาลทรายมากที่สุด แต่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 180-200 เท่า ไม่ทำให้เกิดฟันผุและไม่กระตุ้นน้ำตาลในเลือดสูง สามารถสลายตัวในอุณภูมิที่สูง แต่ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรใช้สารให้ความหวานชนิดนี้
  4. แซคคารีน (Saccharin)
    สารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200-700 เท่า มีรสชาติหวานและให้พลังงานต่ำแต่มีรสขมปลายลิ้น หากรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ในปริมาณสูง อาจจะมีผลเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบรับประทานของหวานหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินตั้งแต่ตอนนี้ด้วยการจำกัดปริมาณการรับประทานรับน้ำตาลในแต่ละวัน หรือหันมาเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ให้พลังงานต่ำและควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงไปพร้อมกัน หากยังคงรับประทานน้ำตาลมากเกินในแต่ละวัน ในอนาคตอาจจะส่งผลให้มีโอกาสเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ที่จะตามมาได้
อ้างอิง

ขอบคุณข้อมูลจาก :

1. https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/163361
2. http://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=641
3. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

มารู้จักกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) และวิธีป้องกันง่ายๆ

รู้ให้ละเอียดยิ่งขึั้นกับเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

วิตามินซี และฟ้าทะลายโจร2 สิ่งสำคัญของผู้ติดเชื้อ เมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน