ขมิ้นชัน (Turmeric) เป็นสมุนไพรที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน เปี่ยมล้นไปด้วยคุณประโยชน์ ขมิ้นชันนั้นได้รับการยกย่องให้เป็นสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพในด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย ที่มีงานวิจัยศึกษาและยอมรับในวงกว้าง โดยได้รับขนามนามว่าเป็น “Wonder of drugs” มหัศจรรย์แห่งสมุนไพร และหนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นทางด้านการรักษา ก็คือ ขมิ้นชันมีศักยภาพในการบรรเทาอาการปวดในโรคข้อเข่าต่าง ๆ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าอักเสบ เก๊าท์และรูมาตอยด์ ได้เป็นอย่างดี
ขมิ้นชัน มีฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบของข้อในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม (knee osteoporosis) โดยให้ผลดีใกล้เคียงกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน ขมิ้นชันมีสารสำคัญในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยจะทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งสาร COX-2 ซึ่งเป็นเอมไซม์ที่หลั่งเมื่อร่างกายเกิดอาการอักเสบ ปวด และบวม
มีการรวบรวมงานวิจัยที่ตีพิมพ์ล่าสุดในเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ที่ผ่านมานี้ พบว่า สารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน สามารถช่วยลดสารอักเสบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ได้เป็นอย่างดี โดยลดอาการข้อยึดข้อติดที่มักพบหลังตื่นนอน และช่วยลดอาการบวมในข้อ ช่วยให้ผู้ป่วยเดินเหินได้นานขึ้น นอกจากนี้ ขมิ้นชันยังมีความเป็นพิษต่ำ จึงถูกนำมาพัฒนาใช้เป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการอักเสบของข้อในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหรือข้อเข่าอักเสบนั้นเอง
ปัจจุบันเรียกได้ว่าขมิ้นชันสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด ไม่ว่าจะตามชนบทหรือสังคมเมืองต่างมีผลิตภัณฑ์ของขมิ้นชันออกสู่ตลาดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบแบบผงหรือแบบแคปซูล แต่หากจะเลือกรับประทานขมิ้นชันให้ได้ประโยชน์ที่ครบครันและเต็มประสิทธิภาพ ควรเลือกขมิ้นชันในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตภายใต้โรงงานผลิตยาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตยาระดับสากล และจะดียิ่งกว่าหากเคอร์คูมินอยด์อยู่ในรูปของไฟโตโซม เพราะจะช่วยให้สารจากธรรมชาติที่ถูกดูดซึมได้ยากกลายเป็นสารที่ถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้น ถึง 9 เท่า เมื่อเทียบกับสารสกัดขมิ้นชันทั่วไป และเกิดการนำไปใช้ในการรักษาร่างกายได้เกิดประโยชน์สูงสุด
คงจะได้ทราบถึงสรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้นชันในการบรรเทาอาการอักเสบของข้อเข่าเสื่อมหรือข้อเข่าอักเสบกันเป็นอย่างดีแล้ว อย่างไรก็ตามหากต้องการห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การไม่ยกของหนัก หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดแรงกดต่อข้อเข่า รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำ เพียงเท่านี้คุณก็จะห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม และไม่ต้องปวดข้ออีกต่อไป อ่านต่อ : เช็กลิสต์! คุณมีความเสี่ยง ข้อเสื่อม และกระดูกพรุนหรือไม่ ?