Search

โรคกระดูกพรุน เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

ทั้งหมด
โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง จนส่งผลให้โครงสร้างของกระดูกมีการเปลี่ยนแปลง และเปราะบาง แตกหักง่าย ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักของร่างกายตามปกติได้ ซึ่งโรคกระดูกพรุนส่วนมากจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนซึ่งมวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยต่างๆ ในปัจจุบันก็สามารถทำให้คนทุกเพศทุกวัยมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้เร็วขึ้น

โรคกระดูกพรุน เกิดจากอะไร

– อายุมากขึ้น โดยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี กระดูกจะบางลง 1-3% ทุกปี

– ได้รับแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีนไม่เพียงพอ

– ไม่ออกกำลังกาย และเคลื่อนไหวร่างกายน้อย

– สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

– ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ หรือชา มากเกินไป

– กินยาบางชนิด เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาสเตียรอยด์ และยาขับปัสสาวะ

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน

– ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

– ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

– ผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ

– ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยมาก หรือมีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร

– ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ขนาดเทียบเท่าหรือมากกว่า Prednisolone 5 มิลลิกรัม/วัน ต่อเนื่องตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

อาการของคนเป็นโรคกระดูกพรุน

– ปวดหลัง และปวดตามข้อกระดูก

– ปวดบริเวณที่กระดูกมีการยุบตัวลง

– ส่วนสูงลดลง หลังค่อมลงเรื่อยๆ

– กระดูกเปราะและหักง่าย

ทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน คลิกที่นี่

วิธีป้องกัน โรคกระดูกพรุน

– ระมัดระวังเรื่องการหกล้ม

– กินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นกินให้ครบ 5 หมู่ และอาหารที่ให้แคลเซียม เช่น นม เต้าหู้ ปลาตัวเล็ก และผักใบเขียว

– งดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

– ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนให้น้อยลง

– ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาทีอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-4 วัน/สัปดาห์

– ตรวจมวลกระดูกปีละครั้ง

3 สารอาหารจากธรรมชาติ ช่วยป้องกันและรักษากระดูกพรุน

  1. Ossein-Hydroxyapatite Complex (OHC)
    สารอาหารจากธรรมชาติ 100% ที่สกัดจากกระดูกวัว ที่มีส่วนประกอบของแคลเซียม โปรตีน และฟอสฟอรัส ตัวช่วยสร้างความหนาแน่นของเนื้อกระดูก และลดการสลายของเนื้อกระดูก
  2. Vitamin D3
    ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี และเสริมการสร้างของกระดูก
  3. Vitamin K2
    ช่วยสร้างความแข็งแรงให้มวลกระดูกจากการสร้างโปรตีนที่มีชื่อว่า ออสทีโอแคลซิน (Osteocalcin) ซึ่งจะทำงานร่วมกับ Vitamin D3 ในการเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก นอกจากนี้ยังลดการเกาะของแคลเซียมหรือหินปูนที่หลอดเลือดแดง โดยนำแคลซียมไปเกาะเนื้อเยื่อกระดูกได้ดีขึ้น
อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ข้อเสื่อม

ข้อกระดูกเสื่อมหรือไม่ เช็คอาการได้ด้วยตนเอง

ข้อเสื่อม

เพิ่มความแข็งแรงให้ข้อเข่า ด้วย “ไฮโดรไลเซต คอลลาเจน ”

กระดูกพรุน

2 ตัวช่วยหมดปัญหากระดูกและข้อ